วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

"พลเมืองไทยโรดแมบ"กับการพัฒนาสังคม"ไทย"

ที่มา จันทร์ อสงไขย 
และ พลโท วิวัฒน์ วิสนุวิมล พร้อม นักวิชาการทุกแขนง





ช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยศึกษาเล่าเรียน
@ [โรงพยาบาลในชุมชน สถานอนุบาลเด็กอ่อนในชุมชน โรงเรียนอนุบาล/โรงเรียนทุกระดับสำหรับประชากรในวัยเรียนทุกกลุ่มในชุมชน วิทยาลัย/วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย/การศึกษาทุกระบบในชุมชน]

*โรงพยาบาลในชุมชน; ใช้บัตรทองได้แต่มีปัญหายานอกบัญชียาหลัก และค่าใช้จ่ายที่เป็นหัตการทางการแพทย์ ที่ประชาชนยังต้อง "จ่าย" 

*สถานอนุบาลเด็กอ่อนในชุมชน; ในชุมชนตามหมู่บ้านส่วนใหญ่เป้นของเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนก็ยังต้อง "จ่าย"

*โรงเรียอนุบาลในชุมชน;ส่วนใหญ่เป้นของเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนก็ยังต้อง "จ่าย" หรือเป็นของรัฐบาลประชาชนก็ยังต้อง "จ่าย" ในรูปแบบต่างๆ

*โรงเรียนทุกระดับสำหรับประชากรในวัยเรียนทุกกลุ่มในชุมชน; มีอยู่ ๓ สังกัด เทศบาล(องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น). เขตพื้นที่การศึกษา(สพท.>สพฐ.>กระทรวงศึกษาธิการ-ศธ.) และเอกชน (สยช.>กระทรวงศึกษาธิการ-ศธ.) ไม่ว่าจะเป็นของเอกชนหรือรัฐหรือรัฐท้องถิ่น(เทศบาล) ประชาชนก็ล้วนแต่ต้อง "จ่าย" ในรูปแบบต่างๆ กัน

*มหาวิทยาลัย/วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย/วิทยาลัย/การศึกษาทุกระบบในชุมชน; ระดับนี้ยิ่งต้องจ่าย ทั้งของรัฐและเอกชน เฉพาะของเอกชนก็แพงมาก รัฐช่วยแค่ให้กู้เรียน มิหนำซ้ำระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาที่เป็นของรัฐก็จะแยกตัวออกไปเป็นของเอกชน ทำให้การศึกษาในระดับนี้ (ระดับมันสมอง-แรงงานฝีมือ)มีค่าแลกเปลี่ยนสูงมาก หมายการศึกษาในระดับนี้ ประชาชนยิ่งต้อง "จ่าย" ในรูปแบบต่างๆ ที่สูงมากขึ้นไปอีก จำนวนประชากรไทยที่จะเข้าถึงการศึกษาระดับนี้จึงน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนพลเมืองทั้งหมดของประเทศ

**การต้อง "จ่าย" ดังกล่าวนี้ หากไม่มี "จ่าย" ย่อมมีผลต่อการเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาลหรือบริการทางด้านสาธารณสุขและการศึกษาอย่างแน่นอน ส่งผลต่อเนื่องถึงสมรรถนะของร่างกายและสมองของประชากรอย่างแน่นอนเช่นกัน อันทำให้สมรรถนะของประเทศต่

*@ ประเด็น คือ ในการเข้าถึงการศึกษาทุกระดับชั้นของประชากรจะต้องทำให้เป็นรัฐสวัสดิการทั้งหมดให้เป็นการเรียนฟรีทุกระดับทุกค่าใช้จ่าย รวมทั้งค่าใช้จ่ายรายเดือนของประชากรในวัยศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ตลอดจนค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ที่ต้องฟรีตลอดชีวิต

*@สิ่งสำคัญที่ต้องคิดและพิจารณา คือ สมดุลระบบนิเวศด้านประชากรในวัยทำงานของประเทศหลังจากพ้นช่วงวัยศึกษาเล่าเรียนอย่างเป็นทางการทั้งในระบบ นอกระบบ ที่จะต้องออกมาเป็นการศึกษาตลอดชีวิต และหรือการศึกษาตามอัธยาศรัย แล้วว่าได้ดุลยภาพหรือไม่? โดยมีดุลยภาพพื้นฐานทางด้านประชากรที่สำคัญอยู่ ๒ ดุลยภาพ คือ ดุลยภาพประชากรทางด้านเศรษฐกิจ = ดุลยภาพระหว่างแรงงานสมองกับแรงงานกาย และ ดุลยภาพประชากรทางด้านการเมืองการปกครอง = ดุลยภาพประชากรที่จะเข้าสู่โครงสร้างชั้นบน/ชนชั้นปกครองระดับต่างๆ กับประชากรที่จะเข้าสู่โครงสร้างชั้นล่าง/ผู้ถูกปกครอง

*@@ดุลยภาพประชากรทางด้านเศรษฐกิจ = ดุลยภาพระหว่างแรงงานสมองกับแรงงานกาย

แรงงานสมอง(นักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ผู้เชี่ยวชาญชำนาญการ เทคนิคเชี่ยน วิชาชีพเฉพาะ ฯลฯ) แรงงานฝีมือ แรงงานไร้ฝีมือ มีสัดส่วนที่ยังให้การพัฒนาประเทศให้ยืนบนขาของตัวเองในภาคการผลิตจริง มีความเป็นไปได้ปัจจัยการผลิตทางด้าน "แรงงาน" ทั้งแรงงานสมองและแรงงานกาย จะต้องได้ดุลยภาพกันระหว่างแรงงานสมองกับแรงงานกาย แต่ ณ ปัจจุบันประเทศเราขาดแรงงานสมองที่เป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญการด้านต่างๆ จำนวนมาก ขณะที่แรงงานกายก้ต้องการการพัฒนาทางด้านฝีมือ เพื่อยกระดับเป็น "แรงงานฝีมือ" ปมเงื่อนที่สำคัญ คือ การวางพื้นฐาน "องค์ความรู้จริง" แขนงต่างๆ ที่ต้อง อบรมบ่มเพาะประชากรตั้งแต่ฐานรากวัยอนุบาล/ปฐมวัย ขึ้นไป จนถึงการศึกษาข้นสูงสุด

*@ ประเด็น คือ "องค์ความรู้จริง" แขนงต่างๆ ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกด้วยการ "เรียนผ่านภาคปฏิบัติ/ลงมือทำจริง" เป็นสำคัญเป็นหลัก (ไม่ใช่การท่องจำแบบพระท่องบทสวด หรือนักบวช/ผู้สอนศาสนาท่องคำสอนในคัมภีร์) จึงจะมีฐานทางสมองและทางร่างกายที่แน่นหนาและแข็งแกร่งในอันที่จะพัฒนาต่อยอดไปถึงองค์ความรู้ระดับสูง เช่น ระดับผู้เชียวชาญชำนาญการที่จะผลิตเทคโนโลยี่และด้านต่างๆ ด้วยตนเองได้ เป็นต้น

*@@ดุลยภาพประชากรทางด้านการเมืองการปกครอง = ดุลยภาพประชากรที่จะเข้าสู่โครงสร้างชั้นบน/ชนชั้นปกครองระดับต่างๆ กับประชากรที่จะเข้าสู่โครงสร้างชั้นล่าง/ผู้ถูกปกครอง

หากพิจารณาศักยภาพทางด้านการเมืองการปกครองซึ่งเป็นส่วนของการบริหารจัดการโภคทรัพย์ของประเทศในระบบการ "เลือกตั้ง" เพื่อให้ได้ตัวแทนเข้าไปบริหารจัดการประเทศในระดับต่างๆ ตั้งแต่ในระดับชุมชน(องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สท. สจ.) ไปจนถึงระดับประเทศ (สส. สว.) พบว่า ระหว่าง ผู้ถูกเลือกและผู้เลือก ศักยภาพทางความคิดการเมืองการปกครองห่างไกลกันมาก ระดับการศึกษาต่างกันมาก จึงไม่เท่าทันกัน ทำให้การบริหารจัดการประเทศเป็นไปอย่างไม่ได้ดุลยภาพ ในการจัดสรรทรัพยากรและโภคทรัพย์ของประเทศในระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ ก่อเกิด กลุ่มประชากรที่กัดกร่อนประเทศ ที่เรียกว่า นักการเมืองทุนนายหน้าสามานย์ นั่นคือ สมดุลระบบนิเวศทางด้านการเมืองการปกครองไม่ได้ดุลยภาพ """"""นี่เป็นการพิจารณาดุลยภาพประชากรในมิติด้านการเมืองปกครองในบริบทของ "ผู้เลือก" และ "ผู้ถูกเลือก"

*@ ประเด็น คือ ต้องให้ "ผู้เลือก"/ประชากรที่จะเข้าสู่โครงสร้างชั้นล่าง/ผู้ถูกปกครอง กับ "ผู้ถูกเลือก"/ประชากรที่จะเข้าสู่โครงสร้างชั้นบน/ผู้ปกครอง มี ดุลยภาพกันทางด้านคุณภาพ โดย ผู้ถูกปกครอง ต้องมี "๑ชุดความคิด" ที่จะทำให้เท่าทัน ผู้ปกครอง และ ต้องมี "กฎกติกา/มาตรการรูปธรรม" ที่จะทำให้ ผู้ปกครอง มีพฤติกรรมอยู่ในครรลองครองธรรม




ช่วงวัยทำงาน : [เกษตรกรรม/หัตถกรรม/อุตสาหกรรม/ฯลฯ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน]

เมื่อผ่านพ้นช่วงวัยเรียนมาแล้วก็จะเข้าสู่วัยทำงาน วัยทำงานที่มีสิทธิและหน้าที่ต่อรัฐ-สังคม เป็น "พลเมือง" แห่งรัฐนั้นๆ เต็มตัว มีหน้าที่ต้องทำงานและเสียภาษีให้รัฐ และมีสิทธิที่จะต้องได้ "สิทธิประโยชน์จากรัฐ" โดยในรัฐหนึ่ง ๆ ต้องการพลเมืองที่จะออกไปทำหน้าที่ ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือ พลเมืองส่วนหนึ่งจะต้องไปเป็น "ชนชั้นปกครอง"/นักการเมือง พลเมืองอีกส่วนหนึ่งจะต้องไปเป็น ผู้ทำการผลิตและให้บริการ

พลเมืองส่วนที่จะไปเป็น กลุ่มชนชั้นปกครอง/นักการเมือง อยู่ในกลไกโครงสร้างส่วนบน ไล่จากระดับชุมชนไปจนถึงระดับประเทศ>>> ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายก อบจ.,สจ. นายก อบต. /สมาชิกสภาตำบน-สต(?) นายกเทศบาล,สท .... สส. สว รัฐบาล พรรคการเมือง นัีกการเมือง องค์กรอิสระต่างๆ ผุ้นำชุมชน-ผู้นำกลุ่มพลังต่างๆ อาทิกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มอาชีพ ฯลฯ พวกโครงสร้างส่วนบน/กลุ่มชนชั้นปกครอง-นักการเมืองนี้ จะเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรและโภคทรัพย์ของรัฐ-สังคมและนโยบายสาธารณะต่างๆ ตลอดจนกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ พลเมืองส่วนนี้ต้องการความรู้ทางด้านอุดมการณ์ชาติ-รัฐ และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความมั่นคงแห่งชาติ-รัฐของตน ขณะเดียวกันก้ต้องมีความรู้ความเข้าใจลักษณะของพลเมืองส่วนที่ทำการผลิตและให้บริการทุกกลุ่มด้วย เพื่อที่จะได้ทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณและโภคทรัพย์ต่างๆ ของรัฐ-สังคม ให้แต่ละกลุ่มได้อย่างทั่วถึงเป้นธรรมและสนองตอบต่อความต้องการจำเป้นของประชากร-พลเมืองแต่ละกลุ่ม ผ่านนโยบายสาธารณะต่างๆ ตลอดจนกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ

พลเมืองส่วนที่ทำการผลิตและให้บริการ ที่จะต้องเขาสู่ทั้ง ภาครัฐ/ภาคเอกชน พลเมืองส่วนนี้ ต้องการความรู้ทางด้านเทคนิคและความชำนาญการและความเป้นมืออาชีพทั้งเทคนิคในการผลิตการบริหารกกระบวนการผลิตและขบวนการผลิต ขณะเดียวกันก้ต้องมีความเข้าใจในโครงสร้างส่วนบนที่ครอบทับตนเองและทั่วทั้งสังคมอยู่ ต้องเข้าใจบทบาททั้งที่เป็นและควรจะเป็นของ พลเมืองส่วนเป็น กลุ่มชนชั้นปกครอง/นักการเมือง อยู่ในกลไกโครงสร้างส่วนบน ( ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายก อบจ.,สจ. นายก อบต. /สมาชิกสภาตำบน-สต(?) นายกเทศบาล,สท .... สส. สว รัฐบาล พรรคการเมือง นัีกการเมือง องค์กรอิสระต่างๆ ผุ้นำชุมชน-ผู้นำกลุ่มพลังต่างๆ อาทิกลุ่มแม่ย้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มอาชีพ ฯลฯ ) พวกโครงสร้างส่วนบน/กลุ่มชนชั้นปกครอง-นักการเมืองนี้ เพื่อที่จะได้คงไว้หรือรังสรรค์ขึ้นได้ซึ่ง "สิทธิประโยชน์ของพลเมือง" ของตนทั้งสิทธิประโยชน์ส่วนตนและสิทธิประโยชน์ส่วนรวมหรือโดยรวม โดยการเข้าใจบทบาทการทำหน้าที่ในฐานะ "พลเมือง" ของตนที่จะต้องคอย "เลือก" และ "ตรวจสอบ" รวมทั้ง "ผลักดัน" พลเมืองที่เข้าไปทำหน้าที่เป็นชนชั้นปกครองอยู่ในโครงสร้างส่วนบนให้ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรผ่านการรังสรรกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้ทั่วถึงเป็นธรรมและสุจริ



ช่วงวัยชรา(บั้นปลายของชีวิต) :[บ้านพิทักษ์คนชรา/คนพิการ/เด็กสตรี/ฯลฯในชุมชน]

มีความต้องการจำเป็น อยู่ ๒ ประการ ที่ทำให้ต้องมี "บ้านพิทักษ์" ประชากรกลุ่มต่างๆ ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อยู่ในชุมชน

๑. เป็นครอบครัวเดี่ยวที่ไม่อาจจะแบกรับภาระ "ความต้องการจำเป็นพิเศษ" (special needs) ของ สมาชิกครอบครัวตามลำพังเพราะการที่ต้องดูแลตลอด ๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน

เช่น โรคอัลไซด์เมอร์/ความจำเสื่อมในวัยชรา น่าสงสารมากที่สามีภรรยาแม้จะานะดีแต่ต้องออกไปทำงานนอกนอกบ้านทั้งคู่มิหนำซ้ำยังลูกอยู่ในวัยเรียน แต่ต้องดูคนแก่ที่ไม่รู้จะเดินไปนอกบ้านเมื่อไหร่ อุจาระปัสสาวะไม่เป็นที่เป็นทางอีกต่างหาก ไม่ต้องพูดถึงว่าจะจ้างพยาบาลหรือคนดูแลคนชรา-ค่าใช่้จ่ายเท่าไหร่? หรือในกรณีออทิสติกที่ต้องฝึกสอนกิจกรรมต่างๆ ไปด้วย หรือในกรณีอัมพฤกอัมพาต ฯลฯ

๒. ความจำเป็นทางด้านสหวิชาชีพและการทำงานเป็นทีม

ดังที่ยกตัวอย่าง อาจต้องการทีมหลายสาขาอาชีพมาทำงานร่วมกันทั้งนักพัฒนาสังคม นักฟื้นฟุบำบัดต่างๆ ด้านการแพทย์ นักการศึกษาครู เป็นอาทิ.....ซึ่งปัจเจกครอบครัวระดับรากหญ้าไม่อาจจ้างไหว ดังนั้นจึงต้องเป็นรัฐสวัสดิการ ที่มีทีมบุคลากรทำงานในบ้านพิทักษ์ชื่อคามกลุ่มประชกรเป้าหมาย เช่น บ้านพิทักษ์คนชราในชุมชน บ้านพิทักษ์สตรีและเยาวชนฉุกเฉินในชุมชน บ้านพิทักษ์คนพิการทางด้านร่างกายในชุมสชน บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน ฯลฯ

นั่นหมายถึงว่าต่อไป ประชากรกลุ่มต่างๆที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จะมี ๒ บ้านอยู่ในชุมชน อันเป็นภูมิลำเนาของตนเอง คือ บ้านของครอบครัวเครือญาติหรือบ้านของตัวเองบ้านหนุึ่ง กับบ้านพิทักษ์ฯ ซึ่งเป็นบ้านของส่วนรวมอีกบ้านหนึ่ง ที่จะมีทีมบุคลากรดูแลอภิบาลหากอยู่ในขั้นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย หรือฝีกอาชีพเทรนนิ่งด้านต่างหากยังช่วยเหลือตัวเองพอได้ถึงได้




ปัญหาคือ ทำอย่างไรให้เป็นรัฐสวัสดิการทั้งหมด ให้เป็นการเรียนฟรีทุกระดับ ทุกค่าใช้จ่ายรวมทั้งค่าใช้จ่ายรายเดือนของประชากรในวัยศึกษาเล่าเรียน ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา

สิ่งที่ต้องคิดและพิจารณา คือ สมดุลระบบนิเวศด้านประชากรในวัยทำงานของประเทศหลังจากพ้นช่วงวัยศึกษาเล่าเรียนอย่างเป็นทางการทั้งในระบบ นอกระบบ และที่จะต้องออกมาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตและหรือการศึกษาตามอัธยาศรัยแล้วได้ดุยภาพหรือไม่

แรงงานสมอง(นักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ผู้เชี่ยวชาญชำนาญการ เทคนิคเชี่ยน วิชาชีพเฉพาะ ฯลฯ) แรงงานฝีมือ แรงงานไร้ฝีมือ มีสัดส่วนที่ยังให้การพัฒนาประเทศให้ยืนบนขาของตัวเองในภาคการผลิตจริง มีความเป็นไปได้แค่ไหน? ที่พูดถึงศักยภาพในด้าน "พลังการผลิต" ในส่วนที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

หากพิจารณาศักยภาพทางด้านการเมืองการปกครองซึ่งเป็นส่วนของการบริหารจัดการโภคทรัพย์ของประเทศในระบบการ "เลือกตั้ง" เพื่อให้ได้ตัวแทนเข้าไปบริหารจัดการประเทศในระดับต่างๆ ตั้งแต่ในระดับชุมชน(องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สท. สจ.) ไปจนถึงระดับประเทศ (สส. สว.) พบว่า ระหว่าง ผู้ถูกเลือกและผู้เลือก ศักยภาพทางความคิดการเมืองการปกครองห่างไกลกันมาก ระดับการศึกษาต่างกันมาก จึงไม่เท่าทันกันทำให้การบริหารจัดการประเทศเป็นไปอย่างไม่ได้ดุลยภาพ ในการจัดสรรทรัพยากรและโภคทรัพย์ของประเทศในระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ ก่อเกิด กลุ่มประชากรที่กัดกร่อนประเทศ ที่เรียกว่า นักการเมืองทุนนายหน้าสามานย์ นั่นคือ สมดุลระบบนิเวศทางด้านการเมืองการปกครองไม่ได้ดุลยภาพ-(จะแก้อย่างไร?)

นั่นเป็นการพิจารณาในมิติ "ผู้เลือก" และ "ผู้ถูกเลือก"