วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระราหู คืออะไร? (อินทรีย์เมฆาเรียบเรียง)

ขอขอบคุณสื่อต่างๆ


      สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงสนพระทัยในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทรงค้นพบว่า

พระราหู ว่าเป็นโอรสพระพฤหัสบดีกับนางสิงหิกา 

ตามความนิยมกันว่าพระราหูอมพระอาทิตย์และพระจันทร์

ในเวลาอุปราคานั้นมีเรื่องเล่ามาว่า เดิมพระราหูเป็นอสูร แต่เมื่อเวลากวนน้ำอมฤตนั้นได้แปลงรูปเป็นเทวดา พระอาทิตย์กับพระจันทร์ซึ่งนั่งอยู่ด้วยกันได้ท้วงแก่พระนารายณ์ว่า 

มีอสูรอีก 1 ตนได้กินน้ำอมฤตแล้ว พระนารายณ์จึงตัดเศียรอสูรนั้นเพื่อลงอาญา 

แต่อสูรนั้นได้น้ำอมฤตแล้ว เพราะฉะนั้นทั้งเศียรทั้งกายก็มิได้ตาย 

พระนารายณ์จึงตัดนามภาคเศียรว่า ราหู ให้อยู่ทางที่ลับแห่งจันทรโคจร 

ตั้งนามกายภาคว่า เกตุ ให้อยู่ทางที่แจ้งแห่งจันทรโคจร กับอนุญาตว่าเพื่อแก้แค้น 

ให้ราหูมีเวลาได้เข้าใกล้พระอาทิตย์ พระจันทร์ และกระทำให้มัวหม่น ร่างกายซูบผอมคลำไป




เนื้อหาจากเว็บไซต์ ศีล5 ดอทเน็ต

ปัจจุบันมีผู้สนใจบูชา ราหู เป็นจำนวนมากในเวลาที่มีการเกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ คือ อุปราคาซึ่งเป็นเพียงการเกิดเงาบัง ดวงอาทิตย์ หรือ ดวงจันทร์ ตามวิถีการโคจรของดวงดาวเท่านั้นเอง
       หลวงปู่ได้เป็นห่วงลูกหลาน ที่หลงงมงายกับการบูชา ราหู ซึ่งเป็นที่มาของ บทโศลกข้างต้น ที่ท่านได้กล่าวขึ้นมา เมื่อตอนแสดงธรรมประจำต้นเดือน วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 หลวงปู่จึงได้ดำริให้นำเรื่องของราหู ซึ่งเป็นเพียง อสูร ตนหนึ่ง มาลงเป็นนิทานธรรมะ ให้ลูกหลานได้อ่านและทราบกัน โดยที่มาของนิทานเรื่องนี้มาจากหนังสือโบราณ ที่กล่าวถึงกำเนิดเทวะ ในตอนที่กล่าวถึงว่า..
     เทพและมารทั้งหลายได้มีความรู้สึกกลัวความแก่ ความเจ็บและความตาย อีกทั้งประจวบกับบรรดามารและเทพทั้งหลายได้เห็น พวกพ้องมิตรสหายทั้งหลายได้หมดบุญหมดวาสนาจากอัตภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะต้องไปเกิดในที่อันไม่พึงปรารถนา ต่างฝ่ายต่างก็ให้ปริวิตกกังวล กลัวเวลาแห่งการที่ต้องไปเกิด ในที่อันไม่น่าปรารถนาของตนจะมาถึง ต่างก็พยายามแสวงหาวิธีเอาตัวรอดจากมรณะและภพภูมิอันไม่พึงปรารถนา ทั้งเทพและพรหมมารทั้งปวงก็พากันมาประชุมปรึกษาหาวิธีแก้มรณกรรมอันจะเกิดขึ้นแก่ตน (เข้าใจว่ายุคนั้นคงจะยังไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ จึงยังไม่มีใครบอกและสอนถึงวิธีพ้นจากเกิด แก่ เจ็บ และตาย)
       ทุกตนในเทวสภาและพญามารทั้งหลาย ก็เห็นสมควรจะต้องไปปรึกษาท่านผู้รู้ และท่านผู้รู้เหล่านั้นก็คือ ครู อาจารย์ของตน ซึ่งเป็นฤๅษีดาบส อยู่ ณ ป่าหิมวันต์ ครั้นปรึกษาเป็นที่ตกลงกันเช่นนั้นแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็สำแดงเดชานุภาพ เหาะมาสู่ ณ ที่พักแห่งอาจารย์ของตน และพากันแจ้งเหตุที่มาหาให้แก่อาจารย์ของตนได้ฟัง บรรดาเทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ของเทพและมารทั้งหลาย ได้เห็นความปริวิตกของสัทธิวิหาริกคือลูกศิษย์ของตนเช่นนั้น ก็นั่งพิเคราะห์ดูด้วยญาณ (ซึ่งมิได้ประกอบด้วยปัญญาหยั่งรู้)ก็ได้รู้วิธีที่จะเอาชนะมรณกรรมได้ด้วยการหาของบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ทั้งพันชนิด และน้ำบริสุทธิ์ทั้งหมื่นโลกธาตุมารวมกัน และคละประกอบด้วยเทพมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่หมื่นคาบ และใช้เทพโอสถที่มีชีวิตทั้ง ๗ ชนิด บดเข้าด้วยกันด้วยภูเขาชิเนรุมาศ และใช้น้ำตาของพญานาคทั้ง ๘ เป็นตัวผสานเมื่อเทพฤๅษีทั้งหลายได้รู้วิธีเอาชนะมรณกรรมแล้วก็แจ้งแก่บรรดาเทพและมารผู้เป็นลูกศิษย์ พร้อมกับให้แยกย้ายกันไปหาสรรพยาทั้งหลาย เทพและมารทั้งปวงเมื่อได้ฟังมาว่ามีวิธีที่จะเอาชนะมรณกรรมได้โดยการกวนยาวิเศษก็โห่ร้องด้วยความลิงโลด แล้วจัดแบ่งหน้าที่ที่จะไปเอาของวิเศษทั้งหลายในทิศทางต่างๆ มารวมกัน
       ครั้นเมื่อได้ของวิเศษมาครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว เทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ทั้งหลายก็มีบัญชาให้พญาครุฑไปยกเขาพระสุเมรุ มาทำเครื่องบด แล้วให้พระธรณีเนรมิตสถานที่บด พร้อมทั้งสั่งการบรรดาเทพและมารทั้งปวงให้เทของวิเศษทั้งหลายรวมกัน แล้วให้พญาครุฑวางเขาพระสุเมรุทับแล้วสั่งให้พญานาคทั้งเจ็ดเนรมิตกายให้ยืดยาวประดุจดังเชือกเส้นใหญ่ทั้งเจ็ดรวมกันให้เทวะทั้งหลายจับปลายเชือกด้านซ้าย ยักษ์และมารทั้งหลายจับปลายเชือกด้วนขวา เทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ของเทวดาอยู่ด้านหน้า เทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ของยักษ์และมารทั้งหลายอยู่ด้านหลัง ทั้งสองด้านได้พร้อมกันสาธยายเทพมนต์ ในขณะที่เทพและมารช่วยกันฉุดเชือกนาคเพื่อให้เขาพระสุเมรุนั้นหมุนไปทางด้วนซ้ายและขวา โดยมีพญาครุฑคอยหัวเหาะพยุงเขาพระสุเมรุอยู่ด้านบน ยาทิพย์นี้ใช้เวลาบดอยู่
    เจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวันจึงจะสำเร็จในขณะที่กำลังบดยาทิพย์ด้วยความขะมักเขม้น เหล่าเทวดาทั้งหลายก็ออกอุบายให้ยักษ์และมารทั้งปวงออกกำลังดึงแต่ฝ่ายดียว เมื่อถึงคราวที่ฝ่ายตนจะดึงก็พากันใช้นิ้วเอื้อมไปแหย่สะดือพญานาค เมื่อพญานาคโดนแหย่สะดือ ก็ให้รู้สึกแสยง ยกตัวให้สั้นลง ในขณะที่ยักษ์ทั้งหลายดึงอยู่ด้วยก็ทำให้เขาพระสุเมรุหมุนไปทางเทวดา ทำให้ดูประหนึ่งว่าเทวดาดึงให้หมุนด้วยกำลัง และเป็นจังหวะที่เทวดาทั้งปวงส่งเสียงให้เหมือนว่ากำลังจะออกแรงอย่างเต็มที่ ทำอยู่ดังนี้ตลอดไป เจ็ดปี เจ็ดเดือน และเจ็ดวันครั้นเมื่อยาทิพย์ปรุงสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว เทพฤๅษี พญาครุฑ พญานาค ยักษ์มาร ทั้งหลายก็พากันอ่อนแรงไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ เหล่าเทวดาทั้งหลาย เห็นได้ทีก็ชิงเอายาทิพย์ทั้งหลายเหาะขึ้นไปยังทิพย์วิมานของตน กล่าวฝ่ายพญามาร ยักษ์ ครุฑ และนาคทั้งหลาย เมื่อได้สติฟื้น ก็ได้พากันมาสำรวจดูยาทิพย์ จึงได้รู้ว่าหายไปหมดแล้วพร้อมกับหมู่เทวดาทั้งปวง ก็พากันโกรธแค้นเทวดา แต่ก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้ เพราะครูฤๅษีได้ห้ามไว้ว่า เมื่อเทวดานั้นได้กินยาทิพย์นั้นเข้าไปแล้วจักเป็นผู้มีเดช มีอานุภาพมาก และฆ่าก็จะไม่ตาย เราทั้งหลายไม่สามารถต่อกรได้ มารทั้งหลายต่างฝ่ายต่างก็เก็บเอาความเจ็บแค้นเอาไว้ในอุรา แล้วพากันกลับไปยังที่อยู่ของตนในหมู่ของมารทั้งหลาย ยังมียักษ์ตนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า อสุรินทรราหู ซึ่งเป็นบุตรของนางยักษ์ชื่อวิปจิตกับเทพชื่อพฤหัส ได้ครุ่นคิดเคียดแค้นแน่นอยู่ในอก คิดหาวิธีที่จะชิงเอายาทิพย์กลับคืนมาจากเทวดาให้ได้คิดไปคิดมาจึงนึกขึ้นมาได้ว่า บิดาของเราคือพระพฤหัส ซึ่งเป็นเทวดา ถึงเราจะมีมารดาเป็นยักษ์แต่เราก็มีเลือดของพ่ออยู่ด้วย ถ้าเราแปลงกายเป็นเทพไปเข้าร่วมหมู่ของเทวดาเพื่อจะขอแบ่งยาทิพย์พวกเทพเหล่านั้นคงจะจับเราไม่ได้ ถึงแม้ว่าพวกเทพเหล่านั้นจะสามารถสัมผัสกลิ่นอันเป็นทิพย์ได้ เราก็มีกลิ่นกายของเทวดาอยู่ในตัวเหมือนกัน พวกมันคงจะไม่รู้หรอกน่า ว่าเราแปลงกายไป คิดดังนั้นแล้วอสุรินทรราหูร่ายเวทย์จำแลงกายเป็นเทวดาแล้วก็เหาะขึ้นไปสู่เทวสภาพร้อมกับเข้าไปสู่หมู่ของเทวดาทั้งหลายเพื่อขอส่วนแบ่งยาทิพย์ ขณะนั้นเหล่าเทวดาทั้งหลายก็กำลังประชุมฉลองชัยชนะที่สามารถใช้กลอุบายเอาชนะพญามารและยักษ์ทั้งหลายได้ พร้อมกับชิงเอายาทิพย์มาเป็นของตน ได้สำเร็จ และแจกจ่ายยาทิพย์ให้แก่เหล่าเทวดาทั้งหลายขณะนั้นอสุรินทรราหู จำแลงก็ได้รับส่วนแบ่งยาทิพย์กับเขาด้วย มิทันช้า อสุรินทรราหูจำแลงก็รีบกลืนยาวิเศษนั้นทันที ยาก็ได้สำแดงเดช ทำให้อสุรินทรราหูและเทวดาทั้งปวงมีอาการมึนเมาไปกันทั่วหน้ามนต์ที่จำแลงแปลงกายก็คลายออก เทพอาทิตย์และจันทร์ได้สังเกตเห็นว่า อสูรแปลงกายมากินยา ก็พากันโวยวายและเรียกพวกเทวดาให้ช่วยกันจับ เป็นที่ตะลุมบอนโกลาหล แต่ก็หาจับได้ไม่เมื่อจับเป็นไม่ได้ ก็ต้องจับตาย เหล่าเทวดาทั้งหลายก็พากัน รุมตีฟันอสุรินทรราหู เป็นการใหญ่ แต่ก็หาได้ทำอันตรายแก่อสุทริราหูได้ไม่ แถมยังแสดงเดชา รุกรบ ต่อยตี หมู่เทวดาทั้งหลายจนพ่ายแพ้หนีกระเจิดกระเจิง เหล่าเทพและเทวดาทั้งหลายก็พากันวุ่นวาย (ถ้ามีคำถาม ถามว่าก็ไหนเมื่อเทพเหล่านั้น ก็ได้กินยาทิพย์เหมือนกัน แต่ทำไมถึงสู้ยักษ์ตนเดียวไม่ได้ ข้อนี้ต้องวินิจตรงชื่อ คงจะเข้าใจได้ง่ายดี ที่ว่าต้องวินิจฉัยตรงชื่อก็เพราะ ตามความหมายของคำว่ายักษ์หรืออสูร แปลว่า ผู้ไม่พ่ายผู้มีเดช ผู้มีอำนาจ ผู้มีกำลัง ส่วนคำว่า เทวดา เทพ แปลว่า ผู้มีรูปสวย ผู้มีบุญ ผู้มีสุข ผู้มีวาสนา)เพราะฉะนั้น เหล่าเทวดาถึงจะมีจำนวนมาก แต่ก็หาได้มีกำลัง มีเดชเท่ากับอสูรไม่ เมื่ออสุรินทรราหู ได้ชัยชนะแก่หมู่เทวาดา ก็มีจิตกำเริบ ไล่ทำร้ายและทำลายอาละวาดไปทั่วแดนสวรรค์ ข้างฝ่ายพระอาทิตย์และเทพจันทรเห็นท่าไม่ดีก็เหาะไปเฝ้า พระนารายณ์ ทูลเรื่องทั้งหลายให้เทพผู้เป็นใหญ่ได้ทรงทราบ พระนารายณ์เป็นเจ้าได้ทรงสดับรับฟังแล้วก็ทรงกริ้ว ทรงบริภาษด้วยวาจาที่เกริ้ยวกราดว่า "ไอ้อสูรตัวขลาด บังอาจกำเริบขึ้นมาราวีบนแดนสวรรค์เชียวหรือ"ว่าแล้วก็ทรงขว้างจักรแก้วออกไปตัดร่างของอสุรินทรราหู ขาดเป็นสองท่อน ท่อนขาถึงบั้นเอวก็หลุดกระเด็นออกไปนอกจักรวาล เหลือแต่ท่อนหัวกับตัว ถึงกระนั้น ก็มิอาจทำให้อสุรินทรราหูถึงแก่ความตายได้ไม่
       และด้วยความตกใจกลัว อสุรินทรราหู ก็เหาะหนีมายังที่อยู่ของตน และพกพาความโกรธแค้นอาทิตย์และจันทร ที่เป็นเหตุให้เกิดเรื่องวุ่นวายบนสวรรค์ และเป็นเหตุให้กายของตนขาดเป็นสองท่อน อสุรินทรราหู กลับมาคิดแค้นต่อเทพอาทิตย์ และจันทรว่าเพราะ เทพสองตนนี้ทีเดียวเป็นผู้บอกให้เหล่าเทวารุมทำร้ายตน และเป็นเพราะเทพสองตนนี้อีกเหมือนกันที่เป็นผู้ไปบอกองค์นารายณ์จนเป็นเหตุให้ข้วางจักรแก้วมาตัดร่างตนถึงกับขาดเป็นสองท่อน ความอัปยศ อดสูและเจ็บช้ำนี้ เราจะตอบแทนคืนให้เทพทั้งสอง อย่างสาสมณ บัดนั้นเป็นต้นมา อสุรินทรราหูก็เฝ้าคอยที่จะหาโอกาสราวี แก่อาทิตย์และจันทรอยู่ตลอดเวลา มีอยู่ครั้งหนึ่งเทพอาทิตย์และจันทร จะไปประชุมยังเทวสภา ระหว่างทางอสุรินทรราหูได้มาคอยดักทำร้ายเทพทั้งสองก็เหาะหนี จวนเจียนหนีไม่พ้น แต่เผอิญเหาะมาทางทิศที่ตั้งแห่งภูเขาไกรลาศ ซึ่งเป็นที่อยู่ของบิดรเทพ คือ เทพผู้เป็นพ่อของเทพทั้งหลาย เทพอาทิตย์และจันทรก็เหาะหนีเข้าไปยังที่อยู่ของบิดรเทพ
       อสุรินทรราหู ตามมาติดๆ เมื่อเห็นว่าศัตรูของตนหนีไปพึ่งผู้มีเดชรุ่งเรืองเช่นนี้ อสูรก็มาหยุดคิดว่าเพราะคราวที่แล้วเราผลีผลามรุกไล่ติดตามเทพทั้งสองไปโดยไม่ได้ดูตาม้าตาเรือ จนเป็นเหตุให้กายเราขาดเป็นสองท่อน เที่ยวนี้ขืนติดตามมันเข้าไปอีก อาจหัวขาดออกจากตัวอีกก็ได้ คิดดังนั้นแล้ว ก็คำรามด้วยความเคียดแค้นว่าฝากไว้ก่อนนะไอ้ขี้ขลาด คราวหน้าถ้าเห็นอีก ข้าจะกินเสียให้หนำใจว่าแล้วก็เหาะกลับไปยังที่อยู่ของตน
       ฝ่ายเทพบิดร เมื่อเห็นอาทิตย์และจันทรเทพเหาะมาสู่ยังที่พักของตนอย่างลุกลี้ลุกลน ก็ถามขึ้นมาด้วยความสงสัย เทพทั้งสองจึงเล่าแจ้งแถลงไขให้ทรงทราบ และขอร้องให้เทพบิดรทรงช่วย พระบิดรจึงทรงเนรมิตอาชาสีแดงพร้อมราชรถให้แก่อาทิตย์เทพ และเนรมิตอาชาสีขาว ๘ ตัวพร้อมราชรถให้แก่จันทรเทพ
       ประทานให้เอาไว้เป็นพาหะหลบหนีอสูร แล้วทรงสั่งว่าคราใดที่ท่อนขาของอสุรินทรราหูลอยมาติดตัว ท่านทั้งสองจะต้องโดนอสูรกลืนกินกล่าวฝ่ายอสุรินทรราหู เมื่อไม่สามารถจะทำร้ายอาทิตยเทพและจันทรเทพได้ดังหวัง ก็ให้รู้สึกหงุดหงิดงุ่นง่าน จึงเหาะขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ ไปอาละวาดไล่ทำร้ายเหล่าเทวดาทั้งหลายจนเป็นที่หนำใจแล้วก็เหาะกลับยังที่อยู่ของตน
       ครั้นอสุรินทรราหูไปแล้ว เทพและเทวดาทั้งหลายก็ออกจากที่ซ่อนไปเฝ้าพระนารายณ์ยังเทวสภาแล้วประชุมปรึกษาว่าจะทำการป้องกันไม่ให้อสุรินทรราหูมาไล่ทำร้ายได้อย่างไรองค์อินทร์ก็ทรงตรัสว่า สรรพสิ่งในโลกเมื่อมีจุดเด่นก็ต้องมีจุดด้อย อสูรตนนี้ถึงมันจะกินยาทิพย์ฆ่าฟันไม่ตายแต่ก็ต้องมีวิธีทำลายอาถรรพ์และทำร้ายชีวิตมันได้เหมือนกัน อยู่ที่ว่าใครจะเป็นผู้ไปล้วงเอาความลับนี้มาได้
       เหล่าเทวะทั้งหลายพากันนิ่งเงียบและนั่งก้มหน้า ไม่มีผู้ใดที่จะขันอาสา เวลาผ่านไปสักครู่ ก็มีเสียงดังก้องกังวาลมาทางด้านท้ายแถวว่า ข้าพเจ้าท้าวจาตุมมหาราชทั้ง ๔ ขอขันอาสาที่จะไปล้วงความลับของอสูรตนนี้
       หมู่เทวะทั้งหลาย ต่างหันมามองท้าวมหาราชทั้ง ๔ ด้วยแววตาและดวงจิตที่ชื่นชมความกล้าหาญ เสียสละ ของมหาราชทั้ง ๔ องค์อินทร์ ก็ทรงถามว่า ท่านทั้ง ๔ เห็นประโยชน์อะไรในการขันอาสาครั้งนี้
       ข้าพเจ้าทั้ง ๔ เห็นความสุขสงบควรจะมีต่อหมู่มหาเทพทั้งหลายถ้าสามารถกำจัดอสูรร้ายนี้ได้ และอีกอย่างข้าพเจ้าทั้ง ๔ เท่านั้น เป็นผู้ควรต่อการครั้งนี้ เหตุเพราะหมู่เทวะทั้งหลายมีกลิ่นกายไอสวรรค์ปรากฏอยู่ทั่ว
       ทุกท่าน ถ้าจะจำแลงแปลงกายเป็นอสูร อสุรินทรราหูผู้มีปัญญาและประสาทสัมผัสที่ว่องไว อาจจะจับพิรุธได้และมีอันตราย
       แต่ข้าพเจ้าทั้ง ๔ เป็นผู้ไม่มีกลิ่นไอสวรรค์และเป็นผู้ไม่มีกลิ่นไออสูร ข้าพเจ้าทั้ง ๔ จึงเป็นผู้เหมาะแก่การอาสาไปล้วงความลับของอสุรินทรราหูด้วยประการฉะนี้เจ้าข้า สาธุ สาธุ ดีแล้วมหาราชทั้ง ๔
       ท่านช่างเป็นผู้กล้าและเสียสละยิ่ง ปวงเทพทั้งหลายก็พากันแปล่งสาธุการสรรเสริญ
       ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ก็เหาะมายังที่อยู่ของอสุรินทรราหู และร่ายเวทย์แปลงกายเป็นอสูรน้อย เข้าไปขันอาสารับใช้ต่อกิจการต่างๆจนเป็นที่รักใคร่ของจอมอสูรและยอมสอนวิทยาการต่างๆ ให้จนหมดพุง อสูรแปลงทั้ง ๔ กล่าวกับอสุรินทรราหูผู้เป็นอาจารย์ว่า " ท่านอาจารย์ที่เคารพ หมู่เทวดามีอยู่ด้วยกันจำนวนมากจะพากันรุมทำร้ายท่านอาจารย์ ท่ายอาจารย์ต้องระวัง พวกกระผมเป็นห่วง"
       อสุรินทรราหูจึงได้กล่าวกับศิษย์ของตนว่า "เจ้าทั้ง ๔ มิต้องเป็นห่วง หมู่เทพทั้งหลายไม่สามารถจะฆ่าเราได้หรอก เพราะเรามีวิธีรักษาอาถรรพ์ของยาทิพย์ให้อยู่ได้ เราจะบอกต่อเจ้าให้ฟัง แต่เจ้าจะต้องให้สัจจะแก่เราว่า จะไม่บอกใคร
       มหาราชทั้ง ๔ รับปาก อสุรินทรราหูก็บอกความลับแก่ศิษย์ของตน ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ เมื่อได้รู้ความลับของอสุรินทรราหูก็ปลีกตัวเหาะกลับมายังเทวสภา ปวงเทพทั้งหลายเมื่อได้เห็นท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ กลับมาสู่เทวสภา ก็พากันปริวิตกว่า กิจที่ไปสืบความลับของจอมอสูรจะสำเร็จไหมหนอ ฝ่ายมหาราชทั้ง ๔
       เมื่อมาถึงเทวสภาแล้วก็ตรงเข้าไปอัญชลีแก่องค์อินทรราชผู้เป็นใหญ่ แล้วกราบทูลว่า " บัดนี้ภารกิจที่ข้าพระองค์ทั้ง ๔ ขันอาสาไปปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงแล้วพระเจ้าข้า"
       มหาเทพผู้เป็นประธานในหมู่เทพทั้งปวงก็ตรัสถามว่า แล้วมีวิธีใดที่จะกำจัดจอมอสุรินทรราหู ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ จึงกราบทูลว่า " ข้าแต่จอมอัมรินทร์ปิ่นสวรรค์ ข้าพเจ้าทั้ง ๔ ไม่สามารถบอกความลับแก่ผู้ใดได้ เหตุเพราะข้าพเจ้าทั้ง ๔ ได้รับปากกับจอมอสูรไว้แล้วว่า ถ้าได้ล่วงรู้ความลับที่จะสังหารจอมอสูรแล้ว
       จะไม่บอกแก่ใครเป็นอันขาดพระเจ้าข้า แต่ถ้าเมื่อใดที่อสุรินทรราหูจอมอสูร ขึ้นมาอาละวาดบนสรวงสวรรค์อีก ข้าพเจ้าทั้ง ๔ ขออาสาที่จะหาวิธีกำราบจอมอสูรให้พ่ายแพ้ไปจนได้ พระเจ้าข้า "
       จอมอัมรินทร์ผู้เป็นใหญ่ และเหล่าเทพทั้งปวง เมื่อได้ฟังท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ กล่าวเช่นนั้น ก็โสมนัสยินดี พากันเปล่งสาธุการจนดังกังวาลก้องไปทั่วโลกทั้งสาม แล้วเหล่าเทพทั้งหลาย ก็ได้กล่าวสรรเสริญแก่ท่านท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ว่า ท่านทั้ง ๔ ช่างเป็นผู้กล้าหาญ เสียสละ กตัญญู และรักษาสัจจะเป็นเลิศกล่าวฝ่ายอสุรินทรราหูอยู่ในที่พำนักของตน เมื่อได้ยินเสียงแช่ซ้องสาธุการของชาวสวรรค์ ก็คิดเคืองใจจิตว่า ไอ้พวกมดพวกปลวกนี้ชักกำเริบใหญ่ บังอาจส่งเสียงรบกวนเวลาพักผ่อนของเรา เห็นทีจะต้องขึ้นไปอาละวาดเสียให้เข็ดหลาบ คิดดังนั้นแล้ว จอมอสูรผู้มีเดช ก็สำแดงฤทธิ์เหาะขึ้นไปสู่นภากาศแล้วร่ายเวทย์เนรมิตกายให้กว้างใหญ่ แล้วแผ่อำนาจบาตรใหญ่ตวาดออกไปว่า ไอ้พวกมดปลวกขี้ขลาดทั้งหลายชักกำเริบ บังอาจรบกวนเราผู้เป็นใหญ่ซึ่งกำลังพักผ่อนอาศัยอยู่ใต้บาดาล เห็นทีวันนี้เราจะกลืนกินพวกเจ้า ให้สาสมกับโทษทัณฑ์ที่บังอาจรบกวนเรา ว่าแล้วจอมอสูร ก็อ้าปากขึ้น ซึ่งดูลึกล้ำและกว้างใหญ่ สามารถดูดอมดวงดาวในมหาจักรวาลไว้ได้ทีเดียว แม้แต่เทวสภาขององค์อินทรที่ว่ากว้างใหญ่สามารถบรรจุปวงเทพทั้งหลายได้ถึงแปดหมื่นสี่พันโกฏิ ก็ยังไม่ทำให้กระพุ้งแก้มของจอมอสูรโป่งพองขึ้นมาได้ ฝ่ายหมู่เทวะน้อยใหญ่ เมื่อได้เห็นจอมอสุรินทรราหูแสดงเดชเพื่อจะกลืนกินพวกตนไปพร้อมกับเทวสภา ก็ให้เกิดอาการหวาดผวาระวังสะดุ้งกลัว พากันหลีกหนีหลบซ่อน เป็นที่สับสนอลหม่านหาได้มีผู้ใดคิดจะต่อกรจอมอสูรไม่
       ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ เมื่อเห็นอสุรินทรราหูสำแดงเดชเพื่อจะกลืนกินเทวสภาเช่นนั้น มหาราชทั้ง ๔ ก็ออกไปยืนปรากฏอยู่ในทิศทั้ง ๔ ของเทวสภา แล้วก็ร่ายเวทย์สำแดงตนให้จอมอสูรใด้เห็นเป็นสองภาพ คือ ภาพนหนึ่งเป็นอสูรน้อย แล้วเปลี่ยนมาเป็นเทพพิทักษ์ทิศ กลับไปกลับมาอยู่ดังนี้เป็นสองคำรบแล้ว อสุรินทรราหู เมื่อได้เห็นดังนั้น ก็จำได้ว่า เทพพิทักษ์ทิศทั้ง ๔ นี้คืออสูรน้อยลูกศิษย์เรา แล้วเราก็เป็นผู้บอกวิธีที่จะทำให้เราตายได้อย่างไร เห็นทีเราจะเสียรู้เทพพิทักษ์ทิศทั้ง ๔ นี้เสียเป็นได้คิดดังนั้นแล้วอสุรินทรราหูก็รีบหุบปาก หดตัวเหาะหนีลงสู่บาดาลที่อยู่แห่งตนทันทีนับแต่แต่บัดนั้นมา เหล่าเทพเจ้าและมหาเทพทั้งหลายก็สถาปนาให้ท่านท้าวจาตุมหาราช เป็นเทพพิทักษ์สวรรค์และโลกในทิศทั้ง ๔ มีหน้าที่อภิบาลดูแลสวรรค์และโลกให้สงบสุขตลอดเวลา
 ***************************************************

















บทความท้ายเรื่อง
       มีผู้ถามว่า ทำไมเทวดาถึงขี้โกง ไม่แบ่งยาทิพย์ให้แก่พวกอสูร อันนี้ก็คงจะตอบลำบากซักหน่อยนะเพราะฉันมิใช่เทวดา แต่ถ้าจะให้ พวกเทวดาคงคิดว่า ถ้าขืนปล่อยให้พวกอสูรได้กินยาทิพย์คงจะยุ่งเป็นแน่ เพราะขนาดไม่ได้กินยาทิพย์ และเวลารบกันระหว่างอสูรกับเทวดา บ่อยครั้งที่เทวดาเป็นผู้พ่ายแพ้ เพราะสู้กำลังอำนาจของอสูรไม่ได้ เมื่อสู้ไม่ได้เทวดาก็ต้องหนีกลับเข้าประตูสวรรค์ เมื่อเข้าไปสู่ประตูสวรรค์แล้ว พวกอสูรก็จะไม่กล้าติดตามเข้าไป เพราะเกรงกลัวบารมีของเทพพิทักษ์ทั้ง ๔ หรืออีกนัยหนึ่ง สรวงสวรรค์และวิมานทั้งหลายนั้นเกิดด้วยบุญฤทธิ์ พวกอสูรเป็นผู้มิได้ทำบุญมาแต่เก่าก่อน หรือถ้าทำก็ทำบุญมาน้อย เลยไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของสวรรค์และวิมานทั้งหลาย เช่นเดียวกันตราบใดที่เหล่าเทวดารบชนะพวกอสูร ซึ่งส่วนใหญ่ก็รบด้วยอุบายปัญญา ถ้าจะลุ้นด้วยฝืมือแล้ว
       คงจะยาก เอาเป็นว่าเมื่อเทวดาฟลุ๊กรบชนะ พาไพร่พลรุกรบติดตามอสูรไปจนถึงประตูบาดาล อสูรหนีเข้าประตูบาดาลได้ เทวดาก็หมดสิทธิ์ติดตามต่อไป เหตุเพราะเมืองบาดาลเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความมือและอับชื้น หนึ่งวันจะเห็นแสงสว่างเพียงแค่สองชั่วยามเท่านั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะบุญกรรมของคนพาลทั้งหมดที่ได้สร้างสมเอาไว้ เมื่อตายไปหลังจากชดใช้กรรมหนักๆทั้งหลายบนโลกมนุษย์หมดสิ้นหรือเบาบางลงแล้วก็ไปเกิดในอัตภาพของอสูรหรือยักษ์มีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด ขาดปัญญา มีแต่พละกำลัง และจมปลักอยู่ในความโลก โกรธ หลง เช่นนั้นเพราะฉะนั้น พวกเทวดาก็เลยไม่กล้าที่จะเหยียบย่างกล้ำกรายเข้าไปในเขตของพวกอสูรด้วยประการฉะนี้












 ข้อมูลจาก วัดราหู จังหวัดนครปฐม บอกว่า

 เป็นบันทึกเก่าแก่เกี่ยวกับสุริยุปราคา เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1375 ปีก่อนคริสตกาล ถูกค้นพบที่เมืองยูกาสิต ในอาณาจักรโบราณ เมโสโปเตเมีย
     ตำนานความเชื่อที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติของมนุษย์หลายๆเชื้อชาติ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจาก”ความกลัว”สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาหลายวัฒนธรรมต่างแปลความคล้ายๆกัน ตำนานมักเล่าขานถึงสัตว์ร้ายในท้องฟ้ามาเขมือบกินดวงอาทิตย์เป็นอาหาร
     ชาวจีนเชื่อว่ามีมังกรยักษ์กลืนกินดวงอาทิตย์ ภาษาจีนกลาง คำว่า ชี่ คือ กลืนกิน ชาวกรีกและโรมัน ก็มีความเชื่อว่ามีงูยักษ์มากลืนกินเช่นกัน สัญลักษณ์หนึ่งที่ปรากฏแสดงตำแหน่งที่เกิด ปรากฏการณ์ก็ใช้อักษรกรีก โอเมกา
     แนวคิดเรื่องสัตว์ประหลาดกลืนกินดวงอาทิตย์ถูกตีความไปต่างๆนานา เช่น ในไซบีเรีย เชื่อว่าสัตว์ประหลาดที่กลืนกินดวงอาทิตย์และดวงจันทร์คือผีดิบ ในเซอร์เบียเชื่อว่าเป็นมนุษย์หมาป่า ในเวียดนามเชื่อว่าเป็นกบยักษ์ ส่วนปารากวัย และอาร์เจนตินา เชื่อว่าเป็นเสือจากัวร์ ในโบลิเวียเชื่อว่าเป็นสุนัขยักษ์ สำหรับตำนานความเชื่อที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุปราคาก็คือ ตำนานที่เกี่ยวกับยักษ์ราหูกลืนกินดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อันเป็นตำนานความเชื่อในแถบเอเชีย คือ อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นตำนานเล่าขานที่มีรากฐานมาจากมหากาพย์ มหาภารตะมหากาพย์เรื่องยิ่งใหญ่ของอินเดีย
cพระราหู ทรงเป็นพระนามในเทพเจ้าผู้มีศักดานุภาพศักดิ์สิทธิ์ยิ่งใหญ่ โด่งดังที่สุดในปัจจุบันนี้
     ประวัติความเป็นมาของพระราหู มีลักษณะพิเศษอยู่ 2 ประการ
     1. พระราหูในพระพุทธศาสนา
     2. พระราหู เทวกำเนิดของพระราหูในลัทธิไสยศาสตร์ของศาสนาพราหมณ์

     1. พระราหูในพระพุทธศาสนา ผู้ทรงพระนามว่า อสุรินทราหู ผู้จักมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตทรงพระนามว่า “พระนารทะสัมมาสัมพุทธเจ้า” ตามความในคัมภีร์อนาคตวงศ์ จัดพิมพ์เผยแพร่โดยมหามงกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปราชญ์ผู้รู้ในพระศาสนาโบราณจารย์ทั้งหลายมีติตรงกันหลายร้อยปีแล้วว่า พระราหูในศาสนาฮินดู พราหมณ์ เป็นพระราหูองค์เดียวกันกับ อสุรินทราหู ในพระพุทธศาสนา จะแตกกันเฉพาะประวัติความเป็นมาเท่านั้น ที่ทางศาสนาพราหมณ์แต่งเป็นเรื่องพิสดารพันลึกตามรูปแบบของแขกอินเดีย ซึ่งทางพระพุทธศาสนาจะไม่มีอย่างนั้นเลย พระพุทธศาสนาจะบอกแต่เพียงว่า พระสารีบุตรทูลถามพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ในกับน์อื่นจะมีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าอำนวยบทหรือพระเจ้าข้า
     พระบรมศาสดา ตรัสตอบว่า ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้เจริญเมื่อศาสนาของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ธรรมสารี ล่วงไปแล้ว เมื่อสารดับล่วงไปแล้ว กัปหนึ่งๆชื่อลักขกัป เกิดเป็นสุญญกัป เมื่อลักษะกัปหนึ่งล่วงไปแล้ว มัณฑกัปได้เกิดขึ้นแล้วในกัปนั้นมี พระพุทธเจ้า เสด็จ อุบัติ 2 พระองค์ คือ
     พระนารทะพุทธเจ้า 1
          พระรังสีมุนีพระพุทธเจ้า 1

     อสุรินทราหู จักเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “นารทะ” ก่อนพระพุทธเจ้ารังสีมุนี
     พระนารทะพุทธเจ้า ทรงมีพระวรกาย สูง 120 ศอก แสงสว่างจำนวนหนึ่งเป็นแสงสว่างพุทธรังสี ได้เป็น เช่น ดอกปทุมทีเดียวพระพุทธองค์ ทรงมีพระชนมายุ 1 หมื่นปี มีต้นไม้จันทร์เป็นไม้ตรัสรู้ รส 7 ประการ ได้เกิดขึ้นในสกลปฐะพีมหาชนทั้งปวงบริโภครสปฐพีเลี้ยงชีพ
     ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญ พระนารทะพระพุทธเจ้าได้ให้”ทาน”อะไรจึงได้มหาสมบัติเห็นปานนี้
     ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญ พระนารทะพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมี 10 ประการ มีพระบารมีข้อหนึ่งที่ปรากฏแก่กล้าจึงทรงได้มหาสมบัติเห็นปานนี้
     ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์(อดีตชาติของนารทะพุทธเจ้า)ได้เสด็จอุบัติเป็นพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า “สิริคุต”มีพระนคร ชื่อ นิรมลนคร พระองค์ทรงมีมหาเทวี ทรงพระนามว่า ลัมพุสสาเทวี พระราชาทรงมีพระโอรสและพระธิดา 2 พระองค์ พระโอรสทรงพระนามว่า นิโครธะกุมาร พระธิดา ทรงพระนามว่า โคตมี
     วันหนึ่ง พราหมณ์ 8 คน มาเฝ้าพระราชาสิริคุต ถวายสดุดี พระราชาด้วยเสียงกึกก้อง แล้วทูลขอพระนครนิรมลนคร พระราชาสิริคุตทรงโสมนัสปิติยินดี พระราชทานพระนครแก่พราหมณ์ 8 จากนั้นพระราชาทรงพาพระราชโอรส พระธิดา และพระเทวี เสด็จออกจากพระนครเข้าไปในป่าพนาสนต์ สร้างอาศรมบนพระธรรมิกบรรพต ทรงรักษาศีลทั้ง 4 พระองค์ อยู่ ณ อาศรมนั้น
     ในกาลนั้น มียักษ์ตนหนึ่ง มีร่างกายสูง 120 ศอก ออกจากป่ามาปรากฎในที่เฉพาะพระพักตร์ของ 4 พระองค์ ยักษ์ได้กล่าวว่า
     ข้าแต่มหาราชา ข้าพระองค์ เป็นยักษ์รักษาป่า ดื่มกินเลือด กินเนื้อยังชีพ วันนี้ข้าพระองค์กินช้าง 7 ตัว ม้า 14 ตัว เนื้อ 20 ตัว ไม่สามารถหักห้ามความหิวกระหายไว้ได้ ข้าแต่มหาราชบัดนี้ข้าพระองค์มาที่นี่เพื่อทูลขอพระโอรส และพระธิดา ทั้ง 2 พระองค์ ถ้าพระองค์ทรงขอพระราชทานพระโอรส และพระราชธิดาแก่ข้าพระองค์แล้วไซร้พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต ในกาลนั้นพระราชาสิริคุตทรงสดับถ้อยคำของยักษ์ตนนั้นแล้วได้ตรัสว่า
     ดูก่อนยักษ์ผู้มีหน้างาม ผู้เจริญ เราเลี้ยงพระโอรสพระธิดาทั้ง 2 ไว้เพื่อให้ทาน บัดนี้เจ้ามาที่นี่เพื่อขอกุมารทั้ง 2 นี้ เราจักให้พระโอรสพระธิดาทั้ง 2 แก่เจ้า
     ตรัสแล้วเสด็จลุกขึ้นจูงพระโอรส พระธิดา ไปทรงใช้พระหัตถ์ข้างขวาถือคนโทน้ำ ตรัสว่า
     ดูก่อนยักษ์ผู้เจริญ ท่านจงมาสู่สำนักเรา ตรัสแล้วทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกในการให้ทาน พระองค์ทรงชี้ที่ปฐพี(แผ่นดิน) และหมู่เทวดาให้เป็นพยานพระองค์ได้ตั้งความปรารถนาว่า
     ดูก่อนปฐพี และหมู่เทวดาผู้เจริญทั้งหลาย จงมาเป็นพยานให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด พระสัพพัญญุตญาณ เท่านั้น เป็นที่รักยิ่งของข้าพเจ้ายิ่งกว่าบุตรธิดาด้วยผลแห่งการให้บุตรธิดาอันเป็นที่รักนี้ เราไม่ต้องการจักรพรรดิ ไม่ต้องการสมบัติ ไม่ต้องการอินทรสมบัติ มารสมบัติก็ไม่ต้องการ พรหมสมบัติก็ไม่เอา ประเทศชาติราชบัลลังก์ ก็ไม่ต้องการ
     แต่เราต้องการสัพพัญญุตญาณสมบัติเท่านั้น ขอการให้บุตรและธิดานี้ จงเป็นปัจจัยแห่งสัพพัญญุตญาณเถิด
     เมื่อพระราชาสิริคุต ตั้งความปรารถนาสิ้นสุดลง พลันพื้นปฐพีได้สะท้านสะเทือนไหว มหาสมุทรสาครก็กระเพื่อมเป็นคลื่นยักษ์มโหฬาร กระฉอกกระฉาน ขุนเขาสิเนรุราชได้โน้มยอดลงสู่ธรรมิกบรรพต เปรียบประดุจดังยอดหวายอ่อนลงเพราะถูกลนด้วยไฟ พายุฝนก็ดังกระหึ่มกึกก้องให้ฝนตกกระหน่ำลงมา สายฟ้าไม่ใช่ฤดูกาลก็แลบแปลบปลาบสว่างไสวน่าสะพรึงกลัว
     ท้าวสักกะเทวราชทรงเป่าสังข์วิชยุตตระ ท้าวมหาพรหมทรงปรบพระหัตถ์ เทวดาทุกหมู่เหล่าพากันสาธุการกึกก้องกังวาน ล้วนเกิดอัศจรรย์เป็นอันมาก
     พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ปรากฎการณ์ มหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น พระอินทร์ พระพรหม ภุมมะเทวดา อากาศเทวดา รุกขเทวดา โสมเทวดา พระยม ท้าวเวสสุวัณ ได้พร้อมกันยกย่องพระราชาผู้ทรงคุณประเสริฐของนรชน
     ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญในกาลนั้น ยักษ์ได้พา 2 กุมาร พระโอรส พระธิดา ไปด้านหลังบรรณศาลา เอาฟันกัดคอ 2 กุมาร ดื่มดินเลือดเคี้ยวเนื้อกินอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตแล้วพระองค์ราชาสิริคุตทอดพระเนตรเห็นพระโอรส พระธิดา ถูกยักษ์เคี้ยวกินอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตแล้วพระองค์ไม่ทรงหวั่นไหวพระทัยเลย ทรงชมเชยการให้”ทาน”ของพระองค์ว่า
     ข้าแต่หมู่เทวดาผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริงหนอ ทานของเราประเสริฐแท้
     พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
     ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญด้วยผลแห่งการให้กุมารทั้ง 2 เป็นทานมหาชนทุกจำพวกจะบังเกิดความสวยงามแห่งรูปและด้วยผลที่ยักษ์ตนนั้นได้เคี้ยวกิน 2 กุมาร พระองค์ตรงพระพักตร์ พระราชาสิริคุต แสงสว่างแห่งพุทธรัศมีจะบังเกิดตลอกกาลเป็นนิตย์ ทั้งกลางวัน และกลางคืน
     ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญมหาชนทุกจำพวกไม่ได้บรรลุมรรคผลในศาสนาของตถาคต ไม่ได้บรรลุมรรคผลในศาสนาของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ
พระศรีอริยเมตไตรย
พระรามสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมราชสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมสามีสัมมาสัมพุทธเจ้า
     ในอนาคต ของท่านทั้งหลายจงตั้งวามปรารถนาบรรลุมรรคผลในศาสนาของ “อสุรินทราหู”ราชนารกะสัมมาสัมพุทธเจ้า เถิด

คัมภีร์อนาคตวงศ์
     เป็นคัมภีร์ว่าด้วยวงศ์ของพระพุทธเจ้าจะมีพระโพธิสัตว์มาตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต 10 พระองค์ คือ
  1. พระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า
  2. พระรามพุทธเจ้า
  3. พระธรรมราชาพุทธเจ้า
  4. พระธรรมสามีพุทธเจ้า
  5. พระนารทะพุทธเจ้า (อสุรินราหู)
  6. พระรังษีมุณีพุทธเจ้า
  7. พระเทวเทพพุทธเจ้า
  8. พระนรสีห์พุทธเจ้า
  9. พระติสสะพุทธเจ้า
  10. พระสุมังคละพุทธเจ้า
     พุทธดำรัส ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จันทิมสูตร
     พระผู้มีพระพระภาคเจ้าประทับ…กรุงสาวัตถี สมัยนั้นจันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นจันทิมเทวบุตรระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
     ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแต่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น
     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภจันทิมเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
     จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง ดูก่อนราหูท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์โลก
     ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยจันทิมเทวบุตรแล้ว เร่งรีบเข้าไปหาท้าวเวปจิตติจอมอสูร แล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
     ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้กล่าวกะอสุริทราหูด้วยคาถาว่า
     ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงเร่งรีบปล่อยพระจันทร์เสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่
     อสุรินทราหูกล่าวว่า
     ข้าพเจ้าถูกขับ ด้วยพระคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยจันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยงมีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้ความสุข

     อรรถกถาจันทิมสูตร
     พึงทราบวินิจฉัยในจันทิมสูตรที่ 9 ต่อไป
     บทว่า จนฺทิมา คือ เทพบุตรผู้สถิตอยู่ ณ จันทรวิมาน บทว่า สพฺพธิ ได้แก่ ในขันธ์อายตนะ เป็นต้นทั้งหมด บทว่า โลกานุกมฺปกา ได้แก่ เป็นผู้อนุเคราะห์ทั้งท่าน ทั้งจันทรเทพบุตร เช่นเดียวกัน บทว่า สนฺตรมาโน ได้แก่ ดุจรีบด่วน คำว่า ปมุญฺจสิ เป็นปัจจุบันกาลลงในอรรถอดีตกาล
     จบอรรถกถาจันทิมสูตรที่ 9
สุริยสูตร
     สมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นสุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
     ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น
     ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถา
     สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสงกระทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา
     ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว เร่งรีบเข้าไปหาท้าวเวปจิตติจอมอสูร แล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
     ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ด้วยคาถาว่า
     ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงเร่งรีบ ปล่อยพระสุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่
     อสุรินทราหู กล่าวว่า
     ข้าพเจ้าถูกขับ ด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศรีษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยงมีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข
จบสุริยสูตร
จบ วรรคที่ 1

อรรถกถาสุริยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุริยสูตรที่ 10 ต่อไป
     บทว่า สุริโย คือ เทวบุตร ผู้สถิตอยู่ ณ สุริยวิมาน บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่ ในการทำความมืดดุจตาบอด เพราะห้ามความเกิดแห่งจักษุวิญาณ บทว่า เวโรจโน แปลว่า ส่องแสง บทว่า มณฺฑลี ได้แก่มีสัณฐานกลม ด้วยบทว่า มา ราหุ คิลี จรมนิตลิกฺเข ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราหู ท่านอย่ากลืนสุริยะผู้โคจรไปในอากาศเลย ถามว่าก็ราหูนั้นกลืนสุริยะนั้นได้หรือ ตอบว่ากลืนได้สิ เพราะว่า ราหูมีอัตภาพใหญ่ ว่าด้วยส่วนสูง สูงถึง 4,800 โยชน์ ช่วงแขนยาว 1,200 โยชน์ ว่าด้วยส่วนหนา 600 โยชน์ ศีรษะ 900 โยชน์ หน้าผาก 300 โยชน์ ระหว่างคิ้ว 50 โยชน์ คิ้ว 200 โยชน์ ปาก 200 โยชน์ จมูก 300 โยชน์ ขอบปากลึก 300 โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าหนา 200 โยชน์ ข้อนิ้ว 15 โยชน์ ราหูนั้นแลเห็นจันทระและสุริยะ ส่องว่างอยู่ มีความริษยาเป็นปกติอยู่แล้ว ก็ลงสู่วิถีวงโคจรของจันทระและสุริยะนั้น ยืนอ้าปากอยู่ จันทรวิมานหรือสุริยวิมานก็เป็นประหนึ่งถูกใส่เข้าไปในมหานรก 300 โยชน์ เทวดาทั้งหลายที่สถิตอยู่ในวิมานถูกมรณภัยคุกคาม ก็ร้องเป็นอันเดียวกัน ราหูนั้น บางคราวก็เอามือบังวิมาน บางคราวก็ใส่ไว้ใต้คาง บางคราวก็เอาลิ้นเลีย บางคราวก็วางในกระพุ้งแก้มเหมือนกินทำแก้มตุ่ย แต่ราหูนั้น ไม่อาจชะลอความเร็วได้ คิดว่าเราจักฆ่าเสีย ก็ยืนอมทำแก้มตุ่ย หรือคิดว่าขมองของเทพบุตรนั้นจักแตกออกไป ราหูก็คร่าวิมานนั้น น้อมเข้ามา เพราะฉะนั้น เทพบุตรนั้น จึงไปพร้อมด้วยกันกับวิมาน บทว่า ปชํ มม ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรแม้ทั้งสองคือ จันทระและสุริยะ บรรลุโสดาปัตติผล ในวันที่ตรัสมหาสมยสูตร ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปชํ มม อธิบายว่า นั่นเป็นบุตรของเรา
จบอรรถกถาสุริยสูตรที่ 10
จบวรรคที่ 1

ตำนานอุปราคา
     “ในวันเดือนดับ เดือนแห่งฮิยาร์อาทิตย์อับอาย หายไปในกลางวัน อังคารเทพสงครามหาญข่มแสง”
     เป็นบันทึกเก่าแก่เกี่ยวกับสุริยุปราคา เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1375 ปีก่อนคริสตกาล ถูกค้นพบที่เมือง ยูการิต ในอาณาจักรโบราณเมโสโปเตเมีย
     ตำนานความเชื่อที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติของมนุษย์หลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความกลัว สำหรับปรากฎการณ์สุริยุปราคาหลายวัฒนธรรมต่างแปลความคล้ายๆกัน ตำนานมักเล่าขานถึงสัตว์ร้ายในท้องฟ้ามาเขมือบกินดวงอาทิตย์เป็นอาหาร
     ชาวจีนเชื่อว่ามีมังกรยักษ์กลืนกินดวงอาทิตย์ ภาษาจีนกลาง คำว่า ชี่ คือ กลืนกิน ชาวกรีกและโรมัน ก็มีความเชื่อว่ามีงูยักษ์มากลืนกินเช่นกัน สัญลักษณ์หนึ่งที่ปรากฎแสดงตำแหน่งที่เกิดปรากฎการณ์ก็ใช้อักษรกรีก โอเมกา
     แนวคิดเรื่องสัตว์ประหลาดกลืนกินดวงอาทิตย์ถูกตีความไปต่างๆนานา เช่น ในไซบีเรีย เชื่อว่าสัตว์ประหลาดที่กลืนกินดวงอาทิตย์และดวงจันทร์คือผีดิบ ในเซอร์เบียเชื่อว่าเป็นมนุษย์หมาป่า ในเวียดนามเชื่อว่าเป็นกบยักษ์ ส่วนปารากวัย และอาร์เจนตินา เชื่อว่าเป็นเสือจากัวร์ ในโบลิเวียเชื่อว่าเป็นสุนัขยักษ์
     สำหรับตำนานความเชื่อที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุปราคาก็คือ ตำนานที่เกี่ยวกับยักษ์ราหูกลืนกินดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อันเป็นตำนานความเชื่อในแถบเอเชีย คือ อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นตำนานเล่าขานที่มีรากฐานมาจากมหากาพย์ มหาภารตะมหากาพย์เรื่องยิ่งใหญ่ของอินเดีย
     ตำนานมีว่ายักษ์ราหูเกิดความอิจฉาความเป็นอมตะของเทวดา จึงแปลงกายเป็นนางสนมคอยรินน้ำอมฤตให้แก่เทวดาบนสรวงสวรรค์ ขณะที่เหล่าเทวดากำลังรื่นรมย์ ยักษ์ราหูก็ถือโอกาสกระดกน้ำอมฤตเข้าปากตนเองอย่างว่องไว แต่ก็ไม่พ้นสายตาของพระอาทิตย์กับพระจันทร์จึงนำความไปฟ้องพระวิษณุ พระองค์จึงใช้จักรของพระองค์ตัดคอยักษ์ราหูทันที แต่เนื่องจากยักษ์ราหูได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไปแล้ว ส่วนศรีษะจึงเป็นอมตะส่วนร่างกายที่เหลือเท่านั้นที่ตายไป
     ยักษ์ราหูโกรธแค้นพระอาทิตย์กับพระจันทร์เป็นอันมาก จึงพยายามไล่กัดกินพระอาทิตย์กับพระจันทร์อยู่ตลอดเวลา
     แต่เมื่อยักษ์ราหูจับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ได้ เมื่อมันกัดกินผ่านคอที่ถูกตัดดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ก็โผล่ออกมาอีก เป็นเช่นนี้ร่ำไป
     การไล่ล่าของอสูรราหูที่กระทำต่อพระอาทิตย์และพระจันทร์ จึงเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ราหูอมดวงอาทิตย์ คือ สุริยคราส ราหูอมจันทร์ คือ จันทรคราส ซึ่งคำว่า “คราส” ก็แปลว่า กิน นั่นเอง
     ส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม ในปี ค.ศ.569 ปีที่ชาวมุสลิมเรียกว่า ปีช้าง เพราะเป็นปีที่เกิดเหตุประหลาด คือขณะที่ชาวอะบิสซีเนียขี่ช้างโจมตีกองทัพ ฝูงนกได้ถ่ายมูลใส่ ทำให้เกิดโรคระบาดจนกองทัพต้องล่าถอยไป และเป็นปีที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง อีกครั้งหนึ่ง คือ วันที่ 22 มกราคม ค.ศ.632 เกิดสุริยุปราคาวงแหวนก็ให้บังเอิญตรงกับวันจบชีวิตของอิบราฮิม บุตรชายของมูฮัมหมัด และครั้งที่3 คือ 39 ปี หลังจากมูฮัมหมัดเสียชีวิต บุตรชายของเขาชื่อ มูอะไวยา เป็นผู้นำยึดอำนาจขับไล่อาลี บุตรเขยของเขา และตัดสินใจย้ายแท่นหินศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศาสนาตั้งอยู่ที่เมืองดามัสกัส ประเทศซีเรียในปัจจุบัน ครั้งนั้นเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงท้องฟ้ามืดสนิทลงทันที เหมือนเป็นสัญญาณแสดงความไม่พอใจ ด้วยเหตุนี้ทุกวันนี้แท่นหินบูชาในศาสนาอิสลามยังคงตั้งอยู่ที่เดิม

ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคราส
     จีนเป็นชาติที่เก่าแก่ชาติหนึ่งได้เขียนบรรยายเกี่ยวกับเรื่องคราสไว้ประมาณ 4000 ปีเศษมาแล้ว โดยมีหลักฐานอยู่ในหนังสือวรรณคดีซูจิงฉบับราชสำนัก ซึ่งได้กล่าวถึงสุริยุปราคาสรพพคราสครั้งสำคัญในยุคนั้น อันยังผลให้เกิดคราส ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ในชั้นหลังๆในพระราชสำนักกรุงจีนสมัยนั้น มีนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ชั้นเยี่ยมประจำราชสำนักอยู่สองท่าน คือท่านไหและท่านโห จะเป็นด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม ปราชญ์ทั้งสองท่านมิได้กราบทูลให้พระเจ้าจุ๊งคั้งทรงทราบไว้ก่อนว่า จะมีสุริยุปราคาสรรพคราสเกิดขึ้นบนท้องฟ้าของกรุงจีน เมื่อมีสุริยุปราคาสรรพคราสเกิดขึ้นโดยที่มิได้มีผู้ใดรู้มาก่อนเลยทั่วทั้งแผ่นดิน ตลอดจนองค์ของพระเจ้าจุ๊งคั้งเอง นอกจากสัตว์นานาชนิดจะตื่นเต้นตกใจต่อปรากฎการณ์อันนี้แล้ว พวกราษฎร พ่อค้า คหบดี ขุนนางใหญ่น้อยแม้กระทั่งพระเจ้าจุ๊งคั้งก็พากันเสียขวัญไปด้วยพิธีการต่างๆ ที่ได้เคยกระทำเกี่ยวกับการปรากฎการณ์เช่นนี้จึงทำไม่ทัน พระเจ้าจุ๊งคั้งทรงพิโรธมาก ถึงกับทรงรับสั่งให้ตัดศรีษะของท่านไหและท่านโห แล้วเอาศรีษะทั้งสองเสียบไม้ไว้ในเวลาเกิดคราสนั้นเอง การกระทำโดยเอาชีวิตมนุษย์ทำยัญพลีเส้นไหว้เทพดาแบบนี้เรียกว่าพิธี นรเมธ ยังผลให้คราสครั้งนี่กลายเป็นคราสประวัติศาสตร์ขึ้น สำหรับสุริยุปราคาสรรพคราสครั้งนี้ มีนักดาราศาสตร์คำนวณไว้ว่า เป็นคราสเกิดขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม 2137 ปีก่อนคริสตศักราช หรือประมาณ 1594 ปีก่อนพุทธกาล
     ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคราสที่สำคัญ และเป็นที่กล่าวขวัญกันอยู่ทั่วไปในสมัยกรีก มีชื่อว่า Eclipse of Thales (อีคลิปส์ ออฟ เทเลส)หรือคราสของเทเลส เทเลสเป็นชาวกรีก มีเชื้อสายโฟนิเซียน เกิดในตระกูลขุนนางในปี 640 ก่อนคริสตศักราช มีอายุ 94 ปี ได้ไปศึกษาวิชาความรู้มาจากพวกพระในอิยิปต์และได้ฝึกฝนตัวเองจนมีความเก่งกล้าสามารถในวิชาคำนวณ เฉพาะอย่างยิ่งในสาขายีออเมตตรี นอกจากนั้นยังเป็นนักปรัชญาและมีความรู้ดียิ่งเกี่ยวกับดาราศาสตร์และโหราศาสตร์นับเป็นเพชรสำคัญเม็ดหนึ่งของเพชรทั้งเจ็ดในสมัยนั้น เทเลสได้คำนวณและทำนายไว้ว่า จะเกิดสุริยุปราคาสรรพคราส ซึ่งจะนำผลดีมาให้แก่บ้านเมืองเป็นอันมาก ในระหว่างนั้นได้มีสงครามใหญ่เกิดขึ้นระหว่างพวก Lydians (ไลเตียนส์) และพวก Medes (เมเดส) การสงครามได้ดำเนินติดกันมาเป็นระยะ 5 ปี โดยผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะตลอดเวลา บางครั้งต้องำทการรบอย่างหนักติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลาหลายวัน ผู้คนต่างก็ล้มตายกันไปฝ่ายละไม่น้อย เมื่อการรบย่างเข้าปีที่ 6 ในตอนบ่ายวันหนึ่งได้เกิดสุริยุปราคาสรรพคราสขึ้นโดยที่ไม่มีใครรู้มาก่อน ทหารทั้งสองฝ่ายซึ่งกำลังทำการสู้รบกันได้หยุดชะงักลงทันที เพราะทหารตลอดจนแม่ทัพนายกองทั้งสองฝ่ายต่างพากันขวัญเสียไปตามๆกัน และความสงบก็ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้น คราสอาทิตย์ครั้งนี้มีผู้คำนวณไว้ว่าตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อนคริสตศักราช หรือประมาณ 42 ปีก่อนพุทธกาล เมื่อเหตุการณ์มากลับกลายจากหน้ามือเป็นหลังมือเช่นนี้ทำให้การทำนายของเทเลสเป็นที่เลื่องลือปรากฎมาตราบเท่าจนถึงทุกวันนี้ และสำหรับคราสครั้งนี้จึงมีชื่อในประวัติศาสตร์ว่า คราสของเทเลส
     นอกจากนี้ยังมีคราสที่เป็นประวัติศาสตร์อีกหลายครั้งหลายหนรวมทั้งคราสที่เกะาจานในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามตัวอน่างของคราสประวัติศาสตร์ที่อ้างมานี้แดสงให้เห็นว่าผลของคราสนั้นมีทั้งการให้คุณและการให็โทษ เพราะฉะนั้นเรื่องผลของคราสนี้ จึงต้องศึกษาเป็นพิเศษอีกเรื่องหนึ่งโดยที่ต้องหาข้อมูลและรวบรวมขึ้นใหม่ เพราะในตำราเดิมหวงแหนกันมาก และบอกผลไว้เพียงเป็นข้อคิดกว้างๆเท่านั้น
     สุริยุปราคา แตกต่างจากจันทรุปราคา อย่างไร?
     สุริยุปราคา เกิดในช่วงจันทร์ดับ(อมาวลี) ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์กันแสงอาทิตย์จนมืดมิด เกิดในเวลากลางวัน
     จันทรุปราคา เกิดในช่วงจันทร์เพ็ญ(ปูรณมี) ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก ทำให้ดวงจันทร์มืดมิดลง เกิดในเวลากลางวัน
     ปกติสุริยุปราคา เกิดมากกว่าจันทรุปราคาในอัตรา 3 ต่อ 2
ความสำคัญของคราสอาทิตย์
     เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปแล้วว่า คราสของดวงอาทิตย์จะต้องเกิดขึ้นในวันแรม 15 ค่ำหรือในวันอมาวลี คือดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จะอยู่ร่วมกัน เป็นจุดเดียวกัน ณ เส้นระวิมรรค โดยปกติในวันอมาวลีเราก็ไม่สามารถจะมองแลเห็นดวงจันทร์ได้อยู่แล้ว จึงเรียกว่าเป็นวันที่จันทร์ดับ ในทางโหราศาสตร์ถือว่าแสงสว่างจากดาวเคราะห์ต่างๆ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าตำแหน่งของดาวเคราะห์เหล่านั้น ฉะนั้นในวันอมาวลีถึงแม้จะไม่เกิดคราสขึ้นเลย ก็เป็นวันไม่ดีอยูแล้วในทรรศนะโหราศาสตร์
     ดวงอาทิตย์เป็นดาวที่มีแสงในตัวเอง ปกติดาวเคราะห์อะไรก็ตาม เมื่อโคจรเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์ เราจะมองไม่เห็นดาวเคราะห์นั้นเลย เพราะแสงอาทิตย์ย่อมแผ่คลุมดาวเคราะห์นั้นเสียสิ้น เช่นในกรณีของดวงจันทร์เป็นต้น แต่ในบางคาบบางครั้งในวันอมาวลี ดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นสว่างจ้าอยู่กลับมืดมัวไปได้ชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าคราสของอาทิตย์หรือ สุริยุปราคา ซึ่งหมายความว่าในขณะนั้นแม้แต่ดวงอาทิตย์ที่จัดว่าสว่างมากที่สุดยังมีโอกาสดับไปได้ชั่วขณะในเวลาคราสของดวงอาทิตย์ จึงอนุมานเอาว่าทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เกิดมาดับหมดทั้งสองดวงพร้อมกันพอดีฉะนั้นจึงถือว่าในเวลานั้นเป็นเวลาดับของดาวถึงสองดวง จึงเป็นการที่น่าจะมีอิทธิพลพิเศษอะไรอย่างมากสักประการหนึ่ง ถ้าดวงอาทิตย์ดับน้อยก็มีผลน้อย ถ้าดวงอาทิตย์ดับมากก็มีผลมาก และถ้าดวงอาทิตย์เกิดดับในเวลาประมาณเที่ยงวัน ซึ่งอยู่ ณ จุดศิโรพินทุ คือ จุดบนศีรษะของเราเข้าอีกด้วยก็ยิ่งมีอิทธิพลมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว อิทธิพลนี้จะให้ร้ายแก่ผู้ใดในสภาพอย่างไรต้องวิจารณ์ตามดวงชะตาของผู้นั้นเป็นรายๆไป และในบางกรณีอาจให้ผลดีแก่เจ้าชาตาก็ได้
     ในหลักการของโหราศาสตร์ถือว่า คราสของดวงอาทิตย์สำคัญและรุนแรงมากที่สุด และยังถือคราสของดวงอาทิตย์ที่เกิดอยู่ ณ ตำแหน่งใกล้กับราหู(โนดขึ้น)มีอิทธิพลมากกว่าคราสอาทิตย์ที่เกิด ณ ตำแหน่งใกล้เกตุ(โนดลง) การกเดิคราสของดวงอาทิตย์เขาพิจารณาจากจุดอมาวลีของอาทิตย์และจันทร์ซึ่งเกิดคราสนั้นเป็นหลัก ซึ่งขณะนั้นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะอยู่ ณ จุดเดียวกัน เมื่อรู้จุดนี้แล้วต้องพิจารณาว่า จุดคราสหรือจุดอมาวลีที่เป็นคราสนี้ไปถูกต้องกับดาวใดๆในชาตาบ้าง มีผลการทำนายร้ายหรือดีตามลักษณะของดวงแต่ละดวง ที่ถือว่าสำคัญที่สุดก็คือในเมื่อจุดคราสของอาทิตย์ทับลัคนา ทับอาทิตย์ หรือเล็งลัคนา เล็งอาทิตย์ในดวงชาตาเดิม การที่ถือเช่นนี้เพราะว่าจุดคราสอยู่ที่เส้นระวิมรรคเป็นของตายแล้ว ส่วนในดวงชาตาไม่ว่าจะเป็นของผู้ใด จุดลัคนาและตำแหน่งดวงอาทิตย์ก็จะอยู่ ณ เส้นระวิมรรคเป็นของตายตัวเช่นเดียวกันฉะนั้นจุดคราสนี้ถ้าทับลัคนาหรือทับอาทิตย์ในดวงชาตาเดิม ก็หมายความว่าจะทับและเล็งจุดนั้นจริงๆ จึงมีอิทธิพลกับเจ้าชาตามาก ส่วนในการที่จุดคราสทับหรือเล็งกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆในชาตา จะมีอิทธิพลมากหรือน้อยแล้วแต่ดาวเคราะห์นั้นๆ จะอยู่ใกล้เส้นระวิมรรคเพียงใด ฉะนั้นถ้าดาวเคราะห์ต่างๆ เช่น อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ ฯลฯ ในชาตาเดิมไม่ได้อยู่ที่เส้นระวิมรรคเลย แม้จุดคราสจะถูกตำแหน่งของดาวเหล่านี้ก็จะไม่มีผลในการทำนายมากนักการที่จะรู้ว่าดาวเคราะห์ต่างๆในดวงชาตาเดิมจะอยู่ ณ เส้นระวิมรรคหรือไม่นั้นเป็นของไม่ยากอะไร แต่ต้องขึ้นครูกันเสียก่อน เพราะเข้าตำราเส้นผมบังภูเขาเหมือนกัน

ความสำคัญของคราสจันทร์
     ในการเกิดคราสของดวงจันทร์ ซึ่งจะต้องเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันเพ็ญดวงจันทร์ซึ่งกำลังสว่างอยู่จะมืดมัวไปชั่วขณะหนึ่ง จะเห็นได้ว่าขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังเล็งกับดวงจันทร์ การเกิดคราสจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่ได้ดับด้วย โดยปกติทางโหราศาสตร์ถือว่า จันทร์เพ็ญเป็นจันทร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด และมักให้คุณมากกว่าให้โทษ ในกรณีของคราสจันทร์จึงให้โทษมากกว่าให้คุณ ในการพิจารณาคราสจันทร์ จะต้องรู้จุดปูรณมีของดวงจันทร์ที่เกิดคราสว่า ในขณะนั้นจุดคราสของจันทร์นี้จะตกต้องร่วมหรือเล็งกับดาวอะไรในดวงชาตาบ้างโดยใช้หลักการเช่นเดียวกันกับคราสของอาทิตย์ แต่ในกรณีของคราสจันทร์มักไม่รุนแรงเท่ากับคราสของอาทิตย์ และส่วนมากพากันเชื่อถือว่าคราสจันทร์ซึ่งดวงจันทร์เพ็ญอยู่ใกล้กับเกตุ(โนดลง) จะมีเหตุการณ์รุนแรงกว่าคราสจันทร์ซึ่งดวงจันทร์เพ็ญอยู่ใกล้กับราหู(โนดขึ้น) อย่างไรก็ตามเมื่อเราทราบดวงชาตาของเราแล้ว เราควรตรวจสอบจากผู้ที่มีความรู้ดูว่า เฉพาะใดวงชาตาของเราเอง คราสอะไร คราสตรงไหนจึงจะมีความสำคัญที่สุด

สุริยุปราคาเต็มดวง 5 ครั้งในไทยที่สำคัญ
     ในช่วงเวลา 127 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2411-2538 ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยที่สำคัญ มีอยู่ 5 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อ พ.ศ.2411 พ.ศ.2418 พ.ศ.2472 พ.ศ.2498 พ.ศ.2538
     สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2411 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกซึ่งปรากฎหลักฐานการสังเกตในประเทศไทย พระองค์ทรงคำนวณตำแหน่งปรากฎที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 สุริยุปราคาจับคราสเต็มดวงนานถึง 6 นาที 45 วินาที
     คราสครั้งนี้มีคณะดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส และคณะของเซอร์แฮรี่ เซ็นต์ยอชอร์ตผู้ว่าราชการสิงคโปร์ เดินทางเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ ณ บริเวณหว้ากอด้วยเช่นกัน
     ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 วันนั้นท้องฟ้ามีเมฆหนาทึบ ผู้สังเกตไม่สามารถเห็นสัมผัสแรกของสุริยุปราคาได้ เมฆมาจางหายไปตอนที่พระอาทิตย์ถูกบังไปบ้างแล้ว และท้องฟ้าเริ่มดีขึ้น ทำให้เป็นปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงชัดเจน จากนั้นเมฆก็มาปกคลุมอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ไม่เห็นสัมผัสสุดท้ายก่อนที่ดวงอาทิตย์จะสว่างเต็มดวง เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจแก่คนทั่วไปเป็นอันมาก
     1.สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สุริยุปราคาของโลกทีเดียว เพราะนับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องสเปกโตรสโคป ศึกษาโคโรนาจากดวงอาทิตย์ และทำให้ค้นพบธาตุฮีเลียม ขณะเดียวกันความพิเศษของสุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ก็คือ มีพวยแก๊สขนาดใหญ่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์เห็นชัดเจน เป็นพวยแก๊สใหญ่ที่ถูกขนานนามว่า The Great Horn หรือเขาสัตว์ใหญ่นั่นเอง สำหรับพสกนิกรชาวไทย คราสครั้งนี้ได้แสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์นักดาราศาสตร์ไทยพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอีกด้วย และทางรัฐบาลได้จัดสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ขึ้น ณ ตำบลหว้ากอ เพื่อรำลึกถึงพระปรีชาสามารถในวงการดาราศาสตร์ของพระองค์ท่านด้วย
     2.สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ.2418 ปรากฏขึ้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2418 ในรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พาดผ่านบริเวณแหลมเจ้าลาย      จังหวัดเพชรบุรี เวลาจับคราสนาน 4.7 นาที
     ในครั้งนี้ไทยได้ต้อนรับคณะนักดาราศาสตร์จากอังกฤษ ที่เดินทางมาสร้างหอสังเกตการณ์สุริยุปราคา
     สุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้จากการสืบค้นเอกสารโบราณยังไม่พบข้อมูลหรือภาพถ่ายมากเท่ากับสุริยุปราคาเต็มดวงสมัยรัชกาลที่ 4 แต่จากเอกสารบางชิ้นระบุว่า ผู้ที่ได้เคยเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2411 แล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับสุริยุปราคา พ.ศ. 2418 ลงความเห็นพ้องกันว่าสุริยุปราคา พ.ศ. 2411 มืดมัวกว่ามาก เมื่อเกิดสุริยุปราคา พ.ศ. 2418 เวลาคราสจับเต็มดวง เห็นดาวไม่ถึง 4 ดวง สภาพท้องฟ้าปกคลุมด้วยหมอก ไม่มีเมฆ ทำให้เห็นแสงโคโรนาสว่างชัดดีกว่าครั้งก่อน สว่างเท่าๆกับพระจันทร์วันเพ็ญเป็นที่น่าเสียดายที่เรายังไม่สามารถหาภาพถ่ายสุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2418 พบ พบเพียงภาพวาดลายเส้น แสดงโคโรนา ของเจ้าชายทอง หรือเจ้าชายกองทองก้อนใหญ่ เท่านั้น ซึ่งกลายเป็นรูปประวัติศาสตร์ ที่บรรดานักดาราศาสตร์ต่างนำไปศึกษาเรื่องของรูปแบบของโคโรนาได้เป็นอย่างดี
     3.สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2472 ห่างจากการเกิดสุริยุปราคาครั้งที่แล้วอีก 54 ปี สุริยุปราคาเต็มดวงก็มาปรากฎให้เห็นเหนือฟ้าไทยอีกครั้งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 แนวทางคราสผ่านทางใต้ของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพร้อมด้วยพระราชินีไปทอดพระเนตรปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
     จากการสืบค้นเอกสารจากกองจดหมายเหตุแห่งชาติ พบภาพถ่ายเกี่ยวกับเหตุการณ์การเดินทางของคณะนักดาราศาสตร์จากเยอรมนี จากเมืองคีล มาจนถึงต.โคกโพธิ์และพระราชกรณียกิจในการเสด็จทอดพระเนตรปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ค่อนข้างสมบูรณ์
     สุริยุปราคาเกิดขึ้นเวลาประมาณ 12.30 น. ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าบังดวงอาทิตย์และบังมิดในเวลา 14.43 น. จับคราสอยู่นาน 5 นาที
     มีการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือทดลองทุกขั้นตอนทำให้ได้เห็นความอุตสาหพยายามของเหล่านักดาราศาสตร์ในยุคก่อน พ.ศ. 2473 ที่ยอมลงทุนเคลื่อนย้ายอุปกรณ์รอนแรมมาทางทะเล มาปักหลักสังเกตการณ์เพียงชั่วไม่กี่นาที อุปกรณ์ที่นำมานั้นมีขนาดใหญ่โตมโหฬารมาก เหมือนมาตั้งหอสังเกตการณ์อย่างถาวรกันทีเดียว
     สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ อาจเป็นครั้งท้ายๆที่เราจะได้เห็นการแบกดครื่องมือหลายร้อยตันรอนแรมข้ามน้ำข้ามทะเลไปสังเกตตามที่ห่างไกล เพราะหลังจาก พ.ศ. 2473 เป็นต้นมา ได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้โดยไม่ต้องรอให้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงอีกต่อไป
     4.สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2498 พาดผ่านประเทศไทยหลายจังหวัดบริเวณภาคกลางในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2498 จากการรวบรวมข่าวหนังสือพิมพ์ในช่วงเวลาดังกล่าว พบว่า ไม่มีคณะนักดาราศาสตร์ยกทีมและอุปกรณ์ใหญ่ๆเหมือนในอดีต มีเพียงคณะนักศึกษาและคณะของศาสตราจารย์ชาลส์ เอช.สไมลี แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกามีการตั้งคณะสังเกตการณ์อย่างเป็นทางการที่พระราชวังบางประอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
     สุริยุปราคาเต็มดวง วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2498 คราสจับนานถึง 6 นาที 44 วินาที เห็นได้ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี อยุธยา ปทุมธานี นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปราจีนบุรี กรุงเทพฯ ธนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี นับเป็นคราสที่ประชาชนไทยมีโอกาสเห็นกันมากที่สุดและนานที่สุดอีกด้วย
     5.สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2538 ห่างจากสุริยุปราคาครั้งที่แล้วเป็นเวลา 40 ปี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เวลา 10.42-10.56 น. เริ่มต้นที่อิหร่าน ผ่านมายังอัฟกานิสถาน อินเดีย(คราสเฉียดผ่านทัชมาฮาล)บังกลาเทศ พม่า ไทย กัมพูชา(คราสผ่านนครวัต)เวียตนาม และตกทะเลไป สิ้นุดที่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ในไทยเห็นได้ในเวลาประมาณ 10-11 น. โดยพื้นที่ที่มีโอกาสเห็นอยู่ในแถบแคบๆ ไม่เกิน 72 กม. จุดแรกตั้งต้นที่บริเวณ อ.แม่สอด จ.ตาก เงาดำของคราสได้พาดผ่านต่อไปที่ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร อ.บรรพตพิสัย อ.ท่าตะโก อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ปักธงชัย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ออก จ.บุรีรัมย์ ไปสิ้นสุดที่แห่งสุดท้าย อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ก่อนเข้าประเทศกัมพูชา เงามืดของดวงจันทร์ใช้เวลาเดินทางผ่านประเทศไทยทั้งสิ้น 15-16 นาที ระยะทางประมาณ 600 กม.

ห้ายุคใหญ่ ของสุริยุปราคาในไทย
     อาจารย์จรัล พิกุล หนึ่งในปรมาจารย์ทางโหราศาสตร์ยูเรเนียนเมืองไทยได้จัดยุคใหญ่ของสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งสำคัญในไทยไว้ 5 ยุค ดังนี้
     1.ยุคสยามเก่า คือสุริยุปราคาเต็มดวง ที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ 18 สิงหาคม 2411 ในรัชกาลที่ 4
     2.ยุคสยามใหม่ คือสุริยุปราคาเต็มดวง ที่แหลมเจ้าลาย จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2418 ในรัชกาลที่ 5 โหรบันทึกไว้ว่า “มีสูรย์จับสิ้นดวงนกกากลับคืนรัง แลเห็นดวงดาวหลายดวง” เริ่มต้นยุคสยามใหม่มีการปูพื้นฐานในการจะก้าวขึ้นสู่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยการสร้างสรรค์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การแพทย์ การคมนาคม การศึกษา ฯลฯ(มีการเลิกทาส)
     3.เริ่มยุคใหม่ คือสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ ต.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2472 ในรัชกาลที่ 7 ครั้งนั้นเป็นเงามืดวิ่งตัดบั้นท้ายเมืองไทยที่กรุงเทพฯเห็นสุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งต่อมาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมืองไทยก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยยุคแรก มีการพลิกผันด้านการเมือง และความไม่สงบเกิดขึ้นด้วย
     4.ยุคบ้านนอกเข้ากรุง หรือยุค เมืองไทยยุคใหม่ คือสุริยุปราคาเต็มดวงที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา และอีกหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพฯเงามืดตัดผ่านกลางเมืองไทย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2498 ในรัชกาลที่ 9 เป็นยุคที่เมืองไทยเข้าสู่การวิ่งไล่วัตถุนิยมตะวันตก
     5.ยุคใหม่จริงๆ คือสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เป็นเงาดำพาดสะพายแล่งผ่านเมืองไทยตั้งแต่ อ.แม่สอด เรื่อยไป ผ่านหลายจังหวัด สิ้นสุดที่ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 ในรัชกาลที่ 9 ดวงคราสครั้งนี้ จุดคราสมีราหู จันทร์ อาทิตย์ และดาวโพไซดอนอยู่ในจุดเดียวกัน เล็งดวงเมือง(ดวงวันตั้งเสาหลักเมือง)พอดี จะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยอิทธิพลของสุริยุปราคาเต็มดวงที่เป็นเงาดำพาดสะพายแล่งผ่านเมืองไทย ไทยจะเข้าสู่ยุคใหม่เต็มตัว เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในภูมิภาคเอเชี่ยนได้แก่ประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน อินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม เป็นจุดที่กำลังแรงมากโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ อาจจะมีการร่วมมือกันเพื่อความแข็งแกร่งของภูมิภาคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดาจะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ซึ่งเห็นผลในช่วง 10-20 ปี(2538-2548,2549-2558)ต้องจับตาดูกันต่อไป ในเรื่องผู้ก่อการร้าย อุบัติเหตุร้ายแรง แผ่นดินไหว อุทกภัย พายุใหญ่ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เช่นซึนามิ สังหารหมู่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ลักษณะคราสชนิดนี้ไม่เคยปรากฎเป็นหลักฐานให้ได้ตีความเปรียบเทียบได้เลย แต่ปรากฎในปี 2538 เป็นต้นมาก็มีเรื่องรุนแรงเกิดขึ้นคือ การกลับมาของกาฬโรค การระบาดของไวรัสอีโบล่า มีโรควัวบ้า มีพายุซัด น้ำทะลัก แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม สงครามปราบปรามผู้ก่อการร้าย ฯลฯ ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 20-25 ของทุกเดือน จะได้รับผลมากน้อยไม่เท่ากัน บางคนเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชะตาโดยรวมของแต่ละบุคคลว่าใครจะโชคดีหรือไม่?

ผลของสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538
     ในช่วง 75 ปี นับแต่ พ.ศ.2539 ไป โลกภายหลังคราสนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย อเมริกาจะเป็นตัวแปรสำคัญ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมของโลก มนุษย์ในโลกจะทำลายล้าง และทำร้ายกันรุนแรงมากขึ้นอุบัติเหตุร้ายแรงยังคงเกิดขึ้นตลอดเวลา อาจมีความรุนแรงอย่างเฉียบพลันในส่วนต่างๆของโลก โดยเฉพาะในซีกโลกทางใต้ ตลอดจนภาคใต้ของประเทศต่างๆ เหตุการณ์ต่างๆ ปรากฏ ให้เห็นภายหลังคราส 15 วัน,15 เดือน หรือ 15 ปี ตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่ 76(พ.ศ.2613)
ท่านนิด รวบรวมเรียบเรียงช่วยเพิ่มเติมข้อมู
  

กุมารทองเทพพุทธนิมิตร คือ? (อินทรีย์เมฆาเรียบเรียง)

  กุมารทองเทพ พุทธนิมิตร 






เกิดขึ้นจากการจัดสร้างของ ท่านพระคุณเจ้า พระปลัดจิรเดช นาถกโร หรือ หลวงพี่ต้อม 

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขจัดปัดเป่าคุณไสยมนต์ดำต่างๆให้หมดไปที่มีอยู่ทั่วแผ่นดินไทย

หลวงพี่ต้อม ท่านเป็นพระเกจิผู้ถือสันโดษ ฉันแต่มังสวิรัต ละเนื้อสัตว์ทั้งสิ้น ตลอดชีวิตของท่าน

 โดยท่านนั้น เป็นผู้สืบสายวิชาด้านญาณองค์เทพ สามารถอัญเชิญญาณบารมีแห่ง 

พระโพธิสัตว์กวนอิม และ พระฤาษีตาไฟ ลงมากระทำพิธีมงคลต่างๆเพื่อปัดเป่าความชั่วร้าย

ให้หมดไปได้อีกด้วย

  
   ปัจจุบัน ท่านจำพรรษาอยู่ที่ วัดพระโพธิสัตว์ธรรม ตำบล ตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอ บันนังสตา 

จังหวัด ยะลา 

ท่านยังเป็นที่เคารพนับถือศรัทธา ในความศักสิทธิ์เข็มขลังมากของบรรดา ศาสนิกชน 

โดยเฉพาะ ทหาร ตำรวจ จำนวนมาก ที่ท่านเคยปลุกเสกวัถตุมงคล จนเป็นที่ประจักษ์

สามารถช่วยเหลือ ทหาร ตำรวจ ได้รอดพ้นจากอันตรายมาเป็นนักต่อนัก 

จนเรียกได้ว่า ชาวยะลา และจังหวัดใกล้เคียงต่างก็ยกย่องท่านเป็น พระเกจิรูปสำคัญของจังหวัดเลยทีเดียว

   กุมารทองเทพ พุทธนิมิตร เป็น กุมารทองเทพชั้นสูง เพราะกำเนิดขึ้นด้วยญาณเทพ ประสิทธิ์

รูปเป็นเด็กชาย นั้งขัดสมาธิ ในมือทั้งสองถือถุงเงินมหาสมบัติ มีคุณวิเศษ ไม่ให้โทษแก่ผู้เลี้ยง

เพราะเลี้ยงด้วยกำลังบุญของผู้เลี้ยง เป็นหลัก ไม่เ้น้นเครื่องเซ่นไหว้ เท่าไหร่นัก 

เพราะฉะนั้น ผู้เลี้ยงจึงจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติดี ชอบทำบุญมากๆ และต้องพยายามระงับกิเลส

และที่สำคัญ มวลสารที่นำมาปลุกเสกนั้น ล้วนเป็นมงคล ปราศจากของอาถรรพ์อัปมงคล ไร้มนต์ดำสกปรก

เนื่องจากได้รับการปลุกเสกจากมวลสารศักสิทธิ์ ที่เต็มไปด้วยพุทธคุณแห่งสิริมงคลอย่างครบถ้วน

    กุมารทองเทพ พุทธนิมิตร จัดสร้างขึ้นด้วยมวลสาร   ดังนี้ 


 -1 ผงพระเครื่อง สมเด็จโต วัดระฆังแท้ ที่ชำรุด 

 -2 พระผง หลวงปู่ทวด วัดนาประดู่

 -3 พระผง หลวงปู่ทวด แท้ วัดช้างให้ 

 -4 พระผง หลวงปู่ทวด วัดทรายขาว 

 -5 ผงเกสรดอกไม้มงคล 108 จากเทือกเขาสันกาลาคีรี 

 -6 ผงไม้ขนุนตายพราย มีพุทธาณุภาพ หนุนด้านการงานเจริณก้าวหน้าดี ดังคำบอกเล่ามาแต่โบราณ 

 -7 ผงคดหอย ที่กลายเป็นหิน กว่าพันปี มีพุทธคุณครอบจักรวาล และหายากยิ่งนัก 

 -8 เหล็กไหลเพลิง ธาตุวิเศษกายสิทธ์ อยู่ในตระกลู เหล็กไหล ที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน 

 -9 ธาตุเหล็กไหลเพลิง เชื่อกันมาแต่โบราณว่า ถ้านำมาเป็นมวลสารในการปลุกเสกวัตถุม

มงคลใดๆก็ตาม จะเกิดอนุภาพด้าน คงกระพัน รอดปลอดภัย จากนานาอันตราย

 -10 ผงอิทธิเจ ถ้ำ้วัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งในตำนาน เคยเป็นที่บำเพ็ญเพียรของ 

 หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร อีกด้วย 

 -11 พระผง สมเด็จ วังหน้า กรุวัดพระแก้ว ที่ สมเด็จฯโต เคยทรงปลุกเสก 

 -12 ไม้กาฝาก 108 ที่มีพลังด้านโชคลาภ เงินทอง 

 -13 หินทรายเงิน แร่มงคลที่เรียกว่า ดินสินใต้น้ำ เมื่อกลั่นออกมาจะมีสีขาว เรียกว่า แร่ทราย

เงิน ส่งผลในเรื่องของ มีกินมีใช้ไม่ขัดสน มั่นคง

 -14 ดิน ถ้ำมืดลึกลับ ในวัดถ้ำคูหาภิมุข จังหวัดยะลา ที่ตามตำนานกล่าวว่า พวกเทวดา

คนธรรพ์ เคยอธิฐานจิตรักษาเอาไว้ 

   ทั้งหมดนี้ จะสังเกตุได้ว่า มวลสารต่างๆล้วนเป็นมวลสารมงคล ครบถ้วนเต็มตามตำราการจัด

สร้าง พระผง หลวงปู่ทวดรุ่นแรก ทุกประการอีกด้วย 


 มวลสารต่างๆเหล่านี้ได้ผ่านการปลุกเสกมาแล้วหลายครั้ง ตามฤกษ์มงคลทุกครั้ง 

โดยผู้ปลุกเสกหลายท่าน อาทิ 

 -1 หลวงพ่อผล วัดอินทราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

 -2 หลวงพ่อหอม สำนักสงฆ์ หลวงพ่ออุตมะ 

และยังเข้าพิธีใหญ่ ในวัน จันทร์เพ็ญ เดือน 12 เรียก จันทร์ซ้อนจันทร์ มหัทธโนฤกษ์ 
( ฤกษ์เศรษฐี )

โดยมี หลวงพ่อเปลี่ยน วัดคลองทรายเหนือ เป็นประธานจุดเทียนชัย และร่วมปลุกเสกพร้อม

ด้วยพระเกจิอีกมากหลายท่านด้วยกัน 


 กุมารทองเทพ นั้น เป็นกุมารที่หายาก เพราะจัดสร้างได้ยาก จำเป็นที่จะต้องรอบรู้การมงคล

ทุกประการ ตั้งแต่ ฤกษ์ยามในการหามวลสาร ตลอดจนชนิดของมวลสารมงคล ที่จะต้องไม่มี

อาถรรพ์ด้านไม่ดีเจือปน มาจนถึง บุคคลที่จะกระทำการปลุกเสก จะต้องมีศีลจึงเป็นผู้บริสุทธ์ 

และมีวิชาอาคม

รอบรู้ด้านเทพเทวดาเป็นพิเศษ อาทิเช่น 

-พระเกจิอาจารย์ ผู้มีวิชาอาคม คาถาอันเกี่ยวเนื่องกับเทวดา 

- ร่างทรง เพราะเป็นผู้สามารถอัญเชิญญาณบารมีแห่งทวยเทพได้เร็วที่สุด 

- พราหมณ์ เป็นผู้รู้วิถีแห่งฤกษ์ยามที่ถูกต้อง เข้าใจธรรมเนียมการจัดวางเครื่องบูชาเทพ

- ผู้สำเร็จ ทิพพ์จุกขุญาณ ( มีตาที่สาม ) เพราะสามารถสื่อสารติดต่อกับเทวดาได้ถูกต้องที่สุด 

- สถานที่ประกอบพิธี ต้องเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาเท่านั้น เพราะถือว่าบริสุทธิ์ที่สุด

หากมีท่านเหล่านี้ ท่านใดท่านหนึ่ง หรือครบทุกองค์ประกอบ ย่อมเป็น กุมารทองชั้นเทพ

ได้อย่างถูกต้อง เต็มรูปแบบ ส่งผลทำให้บังเกิดฤทธิ์อาณุภาพของกุมารทองเทพ ที่เห็นผลไว

ดังคำอธิฐาน หากคำขอนั้นไม่ผิดศีล 










วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ร่วมรับ พระทันตธาตุ จากราชอาณาจักรภูฏาน

เมื่อวันที่ 3 และ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2554


ผู้แทนองค์กร โครงการสดุดีเจ้าฟ้า เพื่อเทิดพระเกียรติ
เดินทางไปยัง มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เขตพระนคร
เพื่อร่วมงาน พิธีรับและอัญเชิญพระทันตธาตุ

จาก ราชอาณาจักรภูฏาน 
โดย 


สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมีฯ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้


องคมนตรี แห่งราชสำนักภูฏาน เป็นผู้แทนพระองค์
อัญเชิญพระทันตธาตุ มาเยือนราชอาณาจักรไทย
พร้อมด้วย 
สมเด็จพระสังฆราช แห่งภูฏาน
โดยเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่าง ราชอาณาจักรไทย กับ ราชอาณาจักรภูฏาน
และเพื่อร่วมกันเฉลิมฉลอง เนื่องในพระราชวโรกาส 


พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา แห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ฯ
















วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

"เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ "เพชรน้ำงาม สี่แผ่นดิน""(อินทรีย์เมฆารวบรวม)






"เพชรน้ำงาม สี่แผ่นดิน" 1

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ( เครือแก้ว อภัยวงศ์ , บุนนาค )
มีพระประสูติกาล
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
พระราชธิดา เพียงหนึ่งเดียวใน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว พระมหาธีราชเจ้า รัชกาลที่ 6
ณ พระที่นั่ง เทพสถานพิลาส ในพระบรมมหาราชวัง
ของวันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2468
พร้อมกันนี้
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงพระญาติวงศ์ มีสายพระโลหิตในชั้นที่ 3 ของ
พระบาทสมเด็จพระ นโรดม สีหนุ ผู้เป็น สมเด็จพระบรมราชบิดา ของ
พระบาทสมเด็จพระ นโรดม สีหมุนี
พระเจ้าแผ่นดิน องค์ปัจจุบัน แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ราชวงศ์ นโรดม ด้วย

เมื่อครั้งก่อนที่ พระนางเจ้าสุวัทนาฯ จะมีพระสูติกาลนั้น
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ 6
ทรงพระราชนิพนธ์ บทกล่อมบรรทม สำหรับพระราชพิธีสมโภชเดือน ขึ้นพระอู่ ด้วยทรงปลื้มปิติโสมนัสเป็นล้นพ้น ความว่า
พระเอยพระหน่อนาถ
งามพิลาสดั่งดวงมณีใส
พระเสด็จจากฟากฟ้าสุราลัย
มาเพื่อให้ฝูงชนกมลปรีดิ์
ดอกเอยดอกจัมปาหอมชื่นจิตติดนาสา
ยิ่งดมยิ่งพาให้ดมเอยฯ
หอมพระเดชทรงยศโอรสราชแผ่เผยผงาดในแดนไกล
พึ่งเดชพระหน่อไทเป็นสุขสมใจไม่วางวายฯ
รูปละม้ายคล้ายพระบิตุราชผิวผุดผาดเพียงชนนีศรี
ขอพระจงทรงคุณวิบุลย์ทวี
เพื่อเป็นที่ร่มเกล้าข้าเฝ้าเทอญฯ
ดอกเอยดอกพุทธิชาตหอมเย็นใจใสสะอาด
หอมบมิขาดสุคนธ์เอยฯ
หอมพระคุณการุณเป็นประถมเย็นเกล้าเหมือนร่มโพธิ์ทอง
เหล่าข้าทูลละอองภักดีสนองพระคุณไทฯ

ในขณะเดียวกัน
ได้มีการตั้งพระนามเพื่อทูลเกล้าฯทรงนำไปพระราชทานแก่พระราชกุมารที่จะสูติ ด้วยกัน 3 พระนาม คือ

" สมเด็จเจ้าฟ้า"เพชรรัตนราชอรสา" สิริโสภาพัณณวดี

สมเด็จเจ้าฟ้า"เพชรรัตนจุฬิน" สิริโสภิณพัณณวดี

สมเด็จเจ้าฟ้า"เพชรรัตนราชสุดา" สิริโสภาพัณณวดี











"เพชรน้ำงาม สี่แผ่นดิน" 2

ครั้นเมื่อถึงเวลาประสูตกาล
ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่
สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า ล้นเกล้า รัชกาลที่ 6
ทรงพระประชวรอยู่หนักมาก
ในเวลาบ่าย
ของวันที่ 24 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2468 นั้นเอง
เจ้าพระยา รามรฆาพ
หรือ
หม่อมหลวง เฟื้อ พึ่งบุญ
ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท
กราบถวายบังคมทูลว่า
พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ทรงมีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
ล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงพระบรรมทมด้วยอาการประชวรอยู่นั้น
ก็ทรงมีพระราชดำรัสว่า
ก็ดีเหมือนกัน
ต่อมา ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2468
เจ้าพระยารามราฆพ จึงเชิญเสด็จพระราชธิดาพระองค์น้อย
เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถ รัชกาลที่ 6
เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นพระราชธิดา
จึงทรงพยายาม ยกพระหัตถ์ขึ้น สัมผัสพระราชธิดาองค์น้อย แต่ก็มิสามารถกระทำได้ ด้วยพระวรกายอ่อนแรงนัก
เจ้าพระยาราฆพ จึงอัญเชิญพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา
คราวเมื่อ เจ้าพระยารามราฆพ จะอัญเชิญ พระราชธิดา เสด็จกลับ
ล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 ผู้พระราชบิดา
ทรงพยายามโบกพระหัตถ์แห่งพระองค์ ด้วยประสงค์จะทอดพระเนตรพระราชธิดาผู้เป็นที่รักยิ่ง อีกครั้ง เป็นครั้งที่ 2 และ ครั้งสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ
ซึ่งกลางดึกในคืนวันนั้นเอง
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ก็เสด็จ สวรรคต คืนสู่ สุขาวดีพิมานชั้นฟ้า
เป็นที่น่าเศล้าสลดยิ่ง
พระราชธิดาพระองค์นั้น ก็มิได้แม้แต่จะมีโอกาส สวมกอดพระผู้เป็นพระราชบิดา อีกเลย


การพระศพ 1

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึง
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 
พระราชธิดาพระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ผู้เป็น สมเด็จพระบรมปิตุลาธิราช (สมเด็จพระเจ้าลุงของในหลวง) ว่า
ทรงเป็น กุลเชษฐ์ แห่งพระบรมราชวงศ์ ทรงเป็นที่เคารพนับถือในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจที่เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง นานัปการ
เมื่อ สิ้นพระชนม์ ในวันพุธที่ 27 กรกฎาคม พุทธศักราช 2554
เป็นเหตุให้ ทรงเศร้า สลดพระราชหฤทัย และเป็นที่ โศกาลัย ของประชาชนทุกหมู่เหล่า
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดพระหม่อมให้
ประดิษฐาน พระศพไว้ ณ พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท และทรงบำเพ็ญกุศล พระราชทานเป็นลำดับมาตามโบราณราชประเพณี





การพระศพ 2

ภายในพระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท มุขด้านทิศตะวันตก
เป็นที่ประดิษฐานพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สริโสภาพัณณวดี
ภายใต้ เบญจปฎ เศวตฉัตร ( ฉัตรขาว 5 ชั้น ) ตามพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าฟ้า
พระโกศ ที่ทรงพระศพนั้น
คือ พระโกศทองใหญ่ องค์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5
ทั้งนี้การประดับพระโกศนั้น โดยปรกติ มีการลดหลั่นกัน เป็นหลายชั้น ตามพระเกียรติยศ พระบรมศพ หรือ พระศพ เจ้านายแต่ละพระองค์
คราวนี้
พระราชทาน เครื่องประดับ พระโกศ ครบทุกอย่างเป็นกรณีพิเศษ
ที่เรียก พุ่มดอกไม้เพชร นั้น
ประดับที่ยอดพระโกศ
ถัดลงมา
ที่กระจังฝาพระโกศ ประดับ ดอกไม้เพชร เรียกว่า
ดอกไม้ไหว ( ใบปรือ )
ที่ปากพระโกศ โดยรอบ ห้อยเฟื้องเพชร มีพู่ห้อย เป็นระยะ ทุกมุม ทั้ง8มุม
ที่เอวพระโกศ
ประดับดอกไม้เพชร เรียก
ดอกไม้เอว