วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระแก้วมรกต กับคำเล่าลือ






ขอบคุณทุกๆสื่อ


หลวงปู่มั่น...กล่าวถึงพระแก้วมรกต



"พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด
ประเทศนั้นจะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล
พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด
ประเทศนั้นจะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม"

การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา เกิดกลียุคในประเทศนั้น และด้วยความรัก

พระแก้วมรกต

เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งท่านพระอาจารย์มั่น
พักที่วัดป่าบ้านหนองผือ พระอุปัชฌาย์อุ่น
(พระครูบริบาลสังฆกิจ (อุ่น อุตตโม)
วัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร)
ได้ไปกราบนมัสการฟังเทศน์ และ
ได้นำรูปพระแก้วมรกตขนาด 20 นิ้ว
เป็นภาพพิมพ์ใส่กรอบไปถวายท่านพระอาจารย์
แต่ดูท่านจะลืมทำความสะอาด เพราะมีฝุ่นจับอยู่
ท่านพระอาจารย์ก็น้อมรับด้วยความเคารพ

หลังจากท่านอุปัชฌาย์อุ่นลาลงกุฏิไปแล้ว
ท่านพระอาจารย์ได้ทำความสะอาด
โดยนำผ้าสรงน้ำของท่านฯ มาเช็ดถู ผู้เล่า
(หลวงตาทองคำ-ภิเนษกรมณ์)
เอาผ้าเช็ดพื้นเข้าไปช่วยทำความสะอาดด้วย
เพราะเห็นว่าผ้ายังสะอาดอยู่ ท่านหันมาเห็นเข้า พูดว่า

"อะไรกัน นั่นรูปพระพุทธเจ้าแท้ๆ
ยังเอาผ้าเช็ดพื้นมาถูได้"

ผู้เล่าสะดุ้งไปทั้งตัว เพราะความโง่เขลาปัญญาอ่อน
ท่านฯ ก็เลยทำความสะอาดเอง

เสร็จแล้วก็มีเพื่อนภิกษุทยอยกันขึ้นไป
รวมทั้งท่านอาจารย์วิริยังค์ด้ว
ท่านเลยเทศน์ถึงความมหัศจรรย์ของพระแก้วมรกต
ท่านว่า

"พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม"

การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา เกิดกลียุคในประเทศนั้น และด้วยความรัก

และท่านยังบอกอีกว่า
วัดพระแก้วนี้เป็นวัดพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ
พระสงฆ์อยู่ไม่ได้ เพราะพระสงฆ์มาจากตระกูลต่างๆ
ทั้งหยาบทั้งละเอียด ไม่รู้พุทธอัธยาศัย พุทธธรรมเนียม
เพราะพระพุทธเจ้าเป็นทั้งกษัตริย์ และผู้สุขุมาลชาติ
เมื่อพระสงฆ์ไม่รู้พุทธธรรมเนีย
ม ถ้าไปอยู่ก็มีแต่บาปกินหัว

ผู้รู้ทั้งพุทธอัธยาศัยและพุทธธรรมเนียมแล้ว
มีพระมหากษัตริย์องค์เดียวเท่านั้น
ครั้งพุทธกาลก็มีพระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นทรงรู้

แต่จอมไทย คือ พระมหากษัตริย์ทรงรู้มาแล้ว

ได้ทรงสร้างวัดถวายจำเพาะพระแก้วเท่านั้น

พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร
คือ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า
ต่างแต่วาสนาบารมีมากน้อยต่างกันเท่านั้น
ท่านจึงทรงรู้พุทธอัธยาศัยเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า .
..ผู้ใดย่างกรายเข้าสู่วัดพระแก้ว
เป็นบุญทุกขณะที่อยู่ในบริเวณวั

แม้แต่ชาวต่างชาติ มีโอกาสเข้าไปในบริเวณวัดพระแก้
จะด้วยศรัทธาหรือไม่ก็ตาม
ก็ได้เข้ามาสู่วงศ์พระพุทธศาสนาโดยปริยาย
หรือจะบังเอิญก็แล้วแต่ สามารถเป็นนิสัยให้เข้ามาได้
ต่อไปจะสามารถมาเกิดเป็นคนไทย
สืบต่อบุญบารมีสำเร็จมรรคผลได้





ความเชื่อเรื่องผีอารักษ์ประจำพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง ความว่า “ชาวล้านช้างเชื่อถือกันมาแต่โบราณว่า พระพุทธรูปสำคัญย่อมมี “ผี” คือ เทวดารักษาทุกพระองค์ ผู้ปฏิบัติบูชาจำต้องเซ่นสรวงผีที่รักษาพระพุทธรูปด้วย เพราะถ้าผีนั้นไม่ได้ความพอใจ ก็อาจบันดาลให้เกิดภัยอันตรายต่างๆ หรืออีกอย่างหนึ่งถ้าผีที่รักษาพระพุทธรูปต่างพระองค์เป็นอริกัน หากนำเอาพระพุทธรูปนั้นไว้ใกล้กัน ก็มักเกิดอันตราบด้วยผีวิวาทกัน เลยขัดเคืองต่อผู้ปฏิบัติบูชา”[1]
คติที่กล่าวๆมาประกฎขึ้นในกรุงเทพครั้งแรกเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเมื่อ พ.ศ. 2327 ครั้งนั้นโปรดให้อัญเชิญพระบางอันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองหลวงพระบาง แล้วตกไปเป็นของพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตอยู่ ณ เมืองเวียงจันทน์ พระองค์ได้ทรงอัญเชิญลงมาพร้อมกับพระแก้วมรกต เข้ามาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านันทเสนบุตร พระเจ้าล้านช้างกราบบังคลทูลว่าผีซึ่งรักษาพระแก้วมรกตกับพระบางเป็นอริกัน พระพุทธรูป 2 พระองค์นั้นอยู่ด้วยกันในที่ใด มักมีเหตุภัยอันตรายอ้างอุทาหรณ์แต่เมื่อครั้งพระแก้วมรกตอยู่เมืองเชียงใหม่ กรุงศรีสุตนาคนหุตก็อยู่เย็นเป็นสุข ครั้งพระเจ้าไชยเชษฐาเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่ไปไว้ด้วยกับพระบางที่เมืองหลวงพระบาง เมืองเชียงใหม่ก็เป็นกบฏต่อกรุงศรีสุตนาคนหุต แล้วพม่ามาเบียดเบียน จนต้องย้ายราชธานีลงมาตั้งอยู่ ณ นครเวียงจันทน์ ครั้นอัญเชิญพระบางลงมาไว้นครเวียงจันทน์กับพระแก้วมรกตด้วยกันอีก ก็เกิดเหตุจลาจลต่างๆ บ้านเมืองไม่ปกติ จนเสียนครเวียงจันทน์ให้กับกรุงธนบุรี ครั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมาไว้ด้วยกันในกรุงธนบุรี ไม่ช้าก็เกิดเหตุจลาจล ขออย่าให้ทรงประดิษฐานพระบางกับพระแก้วมรกตไว้ด้วยกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชดำริว่า พระบางก็ไม่ใช่พระพุทธรูปซึ่งมีลักษณะงาม เป็นแต่พวกชาวศรีสัตนาคนหุตนับถือกัน จึงโปรดให้ส่งพระบางคืนขึ้นไปไว้ ณ นครเวียงจันทน์

หนังสือตำนานพระแก้วมรกตมาจากกรุงเวียงจันทน์ เขียนโดย ดวงไช หลวงพะสี ในตอนหนึ่งได้กล่าวถึงระยะเวลาที่องค์พระแก้วมรกตประทับอยู่ในเมืองต่างๆ
ดังนี้
พ.ศ.๕๐๐ พระอรหันต์ชื่อ พระนาคะเสนเถระ สร้างพระแก้วมรกตที่เมืองนครปาตาลีบุตร เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ๕๐๐ ปี
พ.ศ.๕๐๐-๘๐๐ ประทับอยู่เมืองนครปาตาลีบุตร ๓๐๐ ปี
พ.ศ.๘๐๐-๑๐๐๐ ประทับอยู่ลังกาทวีป (ศรีลังกา) ๒๐๐ ปี
พ.ศ. ไม่ทราบ ประทับอยู่กำพูชา
พ.ศ. ไม่ทราบ  ประทับอยู่กำแพงเพชร
พ.ศ. ไม่ทราบ ประทับอยู่พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ.๑๕๐๖-๑๕๐๘ ประทับอยู่เมืองละโว้ ลพบุรี
พ.ศ. ไม่ทราบ ประทับอยู่เมืองกำแพงเพชร (ครั้งที่สอง)
พ.ศ.๑๙๗๗-๒๐๐๙ ประทับอยู่ลำปาง
พ.ศ.๒๐๐๙-๒๐๙๓ ประทับอยู่เชียงใหม่
พ.ศ.๒๐๙๓-๒๑๐๓ ประทับอยู่นครหลวงพระบาง
พ.ศ.๒๑๐๓-๒๓๒๒ ประทับอยู่นครเวียงจันทน์

พ.ศ.๒๓๒๒ - จนถึงปัจจุบัน ประทับอยู่กรุงเทพมหานคร (ประมาณ ๒๒๙ ปี)
พระแก้วมรกตเป็นสมบัติของมนุษย์ทุกคนในโลก เมื่อถึงเวลาพระองค์จะเสด็จไปเอง โดยกำหนดประทับอยู่แต่ละแห่งไม่เกิน ๒๕๐-๓๐๐ ปี และก่อนจะเสด็จไป จะเกิดเหตุอาเพศภัยขึ้น ๓ ประการคือ
๑.น้ำท่วมแรง.. 
๒.มีเหตุร้ายวุ่นวายในประเทศ 

๓.มีชาติอื่นมารุกรานเอาไป..