พระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เดือนหก
จาก สมาคมประว้ติศาสตร์ไทย
พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล

จรดพระนังคัล แปลว่า การไถ
การพระราชพิธีกล่าวเป็นสองชื่อ แต่เนื่องกันเป็นพิธีเดียวนี้ คือปันในสวดมนต์ในวันพระราชพิธีพืชมงคล ทำขวัญพืชพรรณต่างๆมีข้าวเปลือก เป็นต้น จรดพระนังคัลเป็นพิธีเวลาเช้าคือ ลงมือไถ ถ้าจะแบ่งคนละพิธีก็ได้ ด้วยพิธีพืชมงคลไม่ได้ทำแต่ในเวลาค่ำวันสวดมนต์ รุ่งขึ้นเช้าก็ยังมีการเลี้ยงพระต่อไปอีก การจรดพระนังคัลนั้นเล่า ก็ไม่ได้ทำแต่วันซึ่งลงมือแรกนาเริ่มพระราชพิธีเสียแต่เวลาค่ำวันสวดมนต์พิธีพืชมงคลนั้นแล้ว พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร พระราชพิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีพราหมณ์ ทำที่ทุ่งส้มป่อย( หน้าวังพญาไท - แอดมิน)นอกพระนคร พิธีทั้งสองนั้นก็นับว่าทำพร้อมกัน ในคืนเดียววันเดียวกัน จึงได้เรียกชื่อติดกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล

พระราชพิธีพืชมงคล จัดก่อนวันไถหนึ่งวัน
ฤกษ์การพระราชพิธีนี้ ต้องหาฤกษ์ที่วิเศษกว่าฤกษ์อื่นๆ คือ กำหนดสี่อย่าง ฤกษ์นั้นอย่าให้ต้องวันผีเพลียอย่างหนึ่ง ให้ได้ศุภดิถี อย่างหนึ่ง ให้ได้บุรณฤกษ์ อย่างหนึ่ง ให้ได้วันสมภเคราะห์ อย่างหนึ่ง ตำราหาฤกษ์ นี้เป็นตำราเกร็ด เขาสำหรับใช้เริ่มที่จะลงมือแรกนา หว่านข้าว ดำข้าว เกี่ยวข้าว ขนข้าวขึ้นยุ้ง แต่ที่เขาใช้กันนั้นไม่ต้องหาฤกษ์อย่างอื่น ให้แต่ได้สี่อย่างนี้แล้ว ถึงจะถูกวันอุบาทว์โลกาวินาศก็ใช้ได้ แต่ฤกษ์จรดพระนังคัลอาศัยประกอบฤกษ์ดีตามธรรมเนียมด้วยอีกชั้นหนึ่ง ตามแต่จะลงวันใดในเดือนหก ดิถีซึ่งนับว่าผีเพลียนั้น ข้างขึ้นคือ ๑,๕,๗,๘,๙,๑๐,๑๑,๑๕ ข้างแรม ๑,๕,๖,๗,๘,๑๐,๑๓,๑๔ เป็นใช้ไม่ได้ ศุภดิถีนั้นก็คือ ดิถีตาว่างซึ่งไม่เป็นผีเพลียนั้นเอง บุรณฤกษ์นั้น คือ ๒,๔,๕,๖,๘,๑๑,๑๔,๑๗,๒๒,๒๔,๒๖,๒๗ วันสมภเคราะห์นั้นคือ วันจันทร์ วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ กับกำหนดธาตุอีกอย่างหนึ่งตามวันที่โหรแบ่ง เป็น ปถวี อาโป เตโช วาโย ให้ได้ส่วนสัดกันแล้วเป็นใช้ได้ จะพรรณนาที่จะหาฤกษ์นี้ก็จะยืดยาวไป เพราะไม่มีผู้ใดที่จะต้องใช้อันใด
เหตุการณ์พุทธประวัติ เมื่อพระมหาโพธิสัตว์ประทับนั่งสมาธิขณะพระราชบิดาทำพิธีแรกนาอยู่
การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมโบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ลงทรงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนในชมพูทวีปก็ปรากฏเรื่องในพุทธประวัติว่า พระมหาสัตว์ทรงทำสมาธิ บรรลุญาณขณะพระราชบิดาทรงทำพิธีแรกนาอยู่ ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฎอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ไม่มีเวลาเว้นว่าง ด้วยการซึ่งผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจำให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่าง เหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตัวตามปรกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝน น้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วยเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นเหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลัง จึงได้ต้องแส่หาทางที่จะแก้ไข และทางที่จะอุดหนุน และที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้าจะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจ ก็การที่จะแก้ไขเยียวยาน้ำฝนน้ำท่าซึ่งเป็นของเป็นไปโดยฤดูปรกติเป็นเอง โดยอุบายลงแรงลงทุนอย่างไรไม่ได้ จึงต้องอาศัยคำอธิฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคล ตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเช่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สุด

ก็ธรรมเนียมการแรกนาซึ่งมีมาในสยามแต่โบราณ ตามที่ค้นได้ในหนังสือต่างๆ คือ ในหนังสือนพมาศเมื่อครั้งกรุงสุโขทัยนั้นมีข้อความว่า "ในเดือนหก พระราชพิธีไพศาลจรดพระนังคัล พราหมณ์ประชุมกันผูกพรดเชิญเทวรูปเข้าโรงพิธี ณ ท้องทุ่งละหานหลวงหน้าพระตำหนักห้าง เขากำหนดฤกษ์แรกนาว่าใช้วันอาทิตย์ พระเจ้าแผ่นดินทรงเครื่องต้นอย่างเทศ(เครื่องต้นอย่างเทศ คือ เสื้อยาวคลุมเข่า ก็คือเสื้อครุยนั่นเอง ได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย - แอดมิน) ทรงม้าพระที่นั่งพยุหยาตราเป็นกระบวนเพชรพวง พระอัครชายาและพระราชวงศานุวงศ์ พระสนมกำนัลเลือกแต่ที่ต้องพระราชหฤทัย ขึ้นรถประเทียบตามเสด็จไปในกระบวนหลังประทับที่พระตำหนักห้าง จึงโปรดให้ออกญาพลเทพธิบดีแต่งตัวอย่างลูกหลวง มีกระบวนแห่ประดับด้วยกรรชิง(คล้ายร่ม)บังสูร(บังแสง) พราหมณ์เป่าสังข์โปรยข้าวตอกนำหน้า

พระโคอุสุภราช
ครั้นเมื่อถึงมณฑลท้องละหาน ก็นำพระโคอุสุภราช(โคนนทิ พาหนะพระศิวะ)เทียมไถทอง พระครูพิธีมอบยามไถและประฎักทอง ให้ออกญาพลเทพ(ราชทินนาม เจ้ากรมนา)เป็นผู้ไถที่หนึ่งพระศรีมโหสถซึ่งเป็นบิดานางนพมาศ(สนามเอกพระร่วงเจ้า)เอาแต่งตัว เครื่องขาวอย่างพราหมณ์ ถือไถหุ้มด้วยรัตกัมพลแดง(ผ้าส่านแดง) เทียมด้วยโคกระวิน(หมายถึง โคสีน้ำตาล)ทั้งไม่ประฎัก พระโหราลั่นฆ้องชัยประโคมดุริยางคดนตรี ออกเดินไถเวียนซ้ายไปขวา ชีพ่อพราหมณ์ปรายข้าวตอกดอกไม้ บันลือเสียงสังข์ไม้ บัณเฑาะว์ (กลองสองหน้าขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีหลักอยู่ตอนบน ผูกตุ้มห้อยลงมาทางหน้ากลอง ใช้ไกวให้ตุ้มแกว่งกระทบหน้ากลองทั้ง ๒ ข้าง)

นำหน้าไถ ขุนบริบูรณ์ธัญญา นายพนักงานนาหลวง แต่งตัวนุ่งเพลาะ(ผ้า ๒ ผืนเย็บริมติดกัน) คาดรัดประคด(ผ้าที่ใช้รัดอก หรือสายที่ถักด้วยด้าย)สวมหมวกสาน ถือกระเช้าโปรยหว่านพืชธัญญาหารตามทางไถจรดพระนังคัลถ้วนสามรอบ ในขณะนั้นมีการมหรสพ ระเบงระบำโมงครุ่มหกคะเมนไต่ลวด ลวดบ่วงรำแพนแทงวิสัยไก่ป่าช้าหงส์ราย(ย้อนดูโพสต์เก่า มีเรื่องการละเล่นอยู่)รอบปริมณฑลที่แรกนาขวัญ แล้วจึงปล่อยพระโคทั้งสามอย่างออกกินเสี่ยงทายของห้าสิ่ง แล้วโหรพราหมณ์ก็ทำนายตามตำรับไตรเพท ในขณะนั้นพระอัครชายาก็ดำรัสสั่งพระสนมให้เชิญเครื่องพระสุพรรณภาชน์ มธุปายาส(ข้าวที่หุงด้วยด้วยน้ำนม)ขึ้นถวายพระเจ้าอยู่หัวเสวย ราชมัลก็ยกมธุปายาสเลี้ยงลูกขุนทั้งปวง" เป็นเสร็จการพระราชพิธีซึ่งมีมาในเรื่องนพมาศ
สมัยอยุธยา

เรือที่มีที่พัก เรียกเรือคฤห
ที่มาในกฎมณเฑียรบาลว่า “ เดือนไพศาข(เดือน ๖)จรดพระอังคัล เจ้าพญาจันทกุมารถวายบังคม ณ หอพระ ทรงพระกรุณายื่นพระขรรค แลพระพลเทพ(เจ้ากรมนา)ถวายบังคมสั่งอาชาสิทธิ ทรงพระกรุณาลดพระบรมเดช มิได้ไขหน้าล่อง มิได้ตรัสคดีถ้อยความ มิได้เบิกลูกขุน มิได้เสด็จออก ส่วนเจ้าพญาจันทกุมารมีเกยช้างหน้าพุทธาวาศขัดแห่ขึ้นช้างแต่นั้นให้สมโพช ๓ วัน ลูกขุนหัวหมื่นพันนา ๑๐๐ นา ๑๐๐๐๐๐ นา กรมการในกรมนาเฝ้า แลขุนหมื่นชาวสวนทังปวงเฝ้าตามกระบวน " ได้ความในกฎมณเฑียรบาลแต่เท่านี้ เป็นข้อความรวมๆลงไปกว่าหนังสือนางนพมาศหลายเท่า การที่ไปแรกนาทำอย่างไรก็ไม่ได้กล่าวถึง วิธีที่จัดการพระราชพิธีนี้เห็นจะไม่เหมือนกับที่สุโขทัยเลย ดูเป็นต่างครูกันทีเดียวข้างสุโขทัยดูการพระราชพิธีนี้เป็นคล้ายออกสนามใหญ่(ทหารสวนสนาม) เจ้าแผ่นดินยังถืออำนาจเต็ม ออกญาพลเทพเป็นแต่ผู้แทนที่จะลงมือไถนา ส่วนข้างกรุงเก่ายกเอาเจ้าพระยาจันทกุมารเป็นผู้แทนพระองค์มอบพระแสงอาญาสิทธิ์ให้ ส่วนพระยาพลเทพคงเป็นตำแหน่งเสนาบดีผู้ออกหมายตามกระทรวงเจ้าแผ่นดินนั้น เป็นเหมือนหนึ่งออกจากอำนาจจำศีลเงียบเสียสามวัน การที่ทำเช่นนี้ก็เห็นจะประสงค์ว่าเป็นผู้ได้รับสมมติสามวัน เหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินไป แรกนาเองดูขลังมากขึ้น ไม่เป็นแต่การแทนกันเล่นๆ ต่างว่าวิธีอันนี้เห็นจะได้ใช้มาตลอดจนปลายๆกรุงเก่า ด้วยได้เห็นในจดมหายเหตุขันหลวงหาวัด ความนั้นก็ลงรอยเดียวกับกฎมณเฑียรบาล เป็นแต่ตัดความไปว่าถึงเวลาไปทำพิธีชัดเจนขึ้น คือ ว่าพระอินทรกุมารฉลองพระองค์ ส่วนพระมเหสีนั้นนางเทพีฉลองพระองค์ ขี่เรือคฤหสองตอน(เรือที่มณฑปกลางเรือ ก็คือที่อาศัยบนเรือ)ไปถึงทุ่งแก้วขึ้นจากเรือ พระอินทกุมารสวมมงกุฎอย่างเลิศขี่เสลี่ยงเงิน ส่วนนางเทพีก็สวมมงกุฎอย่างเลิศไม่มียอดขี่เสลี่ยงเงินเหมือนกัน ขบวนแห่มีเครื่องสูง มีคนตามเรียกว่ามหาดเล็ก มีขุนนางเคียงถือหวายห้ามสูงต่ำ เมื่อถึงโรงพิธีพระอินทกุมารจับคันไถเทียมโคอสุภราช โคกระวิน(โคสีน้ำตาล) พระยาพลเทพถือเชือกจูงโค นางเทพีหาบกระเช้าข้าวหว่าน เมื่อไถได้สามรอบแล้วก็ปลดโคออก ให้โคเลือกกินอาหารเสี่ยงทาย มีข้าวสามอย่าง ถั่วสามอย่างและหญ้าสามอย่าง ถ้ากินสิ่งใดก็มีคำทำนายต่างๆ ซึ่งชื่อผู้แรกนาแปลกกันไปกับในกฎมณเฑียรบาล ข้างหนึ่งเป็นจันทกุมาร ข้างหนึ่งเป็นอินทกุมาร ข้างหนึ่งเรียกเจ้าพระยา ข้างหนึ่งเรียกพระ การที่ชื่อแปลกกันนั้นได้พบในจดหมายเหตุขุนหลวงหาวัดนี้เอง เมื่อว่าถึงพระราชพิธีเผาข้าวว่าพระจันทรกุมารเป็นผู้ได้รับสมมติไปทำพิธี เพราะฉะนั้นจะต้องเข้าใจว่า มีทั้งพระอินทรกุมาร พระจันทรกุมาร ๒ คน ที่ในการพระราชพิธีจรดพระนังคัล เห็นจะเป็นการไขว้ชื่อกันไปเท่านั้น บางทีก็จะผลัดเปลี่ยนกันเป็นพระยาแรกนาบ้าง

กำตาก คือ ในระหว่างพิธีสามวัน(สมัยอยุธยา) ถ้ามีพ่อค้าเกวียนหรือสำเภามา ขนอน(ภาษีผ่านด่าน)ทั้งหมดต้องตกเป็นสิทธิแก่พระยาจันทกุมาร(ผู้ถืออาญาสิทธิ์) โดยคำว่า กำ แปลว่า ถือ ส่วนคำว่า ตาก แปลว่าของที่ตั้งโดยเปิดเผยไว้
การแรกนาที่ในกรุงเทพฯ นี้ มีเสมอมาแต่ปฐมรัชกาลไม่ได้ยกเว้น แต่ถือว่าเป็นตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพคู่กันกับยืนชิงช้า เจ้าพระยาพลเทพแรกนายืนชิงช้าผู้เดียวไม่ได้ผลัดเปลี่ยนครั้นตกมาภายหลัง เมื่อเจ้าพระยาพลเทพป่วย ก็โปรดให้พระยาประชาชีพแทนบ้าง และเมื่อเจ้าพระยานิกรบดินทร์ยืนชิงช้าก็โปรดให้แรกนาด้วย

พระยายืนชิงช้าพระยายืนชิงช้าคือตัวแทนของพระอิศวร ที่เสด็จลงมาทอดพระเนตรการโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย
ในครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกือบจะตกลงเป็นธรรมเนียมว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้เป็นผู้แรกนาด้วย ครั้นมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาพลเทพ (หลวง) แรกนา เผอิญถูกคราวฝนแล้ง ราษฎรไม่เป็นที่ชอบใจ ติเตียนกันไปต่างๆนาๆ (ตามประสาคนไทย เนาะ) จึงโปรดให้เจ้าพระยาภูธราภัยแรกนา ถูกคราวดีก็เป็นการติดตัวเจ้าพระยาไป ครั้นเจ้าพระยาป่วยไข้แรกนาไม่ได้ ก็ให้วงศ์ญาติเป็นผู้แรกนา ต่อมาก่อให้เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ที่เกษตราธิบดีเจ้าตำแหน่ง เป็นผู้แรกนา

เจ้าพระยาภูธราภัย สมุหนายกในสมัยรัชกาลที่ ๔
การแรกนาที่กรุงเทพฯ นี้ไม่ได้เป็นการหน้าพระที่นั่ง เว้นไว้แต่มีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรเมื่อใด จึงได้ทอดพระเนตร เล่ากันว่าเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ขณะเมื่อทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ในปีมะแมเบญจศก ศักราช ๑๑๘๕ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการทุกวัน ครั้นเมื่อถึงพระราชพิธีจรดพระนังคัลจะใคร่ทอดพระเนตรจึงโปรดให้ยกการพระราช พิธีมาตั้งที่ปรก(ปรก แปลว่า ปิด,คลุม,บัง)หลังวัดอรุณฯซึ่งก่อนหน้านั้นยังเป็นทุ่งนาอยู่

ครั้นมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนาที่ทุ่งส้มป่อยครั้งหนึ่ง ภายหลังโปรดให้มีการแรกนาที่กรุงเก่า และที่เพชรบุรีได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระยาเพชรบุรี (บัว) แรกนาที่เขาเทพพนมขวดครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนาที่ทุ้งส้มป่อย ครั้งหนึ่ง

พระคันธารราษฎร์ หรือ พระปางขอฝน
การพระราชพิธีจรดพระนังคัลแต่ก่อนมีแต่พิธีพราหมณ์ ไม่มีพิธีสงฆ์ ครั้งมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงเพิ่มพิธีสงฆ์ในพระราชพิธีต่างๆ จึงได้เพิ่มในการจรดพระนังคัลนี้ด้วย แต่ยกเป็นพิธีหนึ่งต่างหาก เรียกว่าพืชมงคล โปรดให้ปลูกพลับพลาขึ้นในที่หน้าท้องสนามหลวง และสร้างหอพระเป็นที่ไว้พระคันธารราษฎร์ สำหรับการพระราชพิธีพืชมงคลอย่างหนึ่ง พรุณศาสตร์อย่างหนึ่ง แต่ก่อนมาพระยาผู้จะแรกนาก็มิได้ฟังสวด เป็นแต่กราบถวายบังคมลาแล้วก็ไปเข้าพิธีเหมือนตรียัมปวาย กระเช้าข้าวโปรยก็ใช้พนักงานกรมนาหาบ ไม่ได้มีนางเทพีเหมือนทุกวันนี้

พระเต้าเทวบิฐ สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ ใช้นำหน้าขบวนพระยาแรกนาในการจรดพระนังคัล
เมื่อโปรดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลขึ้น จึงได้ให้มีนางเทพีสี่คน จัดเจ้าจอมเถ้าแก่ที่มีทุนรอนพาหนะพอจะแต่งตัวและมีเครื่องใช้ไม้สอย ติดตามให้ไปหาบกระเช้าข้าวโปรย เมื่อวันสวดมนต์พระราชพิธีพืชมงคล ก็ให้ฟังสวดพร้อมด้วยพระยาผู้จะแรกนา และให้มีการราชบัณฑิตเชิญพระเต้าเทวบิฐ ซึ่งเป็นพระเจ้าเกิดขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๔ประพรมที่แผ่นดินนำหน้าพระยาที่แรกนา ให้เป็นสวัสดิมงคลอีกชั้นหนึ่ง
การพระราชพิธีนี้ ในเวลาบ่ายวันที่จะสวดมนต์ก็มีกระบวนแห่พระพุทธรูปออกไปจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กระบวนแห่นี้เกิดขึ้นก็ด้วยเ รื่องแห่เทวรูปออกไปที่โรงพระราชพิธีทุ่งส้มป่อยอันเป็นธรรมเนียมแต่เดิม พระพุทธรูปจะไม่มีกระบวนแห่ก็ดูจะต่ำไปกว่าเทวรูป จึงได้มีการจัดกระบวนแห่ โดยกำหนด ธงมังกร ๑๐๐ ธงตะขาบ ๑๐๐ ธงชนะ ๒๐ จ่าปี่จ่ากลอง แตรงอน ๑๐ แตรฝรั่ง ๘ สังข์ ๒ เครื่องสูงสำรับหนึ่ง คู่แห่ ๑๐๐ พิณพาทย์ ๒ สำรับ กลองแขก ๒ สำรับ ราชยานกง ๑ เสลี่ยงโถง ๑ คนหาบ พร้อมมีราชบัณฑิตประคองและภูษามาลาเชิญพระกลด

พระพุทธรูปซึ่งตั้งในการพิธีแห่ออกไปจากพระราชวังคือ “พระคันธารราษฎร์นั่ง” กาไหล่ทององค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ที่หอในวัดพระศรีรัตนศาสดารามองค์ ๑ พระคันธารราษฎร์ยืนกาไหล่ทององค์ ๑ พระคันธารราษฎร์อย่างพระชนมพรรษาเงินองค์ ๑ พระทรมาณเข้าอยู่ในครอบแก้วสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ องค์ ๑ พระชัยประจำแผ่นดินองค์ ๑ พระชัยเนาวโลหะน้อยองค์ ๑ พระพุทธรูปทั้งนี้เชิญไปจากหอพระเจ้าในพระบรมมหาราชวัง เทวรูป ๖ องค์ นั่งแท่นเดียวกัน ๑ รูป พระโต, แล้วเชิญพระพุทธรูปพระคันธารราษฎร์จีนกาไหล่ทอง ซึ่งไว้ที่หอพระท้องสนามหลวงลงมาอีกองค์ ๑ พระพุทธรูปทั้งนี้เชิญขึ้นตั้งบนโต๊ะทองใหญ่ ในพระแท่นมณฑลองค์น้อย มีเชิงเทียนราย ๔ เชิงพานทองคำดอกไม้ ๒ พาน กระถางธูปหยกกระถาง ๑ ตามรอบม้าทองที่ตั้งพระบนพระแท่นมณฑลและใต้ม้าทองไวพันธ์เครื่องเพาะปลูก ต่างๆ คือข้าวเหนียว ข้าวเจ้าต่างๆ ตามแต่จะหาได้ เมล็ดน้ำเ ต้า แมงลัก แตงต่างๆ ถั่วต่างๆ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ลูกเดือย งา ของเหล่านี้กำหนดสิ่งละ ๒ ทะนาน เผือก มันต่างๆ สิ่งละ ๑๐ หัว สิ่งที่ควรกรอกลงขวดอัดก็กรอกลงขวดตั้งเรียงรายไว้รอบๆ มีเครื่องนมัสการทองทิศสำรับ ๑ ที่พลับพลาโถงมุมกำแพงแล้วซึ่งเป็นที่ทอดพระเนตรนา(พลับพลาที่ปลูกไว้ที่ท้องสนามหลวง) ตั้งโต๊ะจีน มีเทวดา ๖ องค์ และรูปพระโคเหมือนที่ตั้งในพระแท่นมณฑล แต่เป็นขนาดใหญ่ขึ้น รอบโรงพระราชพิธีปักราชวัติการะดาษวงสายสิญจน์

เวลาค่ำเสด็จออกทรงถวายผ้าสบงจีวรกราบพระ พระสงฆ์ที่สวดมนต์ ๑๑ รูป พระสงฆ์ที่สวดนั้นใช้เจ้าพระราชาคณะ ถือตาลิปัตรงา พระสงฆ์ที่สวดมนต์อีกสิบรูป ใช้พระเปรียญ ๓ ประโยคเป็นพื้น พระสงฆ์รับผ้าไปครองเสร็จแล้วกลับมานั่งที่ จึงได้ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงตั้งสัตยาธิษฐานในการพระราชพิธีแล้วทรงศีล พระยาแรกนานั่งที่ท้ายพระสงฆ์ มีพานธูปเทียนดอกไม้ขึ้นไปจุดบูชาพระ รับศีลและฟังสวด เวลาที่สวดมนต์นั้นหางสายสิญจน์พาดที่ตัวพระยาแรกนา นางเทพี ๔ คนก็นั่งฟังสวดในม่านหลังพระแท่นมณฑล เมื่อทรงศีลแล้วจุดพานเทียนเครื่องนมัสการที่พระแท่นมณฑล และที่หอพระที่พลับพลา ทรงสุหร่ายประพรมน้ำหอมและเจิมพระพุทธรูป เทวรูป ทุกองค์ ในขณะนั้นอาลักษณ์นุ่งขาวห่มขาว รับหางสายสิญจน์พาดบ่า อ่าานคำประกาศสำหรับพระราชพิธี คำประกาศสำหรับพระราชพิธีนี้เก็บรวมรวมความบรรดาที่เกี่ยวข้องในเรื่องการทำนา ที่มีมาในพระพุทธศาสนาโดยย่อๆ เป็นคำอฐิษฐานในพระราชพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคล

ประกาศพระราชพิธีพืชมงคล
เป็นคาถาภาษาบาลีพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ อ่านทำนองสรภัญญะจบแล้วดำเนินความภาษาไทยเป็นคำร้อยแก้ว เนื้อความเป็นคำอธิษฐาน ๔ ข้อดังนี้
ข้อ ๑. เป็นคำนมัสการสรรเสริญพระคุณพระพุทธเจ้าว่าทรงดับทุกข์ได้ มีพระหฤทัยคงที่ ทรงปลูกธรรมให้งอกงามจำรูญแก่บรรดาสาวกพุทธเวไนยสืบๆ มา แม้ว่าโลกจะเร่าร้อนด้วยเพลิงกิเลสพระสัทธรรมอันมีผลเป็นอมตะก็ยังงอกงามได้ ด้วยเดชะพระบารมีของพระองค์ บัดนี้เราทั้งหลายบูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับ พระธรรมและพระสงฆ์แล้วจะปลูกพืช คือ บุญในพระรัตนตรัยอันเป็นเนื้อนาบุญอย่างดี พืชคือบุญนี้เมล็ดผลเป็นญาณความรู้อันเป็นเครื่องถ่ายถอนทุกข์ในโลก สามารถส่งผลให้ได้ทั้งในปัจจุบันและในกาลภายหน้าสืบๆ ไป ตามกาลอันควรจะให้ผลเป็นอุปการะนานาประการ ขอให้พืชคือบุญที่เราหว่านแล้ว จงให้ผลตามความปรารถนา อนึ่งขอให้ข้าวกล้าและบรรดาพืชผลที่หว่านที่เพาะปลูกลงในที่นั้นๆ ทั่วราชอาณาเขต จงงอกงามจำรูญตามเวลา อย่าเสียหายโดยประการใดๆ

ข้อ ๒. ยกพระคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงการทำนาของพระองค์แก่พราหมณ์ชาวนาผู้หนึ่ง ว่า "ศรัทธา-ความเชื่อเป็นพืชพันธุ์ข้าวปลูกของเรา ตบะ-ความเพียร เผาบาป เป็นเมล็ดฝน ปัญญา-ความรอบรู้เป็นแอกและไถ หิริ-ความละอายใจ เป็นงอนไถ ใจเป็นเชือกชัก สติ-ความระลึกได้ เป็นผาลและปฎักเราจะระวังกายระวังวาจาและสำรวมระวังในอาหาร ทำความซื่อสัตย์ให้เป็นท่อไขน้ำ มีโสรัจจะ-ความสงบเสงี่ยมเป็นที่ปลดไถ มีวิริยะ- ความเพียรเป็นแรงงานชักแอกไถ เป็นพาหนะนำไปสู่ที่อันเกษมจากเครื่องผูกพันที่ไปไม่กลับที่ไปแล้วไม่เศร้า โศก การไถของเราเช่นนี้มีผลเป็นอมตะ มิรู้ตาย บุคคลมาประกอบการไถเช่นว่านี้แล้วย่อมพ้นจากทุกข์สิ้นทุกประการ” ดังนี้มายกขึ้นเป็นคำอธิษฐานว่าที่พระพุทธเจ้าตรัสนี้เป็นความสัตย์จริงด้วย อำนาจแห่งความสัตย์นี้ ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลที่หว่านที่เพาะปลูกจงงอกงามทั่วภูมิมณฑลอันเป็นราช อาณาเขต
ข้อ ๓. ยกพระคาถาอันเป็นภาษิตของพระเตมีย์โพธิสัตว์ ความว่า "บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร โคย่อมจำรูญพูนเกิดแก่เขาพืชที่หว่านในนาของเขาย่อมงอกงามจำเริญ เขาย่อมได้รับบริโภคผลแห่งพืชพันธุ์ที่หว่านแล้ว” และว่า "บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรอันศัตรูหมู่อมิตรไม่อาจย่ำยีได้ดุจไม้ไทรมีราก และย่านอันงอกงามพายุ ไม่อาจพัดพานให้ล้มไปได้ฉันนั้น” มาตั้งเป็นสัตยาธิษฐานว่าด้วยอำนาจสัจวาจานี้ ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลที่หว่านเพาะปลูกในภูมิมณฑลทั่วราชอาณาเขต จงงอกงามไพบูลย์
ข้อ ๔. อ้างพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งทรงพระเมตตากรุณาแก่ประชาราษฎร ตั้งพระราชหฤทัยจะบำรุงให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้าเป็นความสัตย์จริง ด้วยอำนาจความสัตย์นี้ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลงอกงามบริบูรณ์ทั่วราชอาณาเขต

พระคันธารราษฎร์ ที่รัชกาลที่ ๑ ได้ทอดพระเนตรของเก่า แล้วโปรดให้หล่อใหม่ขึ้นสำหรับพิธี
ต่อจากนั้น เป็นการกล่าวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า "พระคัณธาราษฎร์” ที่มีพุทธานุภาพบันดาลให้ฝนตกอันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญในพระราชพิธีนี้ แสดงตำนานโดยลำดับจนรัชกาลที่ ๑ ได้ทอดพระเนตร และได้โปรดให้หล่อขึ้นใหม่สำหรับตั้งในพระราชพิธี และต่อนั้นไปว่าด้วยการพระราชกุศลที่ทรงบำเพ็ญในพระราชพิธีนั้น ทรงพระราชอุทิศแก่เทพยดาทั้งปวงแล้วอธิษฐานเพื่อให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ และฝนตกตามฤดูกาล พระสงฆ์จะสวดต่อท้ายการสวดมนต์ในพระราชพิธีพืชมงคล

ครั้นเมื่ออ่านประกาศจบแล้ว พระสงฆ์จึงได้สวดมนต์มหาราชปริตรสิบสองตำนาน เมื่อถึงท้ายสวดมนต์คาถา นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต สุนิพพุตัสสะ ตาทิโน เหมือนอย่างเช่นอาลักษณ์อ่านทำนองสรภัญญะ เมื่อสวดมนต์จบแล้ว พระราชทานน้ำสังข์ใบมะตูม ทรงเจิมหน้าเจิมมือพระยาผู้แรกนาและนางเทพีทั้งสี่ แต่พระยาผู้แรกนาได้พระธำมรงค์มณฑปนพเก้าให้ไปสวมในเวลาแรกด้วยสองวง แล้วพระครูพรามณ์พฤติบาศมารดน้ำสังข์ใบมะตูมต่อไป ขณะเมื่อพระราชทานน้ำสังข์นั้น พระสงฆ์สวดชยันโต ประโคมพิณพาทย์ เป็นเสร็จการในเวลาค่ำ รุ่งขึ้นเลี้ยงพระสงฆ์แล้วแห่พระพุทธรูปกลับ เป็นจบพระราชพิธีพืชมงคล


พระราชพิธีจรดพระนังคัล เริ่มแต่เวลาบ่ายวันสวดมนต์พระราชพิธีพืชมงคล มีกระบวนแห่ๆ พระเทวรูปพระอิศวร ๑ พระอุมาภควดี ๑ พระนารายณ์ ๑ พระมหาวิฆเนศวร ๑ พระพลเทพแบกไถ ๑ กระบวนแห่มีธงมีคู่แห่เครื่องสูงกลองชนะ คล้ายกันกับที่แห่พระพุทธรูปเป็นแต่ลดหย่อนลงไปบ้าง ออกจากในพระบรมมหาราชวังไปโดยทางบก เข้าโรงพิธีที่ทุ่งส้มป่อยนาหลวง เวลาค่ำพระมหาราชครูพิธีเหมือนอย่างพิธีทั้งปวง ไม่มีการแปลกประหลาดอันใด

รถยนต์หลวงพระยาแรกนา
รุ่งขึ้นเวลาเช้าตั้งแต่กระบวนแห่ๆ พระยาผู้แรกนา กำหนดเกณฑ์คนเข้ากระบวนแห่ ๕๐๐ กระบวน นั้นไม่เป็นกระบวนใหญ่เหมือนอย่างแห่ยืนชิงช้า คือ ธงตราตำแหน่งของผู้แรกนานำ แล้วบโทน(ผู้รับใช้)นุ่งตาโถง(ผ้าตา กว้าง ๆ)สวมเสื้อแดง สะพายดาบฝักแดงฝักเขียวสองแถว กระบวนสวมเสื้อเสนากุฏ( เป็นเสื้อตีพิมพ์สีสลับเป็นลาย มีสีแดงเหมือนน้ำหมากมากกว่าสีอื่น ที่อกเป็นลายสิงห์ขบ ตามตัวเป็นลายต่างๆ กัน มีทั้งลายเกล็ดเกราะ ลายดอกไม้ ลายกนก เดิมนั้นเป็นเสื้อแขนสั้น และคงจะเริ่มมีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเสื้อที่ใช้กันมานานมากจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีภาพล่าง)กางเกงริ้วสองแถวๆละ ๑๕ ถัดมาบโทนขุนหมื่น สวมเสื้อเข้มขาบอัตลัต สะพายดาบฝักเงินแถวละ ๑๕ กลองชนะ ๑๐ จ่าปี่ ๑ กรรชิงหน้าคู่ ๑ เสลี่ยงพระยาผู้แรกนาสัปทนบังสูรย์ มีหลวงในมหาดไทยคู่ ๑ กลาโหมคู่ ๑ กรมท่าคู่ ๑ กรมนาคู่ ๑ กรมวังคู่ ๑ กรมเมืองคู่ ๑ เป็นคู่เคียง ๑๒ คน นุ่งผ้าไหมสวมเสื้อเยียรบับ กรรชิงหลังคู่ ๑ บ่าวถือเครื่องยศและถืออาวุธตามหลังเสลี่ยง คู่แห่หลังถือดาบเชลยแถวละ ๑๕ ถือหอกคู่แถวละ ๑๕ ถือกระบองแถวละ ๑๕ (ปัจจุบันไม่มีขบวนเพราะใช้รถยนต์หลวง)

พระยาแรกนาแต่งตัวเหมือนยืนชิงช้า เมื่อถึงโรงพระราชพิธีเข้าไปจุดเทียนบูชาพระพุทธรูป แล้วตั้งจิตอธิษฐานจับผ้าสามผืน ผ้านั้นใช้ผ้าลายหกคืบผืน ๑ ห้าคืบผืน ๑ สี่คืบผืน ๑ ถ้าจับได้ผ้าที่กว้างเป็นคำทำนายว่าน้ำจะน้อย ถ้าได้ผ้าที่แคบว่าน้ำจะมาก

ผ้านุ่งเสี่ยงทายของพระยาแรกนา ในการพยากรณ์น้ำในแต่ละปี
เมื่อจับได้ผ้าผืนใดก็นุ่งผ้าผืนนั้น ทับผ้านุ่งเดิมอีกชั้นหนึ่ง นุ่งอย่างบ่าวขุนออกไปแรกนา มีราชบัณฑิตคนหนึ่ง เชิญพระเต้าเทวบิฐประน้ำพระพุทธมนต์ไปหน้า พราหมณ์เชิญพระพลเทพคนหนึ่งเป่าสังข์ ๒ คน พระยาจับยามไถ พระมหาราชครูพิธียื่นประตักด้านหุ้มแดงไถดะไปโดยรีสามรอบ แล้วไถแปรโดยกว้างสามรอบ นางเทพีทั้ง ๔ จึงได้หาบกระเช้าข้าวปลูก กระเช้าทอง ๒ คน กระเช้าเงิน ๒ คน ออกไปให้พระยาโปรยหว่านข้าว และไถกลบอีกสามรอบจึงกลับเข้ามายังที่พัก

ปลดพระโคออกกินเลี้ยงของเสี่ยงทาย ๗ สิ่ง คือ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว เหล้า น้ำ หญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งไรก็มีคำทำนาย แต่คำทำนายมักจะว่ากันว่า ถ้าพระโคกินสิ่งใดสิ่งนั้นจะบริบูรณ์ การเท่านี้เป็นเสร็จพระราชพิธีจรดพระนังคัลแห่พระยากลับ แล้วเทวรูปกลับ

ในการจรดพระนังคัลเป็นเวลาคนมาประชุมกันมาก ถึงจะอยู่บ้านไกลๆ ก็มักจะมาด้วยมีประโยชน์ความต้องการเมื่อเวลาโปรยข้าวปลูกลงในนา พอพระยากลับแล้วก็พากันเข้าแย่งเก็บข้าว จนไม่มีเหลืออยู่ในท้องนาเลย เมื่อรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดให้ไปชันสูตรหลายครั้งว่ามี ข้าวงอกบ้างหรือไม่ ก็ไม่พบเหลืออยู่จนงอกเลย เมื่อทอดพระเนตรแรกนาที่เพชรบุรี พอคนที่เข้ามาแย่งเก็บพันธุ์ข้าวปลูกออกไปหมดแล้ว รับสั่งให้ตำรวจหลายคนออกไปค้นหาเมล็ดข้าวว่าจะเหลืออยู่บ้างหรือไม่ ก๋ไม่ได้มาเลย จนสักเมล็ดหนึ่ง พันธุ์ข้าวปลูกซึ่งเก็บไปนั้น ไปใช้เจือในพันธุ์ข้าวปลูกของตัว ให้เป็นสวัสดิมงคลแก่นาบ้าง ไปปนลงในถุงเงินให้เกิดประโยชน์งอกงามบ้าง การแรกนาจึงเป็นที่นิยมของคนทั้งปวงไม่มีจืด ยังนับว่าเป็นพระราชพิธีซึ่งเป็นที่ต้องใจคนเป็นอันมาก

หัวเมืองซึ่งมีการแรกนา
ตามหัวเมืองซึ่งมีการแรกนา มีของหลวงพระราชทาน ครั้นกาลที่ ๔ คือกรุงเก่าเมือง ๑ เพชรบุรีเมือง ๑ แต่เมืองซึ่งมีการทำนามาแต่เดิมโดยไม่มีของหลวงพระราชทานคือ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา สองเมืองนี้เป็นเมืองมีพราหมณ์ พราหมณ์จึงเป็นธุระในการพิธี แต่ผู้ว่าราชการเมืองมิได้ลงมือแรกนาเอง มอบให้หลวงนาขุนนางเป็นผู้แรกนาแทน เมืองสุพรรณบุรีเมืองหนึ่งก็ว่ามีการแรกนาไม่ได้เกี่ยวข้องในการหลวงเหมือนกัน
การเว้นว่างการจัดพระราชพิธี
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลนี้กระทำสืบเนื่องต่อมาในรัชกาลที่ ๖ และ รัชกาลที่ ๗ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ มีการพิจารณาว่า ควรยกเลิกพระราชพิธีนี้หรือไม่ ในที่สุดกระทรวงเกษตราธิการก็เห็นว่า พระราชพิธีนี้มีประโยชน์ควรดำเนินการแก้ไขมิให้เป็นพระราชพิธีทางไสยศาสตร์ และควรให้มีการประกวดผลผลิตทางเกษตรกรรมและเป็นพิธีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วย จึงให้คงพระราชพิธีนี้ไว้ เพื่อปลุกใจให้ประชาชนนิยมทำการเกษตร สำหรับพระราชพิธีแรกนานั้นมีการย้ายไปทำร่วมกับงานวันขึ้นปีใหม่ ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ ต่อมาได้ยกเลิกไป ในพ.ศ.๒๔๘๑

พิธีว่างเว้นไปถึง ๑๐ ปี ต่อมาได้ทำการรื้อฟื้นประเพณีเก่าแก่อันเป็นมงคลนี้ขึ้นอีก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง ๒๓ ปี) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันนี้ได้ เว้นบางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะแก่กาลสมัย อาทิ พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี ได้เสด็จฯทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี มีข้าราชการขั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูต และประชาชนได้มาชมการแรกนาเป็นจำนวนมาก เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าว นำไปผสมกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกหรือเก็บไว้เป็นถุงเงินเพื่อความสิริมงคล

จรดพระนังคัล แปลว่า การไถ
การพระราชพิธีกล่าวเป็นสองชื่อ แต่เนื่องกันเป็นพิธีเดียวนี้ คือปันในสวดมนต์ในวันพระราชพิธีพืชมงคล ทำขวัญพืชพรรณต่างๆมีข้าวเปลือก เป็นต้น จรดพระนังคัลเป็นพิธีเวลาเช้าคือ ลงมือไถ ถ้าจะแบ่งคนละพิธีก็ได้ ด้วยพิธีพืชมงคลไม่ได้ทำแต่ในเวลาค่ำวันสวดมนต์ รุ่งขึ้นเช้าก็ยังมีการเลี้ยงพระต่อไปอีก การจรดพระนังคัลนั้นเล่า ก็ไม่ได้ทำแต่วันซึ่งลงมือแรกนาเริ่มพระราชพิธีเสียแต่เวลาค่ำวันสวดมนต์พิธีพืชมงคลนั้นแล้ว พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร พระราชพิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีพราหมณ์ ทำที่ทุ่งส้มป่อย( หน้าวังพญาไท - แอดมิน)นอกพระนคร พิธีทั้งสองนั้นก็นับว่าทำพร้อมกัน ในคืนเดียววันเดียวกัน จึงได้เรียกชื่อติดกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล

พระราชพิธีพืชมงคล จัดก่อนวันไถหนึ่งวัน
ฤกษ์การพระราชพิธีนี้ ต้องหาฤกษ์ที่วิเศษกว่าฤกษ์อื่นๆ คือ กำหนดสี่อย่าง ฤกษ์นั้นอย่าให้ต้องวันผีเพลียอย่างหนึ่ง ให้ได้ศุภดิถี อย่างหนึ่ง ให้ได้บุรณฤกษ์ อย่างหนึ่ง ให้ได้วันสมภเคราะห์ อย่างหนึ่ง ตำราหาฤกษ์ นี้เป็นตำราเกร็ด เขาสำหรับใช้เริ่มที่จะลงมือแรกนา หว่านข้าว ดำข้าว เกี่ยวข้าว ขนข้าวขึ้นยุ้ง แต่ที่เขาใช้กันนั้นไม่ต้องหาฤกษ์อย่างอื่น ให้แต่ได้สี่อย่างนี้แล้ว ถึงจะถูกวันอุบาทว์โลกาวินาศก็ใช้ได้ แต่ฤกษ์จรดพระนังคัลอาศัยประกอบฤกษ์ดีตามธรรมเนียมด้วยอีกชั้นหนึ่ง ตามแต่จะลงวันใดในเดือนหก ดิถีซึ่งนับว่าผีเพลียนั้น ข้างขึ้นคือ ๑,๕,๗,๘,๙,๑๐,๑๑,๑๕ ข้างแรม ๑,๕,๖,๗,๘,๑๐,๑๓,๑๔ เป็นใช้ไม่ได้ ศุภดิถีนั้นก็คือ ดิถีตาว่างซึ่งไม่เป็นผีเพลียนั้นเอง บุรณฤกษ์นั้น คือ ๒,๔,๕,๖,๘,๑๑,๑๔,๑๗,๒๒,๒๔,๒๖,๒๗ วันสมภเคราะห์นั้นคือ วันจันทร์ วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ กับกำหนดธาตุอีกอย่างหนึ่งตามวันที่โหรแบ่ง เป็น ปถวี อาโป เตโช วาโย ให้ได้ส่วนสัดกันแล้วเป็นใช้ได้ จะพรรณนาที่จะหาฤกษ์นี้ก็จะยืดยาวไป เพราะไม่มีผู้ใดที่จะต้องใช้อันใด

เหตุการณ์พุทธประวัติ เมื่อพระมหาโพธิสัตว์ประทับนั่งสมาธิขณะพระราชบิดาทำพิธีแรกนาอยู่
การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมโบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ลงทรงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนในชมพูทวีปก็ปรากฏเรื่องในพุทธประวัติว่า พระมหาสัตว์ทรงทำสมาธิ บรรลุญาณขณะพระราชบิดาทรงทำพิธีแรกนาอยู่ ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฎอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ไม่มีเวลาเว้นว่าง ด้วยการซึ่งผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจำให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่าง เหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตัวตามปรกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝน น้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วยเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นเหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลัง จึงได้ต้องแส่หาทางที่จะแก้ไข และทางที่จะอุดหนุน และที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้าจะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจ ก็การที่จะแก้ไขเยียวยาน้ำฝนน้ำท่าซึ่งเป็นของเป็นไปโดยฤดูปรกติเป็นเอง โดยอุบายลงแรงลงทุนอย่างไรไม่ได้ จึงต้องอาศัยคำอธิฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคล ตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเช่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สุด

ก็ธรรมเนียมการแรกนาซึ่งมีมาในสยามแต่โบราณ ตามที่ค้นได้ในหนังสือต่างๆ คือ ในหนังสือนพมาศเมื่อครั้งกรุงสุโขทัยนั้นมีข้อความว่า "ในเดือนหก พระราชพิธีไพศาลจรดพระนังคัล พราหมณ์ประชุมกันผูกพรดเชิญเทวรูปเข้าโรงพิธี ณ ท้องทุ่งละหานหลวงหน้าพระตำหนักห้าง เขากำหนดฤกษ์แรกนาว่าใช้วันอาทิตย์ พระเจ้าแผ่นดินทรงเครื่องต้นอย่างเทศ(เครื่องต้นอย่างเทศ คือ เสื้อยาวคลุมเข่า ก็คือเสื้อครุยนั่นเอง ได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย - แอดมิน) ทรงม้าพระที่นั่งพยุหยาตราเป็นกระบวนเพชรพวง พระอัครชายาและพระราชวงศานุวงศ์ พระสนมกำนัลเลือกแต่ที่ต้องพระราชหฤทัย ขึ้นรถประเทียบตามเสด็จไปในกระบวนหลังประทับที่พระตำหนักห้าง จึงโปรดให้ออกญาพลเทพธิบดีแต่งตัวอย่างลูกหลวง มีกระบวนแห่ประดับด้วยกรรชิง(คล้ายร่ม)บังสูร(บังแสง) พราหมณ์เป่าสังข์โปรยข้าวตอกนำหน้า

พระโคอุสุภราช
ครั้นเมื่อถึงมณฑลท้องละหาน ก็นำพระโคอุสุภราช(โคนนทิ พาหนะพระศิวะ)เทียมไถทอง พระครูพิธีมอบยามไถและประฎักทอง ให้ออกญาพลเทพ(ราชทินนาม เจ้ากรมนา)เป็นผู้ไถที่หนึ่งพระศรีมโหสถซึ่งเป็นบิดานางนพมาศ(สนามเอกพระร่วงเจ้า)เอาแต่งตัว เครื่องขาวอย่างพราหมณ์ ถือไถหุ้มด้วยรัตกัมพลแดง(ผ้าส่านแดง) เทียมด้วยโคกระวิน(หมายถึง โคสีน้ำตาล)ทั้งไม่ประฎัก พระโหราลั่นฆ้องชัยประโคมดุริยางคดนตรี ออกเดินไถเวียนซ้ายไปขวา ชีพ่อพราหมณ์ปรายข้าวตอกดอกไม้ บันลือเสียงสังข์ไม้ บัณเฑาะว์ (กลองสองหน้าขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีหลักอยู่ตอนบน ผูกตุ้มห้อยลงมาทางหน้ากลอง ใช้ไกวให้ตุ้มแกว่งกระทบหน้ากลองทั้ง ๒ ข้าง)

นำหน้าไถ ขุนบริบูรณ์ธัญญา นายพนักงานนาหลวง แต่งตัวนุ่งเพลาะ(ผ้า ๒ ผืนเย็บริมติดกัน) คาดรัดประคด(ผ้าที่ใช้รัดอก หรือสายที่ถักด้วยด้าย)สวมหมวกสาน ถือกระเช้าโปรยหว่านพืชธัญญาหารตามทางไถจรดพระนังคัลถ้วนสามรอบ ในขณะนั้นมีการมหรสพ ระเบงระบำโมงครุ่มหกคะเมนไต่ลวด ลวดบ่วงรำแพนแทงวิสัยไก่ป่าช้าหงส์ราย(ย้อนดูโพสต์เก่า มีเรื่องการละเล่นอยู่)รอบปริมณฑลที่แรกนาขวัญ แล้วจึงปล่อยพระโคทั้งสามอย่างออกกินเสี่ยงทายของห้าสิ่ง แล้วโหรพราหมณ์ก็ทำนายตามตำรับไตรเพท ในขณะนั้นพระอัครชายาก็ดำรัสสั่งพระสนมให้เชิญเครื่องพระสุพรรณภาชน์ มธุปายาส(ข้าวที่หุงด้วยด้วยน้ำนม)ขึ้นถวายพระเจ้าอยู่หัวเสวย ราชมัลก็ยกมธุปายาสเลี้ยงลูกขุนทั้งปวง" เป็นเสร็จการพระราชพิธีซึ่งมีมาในเรื่องนพมาศ
สมัยอยุธยา

เรือที่มีที่พัก เรียกเรือคฤห
ที่มาในกฎมณเฑียรบาลว่า “ เดือนไพศาข(เดือน ๖)จรดพระอังคัล เจ้าพญาจันทกุมารถวายบังคม ณ หอพระ ทรงพระกรุณายื่นพระขรรค แลพระพลเทพ(เจ้ากรมนา)ถวายบังคมสั่งอาชาสิทธิ ทรงพระกรุณาลดพระบรมเดช มิได้ไขหน้าล่อง มิได้ตรัสคดีถ้อยความ มิได้เบิกลูกขุน มิได้เสด็จออก ส่วนเจ้าพญาจันทกุมารมีเกยช้างหน้าพุทธาวาศขัดแห่ขึ้นช้างแต่นั้นให้สมโพช ๓ วัน ลูกขุนหัวหมื่นพันนา ๑๐๐ นา ๑๐๐๐๐๐ นา กรมการในกรมนาเฝ้า แลขุนหมื่นชาวสวนทังปวงเฝ้าตามกระบวน " ได้ความในกฎมณเฑียรบาลแต่เท่านี้ เป็นข้อความรวมๆลงไปกว่าหนังสือนางนพมาศหลายเท่า การที่ไปแรกนาทำอย่างไรก็ไม่ได้กล่าวถึง วิธีที่จัดการพระราชพิธีนี้เห็นจะไม่เหมือนกับที่สุโขทัยเลย ดูเป็นต่างครูกันทีเดียวข้างสุโขทัยดูการพระราชพิธีนี้เป็นคล้ายออกสนามใหญ่(ทหารสวนสนาม) เจ้าแผ่นดินยังถืออำนาจเต็ม ออกญาพลเทพเป็นแต่ผู้แทนที่จะลงมือไถนา ส่วนข้างกรุงเก่ายกเอาเจ้าพระยาจันทกุมารเป็นผู้แทนพระองค์มอบพระแสงอาญาสิทธิ์ให้ ส่วนพระยาพลเทพคงเป็นตำแหน่งเสนาบดีผู้ออกหมายตามกระทรวงเจ้าแผ่นดินนั้น เป็นเหมือนหนึ่งออกจากอำนาจจำศีลเงียบเสียสามวัน การที่ทำเช่นนี้ก็เห็นจะประสงค์ว่าเป็นผู้ได้รับสมมติสามวัน เหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินไป แรกนาเองดูขลังมากขึ้น ไม่เป็นแต่การแทนกันเล่นๆ ต่างว่าวิธีอันนี้เห็นจะได้ใช้มาตลอดจนปลายๆกรุงเก่า ด้วยได้เห็นในจดมหายเหตุขันหลวงหาวัด ความนั้นก็ลงรอยเดียวกับกฎมณเฑียรบาล เป็นแต่ตัดความไปว่าถึงเวลาไปทำพิธีชัดเจนขึ้น คือ ว่าพระอินทรกุมารฉลองพระองค์ ส่วนพระมเหสีนั้นนางเทพีฉลองพระองค์ ขี่เรือคฤหสองตอน(เรือที่มณฑปกลางเรือ ก็คือที่อาศัยบนเรือ)ไปถึงทุ่งแก้วขึ้นจากเรือ พระอินทกุมารสวมมงกุฎอย่างเลิศขี่เสลี่ยงเงิน ส่วนนางเทพีก็สวมมงกุฎอย่างเลิศไม่มียอดขี่เสลี่ยงเงินเหมือนกัน ขบวนแห่มีเครื่องสูง มีคนตามเรียกว่ามหาดเล็ก มีขุนนางเคียงถือหวายห้ามสูงต่ำ เมื่อถึงโรงพิธีพระอินทกุมารจับคันไถเทียมโคอสุภราช โคกระวิน(โคสีน้ำตาล) พระยาพลเทพถือเชือกจูงโค นางเทพีหาบกระเช้าข้าวหว่าน เมื่อไถได้สามรอบแล้วก็ปลดโคออก ให้โคเลือกกินอาหารเสี่ยงทาย มีข้าวสามอย่าง ถั่วสามอย่างและหญ้าสามอย่าง ถ้ากินสิ่งใดก็มีคำทำนายต่างๆ ซึ่งชื่อผู้แรกนาแปลกกันไปกับในกฎมณเฑียรบาล ข้างหนึ่งเป็นจันทกุมาร ข้างหนึ่งเป็นอินทกุมาร ข้างหนึ่งเรียกเจ้าพระยา ข้างหนึ่งเรียกพระ การที่ชื่อแปลกกันนั้นได้พบในจดหมายเหตุขุนหลวงหาวัดนี้เอง เมื่อว่าถึงพระราชพิธีเผาข้าวว่าพระจันทรกุมารเป็นผู้ได้รับสมมติไปทำพิธี เพราะฉะนั้นจะต้องเข้าใจว่า มีทั้งพระอินทรกุมาร พระจันทรกุมาร ๒ คน ที่ในการพระราชพิธีจรดพระนังคัล เห็นจะเป็นการไขว้ชื่อกันไปเท่านั้น บางทีก็จะผลัดเปลี่ยนกันเป็นพระยาแรกนาบ้าง

กำตาก คือ ในระหว่างพิธีสามวัน(สมัยอยุธยา) ถ้ามีพ่อค้าเกวียนหรือสำเภามา ขนอน(ภาษีผ่านด่าน)ทั้งหมดต้องตกเป็นสิทธิแก่พระยาจันทกุมาร(ผู้ถืออาญาสิทธิ์) โดยคำว่า กำ แปลว่า ถือ ส่วนคำว่า ตาก แปลว่าของที่ตั้งโดยเปิดเผยไว้
การแรกนาที่ในกรุงเทพฯ นี้ มีเสมอมาแต่ปฐมรัชกาลไม่ได้ยกเว้น แต่ถือว่าเป็นตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพคู่กันกับยืนชิงช้า เจ้าพระยาพลเทพแรกนายืนชิงช้าผู้เดียวไม่ได้ผลัดเปลี่ยนครั้นตกมาภายหลัง เมื่อเจ้าพระยาพลเทพป่วย ก็โปรดให้พระยาประชาชีพแทนบ้าง และเมื่อเจ้าพระยานิกรบดินทร์ยืนชิงช้าก็โปรดให้แรกนาด้วย

พระยายืนชิงช้าพระยายืนชิงช้าคือตัวแทนของพระอิศวร ที่เสด็จลงมาทอดพระเนตรการโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย
ในครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกือบจะตกลงเป็นธรรมเนียมว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้เป็นผู้แรกนาด้วย ครั้นมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาพลเทพ (หลวง) แรกนา เผอิญถูกคราวฝนแล้ง ราษฎรไม่เป็นที่ชอบใจ ติเตียนกันไปต่างๆนาๆ (ตามประสาคนไทย เนาะ) จึงโปรดให้เจ้าพระยาภูธราภัยแรกนา ถูกคราวดีก็เป็นการติดตัวเจ้าพระยาไป ครั้นเจ้าพระยาป่วยไข้แรกนาไม่ได้ ก็ให้วงศ์ญาติเป็นผู้แรกนา ต่อมาก่อให้เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ที่เกษตราธิบดีเจ้าตำแหน่ง เป็นผู้แรกนา

เจ้าพระยาภูธราภัย สมุหนายกในสมัยรัชกาลที่ ๔
การแรกนาที่กรุงเทพฯ นี้ไม่ได้เป็นการหน้าพระที่นั่ง เว้นไว้แต่มีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรเมื่อใด จึงได้ทอดพระเนตร เล่ากันว่าเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ขณะเมื่อทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ในปีมะแมเบญจศก ศักราช ๑๑๘๕ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการทุกวัน ครั้นเมื่อถึงพระราชพิธีจรดพระนังคัลจะใคร่ทอดพระเนตรจึงโปรดให้ยกการพระราช พิธีมาตั้งที่ปรก(ปรก แปลว่า ปิด,คลุม,บัง)หลังวัดอรุณฯซึ่งก่อนหน้านั้นยังเป็นทุ่งนาอยู่

ครั้นมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนาที่ทุ่งส้มป่อยครั้งหนึ่ง ภายหลังโปรดให้มีการแรกนาที่กรุงเก่า และที่เพชรบุรีได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระยาเพชรบุรี (บัว) แรกนาที่เขาเทพพนมขวดครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนาที่ทุ้งส้มป่อย ครั้งหนึ่ง

พระคันธารราษฎร์ หรือ พระปางขอฝน
การพระราชพิธีจรดพระนังคัลแต่ก่อนมีแต่พิธีพราหมณ์ ไม่มีพิธีสงฆ์ ครั้งมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงเพิ่มพิธีสงฆ์ในพระราชพิธีต่างๆ จึงได้เพิ่มในการจรดพระนังคัลนี้ด้วย แต่ยกเป็นพิธีหนึ่งต่างหาก เรียกว่าพืชมงคล โปรดให้ปลูกพลับพลาขึ้นในที่หน้าท้องสนามหลวง และสร้างหอพระเป็นที่ไว้พระคันธารราษฎร์ สำหรับการพระราชพิธีพืชมงคลอย่างหนึ่ง พรุณศาสตร์อย่างหนึ่ง แต่ก่อนมาพระยาผู้จะแรกนาก็มิได้ฟังสวด เป็นแต่กราบถวายบังคมลาแล้วก็ไปเข้าพิธีเหมือนตรียัมปวาย กระเช้าข้าวโปรยก็ใช้พนักงานกรมนาหาบ ไม่ได้มีนางเทพีเหมือนทุกวันนี้

พระเต้าเทวบิฐ สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ ใช้นำหน้าขบวนพระยาแรกนาในการจรดพระนังคัล
เมื่อโปรดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลขึ้น จึงได้ให้มีนางเทพีสี่คน จัดเจ้าจอมเถ้าแก่ที่มีทุนรอนพาหนะพอจะแต่งตัวและมีเครื่องใช้ไม้สอย ติดตามให้ไปหาบกระเช้าข้าวโปรย เมื่อวันสวดมนต์พระราชพิธีพืชมงคล ก็ให้ฟังสวดพร้อมด้วยพระยาผู้จะแรกนา และให้มีการราชบัณฑิตเชิญพระเต้าเทวบิฐ ซึ่งเป็นพระเจ้าเกิดขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๔ประพรมที่แผ่นดินนำหน้าพระยาที่แรกนา ให้เป็นสวัสดิมงคลอีกชั้นหนึ่ง
การพระราชพิธีนี้ ในเวลาบ่ายวันที่จะสวดมนต์ก็มีกระบวนแห่พระพุทธรูปออกไปจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กระบวนแห่นี้เกิดขึ้นก็ด้วยเ รื่องแห่เทวรูปออกไปที่โรงพระราชพิธีทุ่งส้มป่อยอันเป็นธรรมเนียมแต่เดิม พระพุทธรูปจะไม่มีกระบวนแห่ก็ดูจะต่ำไปกว่าเทวรูป จึงได้มีการจัดกระบวนแห่ โดยกำหนด ธงมังกร ๑๐๐ ธงตะขาบ ๑๐๐ ธงชนะ ๒๐ จ่าปี่จ่ากลอง แตรงอน ๑๐ แตรฝรั่ง ๘ สังข์ ๒ เครื่องสูงสำรับหนึ่ง คู่แห่ ๑๐๐ พิณพาทย์ ๒ สำรับ กลองแขก ๒ สำรับ ราชยานกง ๑ เสลี่ยงโถง ๑ คนหาบ พร้อมมีราชบัณฑิตประคองและภูษามาลาเชิญพระกลด

พระพุทธรูปซึ่งตั้งในการพิธีแห่ออกไปจากพระราชวังคือ “พระคันธารราษฎร์นั่ง” กาไหล่ทององค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ที่หอในวัดพระศรีรัตนศาสดารามองค์ ๑ พระคันธารราษฎร์ยืนกาไหล่ทององค์ ๑ พระคันธารราษฎร์อย่างพระชนมพรรษาเงินองค์ ๑ พระทรมาณเข้าอยู่ในครอบแก้วสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ องค์ ๑ พระชัยประจำแผ่นดินองค์ ๑ พระชัยเนาวโลหะน้อยองค์ ๑ พระพุทธรูปทั้งนี้เชิญไปจากหอพระเจ้าในพระบรมมหาราชวัง เทวรูป ๖ องค์ นั่งแท่นเดียวกัน ๑ รูป พระโต, แล้วเชิญพระพุทธรูปพระคันธารราษฎร์จีนกาไหล่ทอง ซึ่งไว้ที่หอพระท้องสนามหลวงลงมาอีกองค์ ๑ พระพุทธรูปทั้งนี้เชิญขึ้นตั้งบนโต๊ะทองใหญ่ ในพระแท่นมณฑลองค์น้อย มีเชิงเทียนราย ๔ เชิงพานทองคำดอกไม้ ๒ พาน กระถางธูปหยกกระถาง ๑ ตามรอบม้าทองที่ตั้งพระบนพระแท่นมณฑลและใต้ม้าทองไวพันธ์เครื่องเพาะปลูก ต่างๆ คือข้าวเหนียว ข้าวเจ้าต่างๆ ตามแต่จะหาได้ เมล็ดน้ำเ ต้า แมงลัก แตงต่างๆ ถั่วต่างๆ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ลูกเดือย งา ของเหล่านี้กำหนดสิ่งละ ๒ ทะนาน เผือก มันต่างๆ สิ่งละ ๑๐ หัว สิ่งที่ควรกรอกลงขวดอัดก็กรอกลงขวดตั้งเรียงรายไว้รอบๆ มีเครื่องนมัสการทองทิศสำรับ ๑ ที่พลับพลาโถงมุมกำแพงแล้วซึ่งเป็นที่ทอดพระเนตรนา(พลับพลาที่ปลูกไว้ที่ท้องสนามหลวง) ตั้งโต๊ะจีน มีเทวดา ๖ องค์ และรูปพระโคเหมือนที่ตั้งในพระแท่นมณฑล แต่เป็นขนาดใหญ่ขึ้น รอบโรงพระราชพิธีปักราชวัติการะดาษวงสายสิญจน์

เวลาค่ำเสด็จออกทรงถวายผ้าสบงจีวรกราบพระ พระสงฆ์ที่สวดมนต์ ๑๑ รูป พระสงฆ์ที่สวดนั้นใช้เจ้าพระราชาคณะ ถือตาลิปัตรงา พระสงฆ์ที่สวดมนต์อีกสิบรูป ใช้พระเปรียญ ๓ ประโยคเป็นพื้น พระสงฆ์รับผ้าไปครองเสร็จแล้วกลับมานั่งที่ จึงได้ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงตั้งสัตยาธิษฐานในการพระราชพิธีแล้วทรงศีล พระยาแรกนานั่งที่ท้ายพระสงฆ์ มีพานธูปเทียนดอกไม้ขึ้นไปจุดบูชาพระ รับศีลและฟังสวด เวลาที่สวดมนต์นั้นหางสายสิญจน์พาดที่ตัวพระยาแรกนา นางเทพี ๔ คนก็นั่งฟังสวดในม่านหลังพระแท่นมณฑล เมื่อทรงศีลแล้วจุดพานเทียนเครื่องนมัสการที่พระแท่นมณฑล และที่หอพระที่พลับพลา ทรงสุหร่ายประพรมน้ำหอมและเจิมพระพุทธรูป เทวรูป ทุกองค์ ในขณะนั้นอาลักษณ์นุ่งขาวห่มขาว รับหางสายสิญจน์พาดบ่า อ่าานคำประกาศสำหรับพระราชพิธี คำประกาศสำหรับพระราชพิธีนี้เก็บรวมรวมความบรรดาที่เกี่ยวข้องในเรื่องการทำนา ที่มีมาในพระพุทธศาสนาโดยย่อๆ เป็นคำอฐิษฐานในพระราชพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคล

ประกาศพระราชพิธีพืชมงคล
เป็นคาถาภาษาบาลีพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ อ่านทำนองสรภัญญะจบแล้วดำเนินความภาษาไทยเป็นคำร้อยแก้ว เนื้อความเป็นคำอธิษฐาน ๔ ข้อดังนี้
ข้อ ๑. เป็นคำนมัสการสรรเสริญพระคุณพระพุทธเจ้าว่าทรงดับทุกข์ได้ มีพระหฤทัยคงที่ ทรงปลูกธรรมให้งอกงามจำรูญแก่บรรดาสาวกพุทธเวไนยสืบๆ มา แม้ว่าโลกจะเร่าร้อนด้วยเพลิงกิเลสพระสัทธรรมอันมีผลเป็นอมตะก็ยังงอกงามได้ ด้วยเดชะพระบารมีของพระองค์ บัดนี้เราทั้งหลายบูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับ พระธรรมและพระสงฆ์แล้วจะปลูกพืช คือ บุญในพระรัตนตรัยอันเป็นเนื้อนาบุญอย่างดี พืชคือบุญนี้เมล็ดผลเป็นญาณความรู้อันเป็นเครื่องถ่ายถอนทุกข์ในโลก สามารถส่งผลให้ได้ทั้งในปัจจุบันและในกาลภายหน้าสืบๆ ไป ตามกาลอันควรจะให้ผลเป็นอุปการะนานาประการ ขอให้พืชคือบุญที่เราหว่านแล้ว จงให้ผลตามความปรารถนา อนึ่งขอให้ข้าวกล้าและบรรดาพืชผลที่หว่านที่เพาะปลูกลงในที่นั้นๆ ทั่วราชอาณาเขต จงงอกงามจำรูญตามเวลา อย่าเสียหายโดยประการใดๆ

ข้อ ๒. ยกพระคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงการทำนาของพระองค์แก่พราหมณ์ชาวนาผู้หนึ่ง ว่า "ศรัทธา-ความเชื่อเป็นพืชพันธุ์ข้าวปลูกของเรา ตบะ-ความเพียร เผาบาป เป็นเมล็ดฝน ปัญญา-ความรอบรู้เป็นแอกและไถ หิริ-ความละอายใจ เป็นงอนไถ ใจเป็นเชือกชัก สติ-ความระลึกได้ เป็นผาลและปฎักเราจะระวังกายระวังวาจาและสำรวมระวังในอาหาร ทำความซื่อสัตย์ให้เป็นท่อไขน้ำ มีโสรัจจะ-ความสงบเสงี่ยมเป็นที่ปลดไถ มีวิริยะ- ความเพียรเป็นแรงงานชักแอกไถ เป็นพาหนะนำไปสู่ที่อันเกษมจากเครื่องผูกพันที่ไปไม่กลับที่ไปแล้วไม่เศร้า โศก การไถของเราเช่นนี้มีผลเป็นอมตะ มิรู้ตาย บุคคลมาประกอบการไถเช่นว่านี้แล้วย่อมพ้นจากทุกข์สิ้นทุกประการ” ดังนี้มายกขึ้นเป็นคำอธิษฐานว่าที่พระพุทธเจ้าตรัสนี้เป็นความสัตย์จริงด้วย อำนาจแห่งความสัตย์นี้ ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลที่หว่านที่เพาะปลูกจงงอกงามทั่วภูมิมณฑลอันเป็นราช อาณาเขต
ข้อ ๓. ยกพระคาถาอันเป็นภาษิตของพระเตมีย์โพธิสัตว์ ความว่า "บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร โคย่อมจำรูญพูนเกิดแก่เขาพืชที่หว่านในนาของเขาย่อมงอกงามจำเริญ เขาย่อมได้รับบริโภคผลแห่งพืชพันธุ์ที่หว่านแล้ว” และว่า "บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรอันศัตรูหมู่อมิตรไม่อาจย่ำยีได้ดุจไม้ไทรมีราก และย่านอันงอกงามพายุ ไม่อาจพัดพานให้ล้มไปได้ฉันนั้น” มาตั้งเป็นสัตยาธิษฐานว่าด้วยอำนาจสัจวาจานี้ ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลที่หว่านเพาะปลูกในภูมิมณฑลทั่วราชอาณาเขต จงงอกงามไพบูลย์
ข้อ ๔. อ้างพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งทรงพระเมตตากรุณาแก่ประชาราษฎร ตั้งพระราชหฤทัยจะบำรุงให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้าเป็นความสัตย์จริง ด้วยอำนาจความสัตย์นี้ขอให้ข้าวกล้าและพืชผลงอกงามบริบูรณ์ทั่วราชอาณาเขต

พระคันธารราษฎร์ ที่รัชกาลที่ ๑ ได้ทอดพระเนตรของเก่า แล้วโปรดให้หล่อใหม่ขึ้นสำหรับพิธี
ต่อจากนั้น เป็นการกล่าวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า "พระคัณธาราษฎร์” ที่มีพุทธานุภาพบันดาลให้ฝนตกอันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญในพระราชพิธีนี้ แสดงตำนานโดยลำดับจนรัชกาลที่ ๑ ได้ทอดพระเนตร และได้โปรดให้หล่อขึ้นใหม่สำหรับตั้งในพระราชพิธี และต่อนั้นไปว่าด้วยการพระราชกุศลที่ทรงบำเพ็ญในพระราชพิธีนั้น ทรงพระราชอุทิศแก่เทพยดาทั้งปวงแล้วอธิษฐานเพื่อให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ และฝนตกตามฤดูกาล พระสงฆ์จะสวดต่อท้ายการสวดมนต์ในพระราชพิธีพืชมงคล

ครั้นเมื่ออ่านประกาศจบแล้ว พระสงฆ์จึงได้สวดมนต์มหาราชปริตรสิบสองตำนาน เมื่อถึงท้ายสวดมนต์คาถา นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต สุนิพพุตัสสะ ตาทิโน เหมือนอย่างเช่นอาลักษณ์อ่านทำนองสรภัญญะ เมื่อสวดมนต์จบแล้ว พระราชทานน้ำสังข์ใบมะตูม ทรงเจิมหน้าเจิมมือพระยาผู้แรกนาและนางเทพีทั้งสี่ แต่พระยาผู้แรกนาได้พระธำมรงค์มณฑปนพเก้าให้ไปสวมในเวลาแรกด้วยสองวง แล้วพระครูพรามณ์พฤติบาศมารดน้ำสังข์ใบมะตูมต่อไป ขณะเมื่อพระราชทานน้ำสังข์นั้น พระสงฆ์สวดชยันโต ประโคมพิณพาทย์ เป็นเสร็จการในเวลาค่ำ รุ่งขึ้นเลี้ยงพระสงฆ์แล้วแห่พระพุทธรูปกลับ เป็นจบพระราชพิธีพืชมงคล


พระราชพิธีจรดพระนังคัล เริ่มแต่เวลาบ่ายวันสวดมนต์พระราชพิธีพืชมงคล มีกระบวนแห่ๆ พระเทวรูปพระอิศวร ๑ พระอุมาภควดี ๑ พระนารายณ์ ๑ พระมหาวิฆเนศวร ๑ พระพลเทพแบกไถ ๑ กระบวนแห่มีธงมีคู่แห่เครื่องสูงกลองชนะ คล้ายกันกับที่แห่พระพุทธรูปเป็นแต่ลดหย่อนลงไปบ้าง ออกจากในพระบรมมหาราชวังไปโดยทางบก เข้าโรงพิธีที่ทุ่งส้มป่อยนาหลวง เวลาค่ำพระมหาราชครูพิธีเหมือนอย่างพิธีทั้งปวง ไม่มีการแปลกประหลาดอันใด

รถยนต์หลวงพระยาแรกนา
รุ่งขึ้นเวลาเช้าตั้งแต่กระบวนแห่ๆ พระยาผู้แรกนา กำหนดเกณฑ์คนเข้ากระบวนแห่ ๕๐๐ กระบวน นั้นไม่เป็นกระบวนใหญ่เหมือนอย่างแห่ยืนชิงช้า คือ ธงตราตำแหน่งของผู้แรกนานำ แล้วบโทน(ผู้รับใช้)นุ่งตาโถง(ผ้าตา กว้าง ๆ)สวมเสื้อแดง สะพายดาบฝักแดงฝักเขียวสองแถว กระบวนสวมเสื้อเสนากุฏ( เป็นเสื้อตีพิมพ์สีสลับเป็นลาย มีสีแดงเหมือนน้ำหมากมากกว่าสีอื่น ที่อกเป็นลายสิงห์ขบ ตามตัวเป็นลายต่างๆ กัน มีทั้งลายเกล็ดเกราะ ลายดอกไม้ ลายกนก เดิมนั้นเป็นเสื้อแขนสั้น และคงจะเริ่มมีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเสื้อที่ใช้กันมานานมากจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีภาพล่าง)กางเกงริ้วสองแถวๆละ ๑๕ ถัดมาบโทนขุนหมื่น สวมเสื้อเข้มขาบอัตลัต สะพายดาบฝักเงินแถวละ ๑๕ กลองชนะ ๑๐ จ่าปี่ ๑ กรรชิงหน้าคู่ ๑ เสลี่ยงพระยาผู้แรกนาสัปทนบังสูรย์ มีหลวงในมหาดไทยคู่ ๑ กลาโหมคู่ ๑ กรมท่าคู่ ๑ กรมนาคู่ ๑ กรมวังคู่ ๑ กรมเมืองคู่ ๑ เป็นคู่เคียง ๑๒ คน นุ่งผ้าไหมสวมเสื้อเยียรบับ กรรชิงหลังคู่ ๑ บ่าวถือเครื่องยศและถืออาวุธตามหลังเสลี่ยง คู่แห่หลังถือดาบเชลยแถวละ ๑๕ ถือหอกคู่แถวละ ๑๕ ถือกระบองแถวละ ๑๕ (ปัจจุบันไม่มีขบวนเพราะใช้รถยนต์หลวง)

พระยาแรกนาแต่งตัวเหมือนยืนชิงช้า เมื่อถึงโรงพระราชพิธีเข้าไปจุดเทียนบูชาพระพุทธรูป แล้วตั้งจิตอธิษฐานจับผ้าสามผืน ผ้านั้นใช้ผ้าลายหกคืบผืน ๑ ห้าคืบผืน ๑ สี่คืบผืน ๑ ถ้าจับได้ผ้าที่กว้างเป็นคำทำนายว่าน้ำจะน้อย ถ้าได้ผ้าที่แคบว่าน้ำจะมาก

ผ้านุ่งเสี่ยงทายของพระยาแรกนา ในการพยากรณ์น้ำในแต่ละปี
เมื่อจับได้ผ้าผืนใดก็นุ่งผ้าผืนนั้น ทับผ้านุ่งเดิมอีกชั้นหนึ่ง นุ่งอย่างบ่าวขุนออกไปแรกนา มีราชบัณฑิตคนหนึ่ง เชิญพระเต้าเทวบิฐประน้ำพระพุทธมนต์ไปหน้า พราหมณ์เชิญพระพลเทพคนหนึ่งเป่าสังข์ ๒ คน พระยาจับยามไถ พระมหาราชครูพิธียื่นประตักด้านหุ้มแดงไถดะไปโดยรีสามรอบ แล้วไถแปรโดยกว้างสามรอบ นางเทพีทั้ง ๔ จึงได้หาบกระเช้าข้าวปลูก กระเช้าทอง ๒ คน กระเช้าเงิน ๒ คน ออกไปให้พระยาโปรยหว่านข้าว และไถกลบอีกสามรอบจึงกลับเข้ามายังที่พัก

ปลดพระโคออกกินเลี้ยงของเสี่ยงทาย ๗ สิ่ง คือ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว เหล้า น้ำ หญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งไรก็มีคำทำนาย แต่คำทำนายมักจะว่ากันว่า ถ้าพระโคกินสิ่งใดสิ่งนั้นจะบริบูรณ์ การเท่านี้เป็นเสร็จพระราชพิธีจรดพระนังคัลแห่พระยากลับ แล้วเทวรูปกลับ

ในการจรดพระนังคัลเป็นเวลาคนมาประชุมกันมาก ถึงจะอยู่บ้านไกลๆ ก็มักจะมาด้วยมีประโยชน์ความต้องการเมื่อเวลาโปรยข้าวปลูกลงในนา พอพระยากลับแล้วก็พากันเข้าแย่งเก็บข้าว จนไม่มีเหลืออยู่ในท้องนาเลย เมื่อรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดให้ไปชันสูตรหลายครั้งว่ามี ข้าวงอกบ้างหรือไม่ ก็ไม่พบเหลืออยู่จนงอกเลย เมื่อทอดพระเนตรแรกนาที่เพชรบุรี พอคนที่เข้ามาแย่งเก็บพันธุ์ข้าวปลูกออกไปหมดแล้ว รับสั่งให้ตำรวจหลายคนออกไปค้นหาเมล็ดข้าวว่าจะเหลืออยู่บ้างหรือไม่ ก๋ไม่ได้มาเลย จนสักเมล็ดหนึ่ง พันธุ์ข้าวปลูกซึ่งเก็บไปนั้น ไปใช้เจือในพันธุ์ข้าวปลูกของตัว ให้เป็นสวัสดิมงคลแก่นาบ้าง ไปปนลงในถุงเงินให้เกิดประโยชน์งอกงามบ้าง การแรกนาจึงเป็นที่นิยมของคนทั้งปวงไม่มีจืด ยังนับว่าเป็นพระราชพิธีซึ่งเป็นที่ต้องใจคนเป็นอันมาก

หัวเมืองซึ่งมีการแรกนา
ตามหัวเมืองซึ่งมีการแรกนา มีของหลวงพระราชทาน ครั้นกาลที่ ๔ คือกรุงเก่าเมือง ๑ เพชรบุรีเมือง ๑ แต่เมืองซึ่งมีการทำนามาแต่เดิมโดยไม่มีของหลวงพระราชทานคือ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา สองเมืองนี้เป็นเมืองมีพราหมณ์ พราหมณ์จึงเป็นธุระในการพิธี แต่ผู้ว่าราชการเมืองมิได้ลงมือแรกนาเอง มอบให้หลวงนาขุนนางเป็นผู้แรกนาแทน เมืองสุพรรณบุรีเมืองหนึ่งก็ว่ามีการแรกนาไม่ได้เกี่ยวข้องในการหลวงเหมือนกัน
การเว้นว่างการจัดพระราชพิธี
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลนี้กระทำสืบเนื่องต่อมาในรัชกาลที่ ๖ และ รัชกาลที่ ๗ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ มีการพิจารณาว่า ควรยกเลิกพระราชพิธีนี้หรือไม่ ในที่สุดกระทรวงเกษตราธิการก็เห็นว่า พระราชพิธีนี้มีประโยชน์ควรดำเนินการแก้ไขมิให้เป็นพระราชพิธีทางไสยศาสตร์ และควรให้มีการประกวดผลผลิตทางเกษตรกรรมและเป็นพิธีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วย จึงให้คงพระราชพิธีนี้ไว้ เพื่อปลุกใจให้ประชาชนนิยมทำการเกษตร สำหรับพระราชพิธีแรกนานั้นมีการย้ายไปทำร่วมกับงานวันขึ้นปีใหม่ ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ ต่อมาได้ยกเลิกไป ในพ.ศ.๒๔๘๑

พิธีว่างเว้นไปถึง ๑๐ ปี ต่อมาได้ทำการรื้อฟื้นประเพณีเก่าแก่อันเป็นมงคลนี้ขึ้นอีก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง ๒๓ ปี) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันนี้ได้ เว้นบางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะแก่กาลสมัย อาทิ พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี ได้เสด็จฯทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี มีข้าราชการขั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูต และประชาชนได้มาชมการแรกนาเป็นจำนวนมาก เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าว นำไปผสมกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกหรือเก็บไว้เป็นถุงเงินเพื่อความสิริมงคล