วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไทย อยากสงบ ไม่ใช่สยบด้วยปรองดอง อย่างเดียว(อินทรีย์เมฆาเรียบเรียง)


แนวทางการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในอนาคต 
ว่าด้วย เรื่องวิถีแห่งการสร้างความสงบอันเกี่ยวเนื่องกับสังคมไทย 
สัมคมไทยเริ่มต้นขัดแย้งแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจนมาแล้วตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2549

    ที่ผ่านมา และสิ่งที่จะพูดต่อไปนี้ ก็คือจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง และจุดจบอย่างสันติสุขของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมา ประชาชนมากมายในประเทศต่างหยิบยกเอาเรื่องราวการทะเลาะเบาะแว้งภายในทางการเมืองของบรรดานักการเมืองโดยเฉพาะเหล่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ที่มีทั้งที่ประชาชนชอบและไม่ชอบ เมื่อนักการเมืองเกิดขัดแย้งกันขึ้นมาทันใด นักการเมืองที่เสียเปรียบและได้เปรียบ ประชาชนก็จะก่อกลุ่มกันแสดงความไม่พอใจหรือโต้เถียงกัน อันจะนำไปสู่หนทางแห่งการแบ่งพวก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดจากการที่ประชาชนขาดความเข้าใจหรือหลงลืมไปว่า สิ่งเหล่านี้นั้น อันเป็นการกระทำของนักการเมือง ย่อมเป็นเพียง เกมส์ทางการเมืองที่ดำรงค์อยู่ในกฏกติกา เป็นที่รู้ดีของเหล่าผู้เล่นการเมือง ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดขึ้นกันภายในสภานั้นเอง แต่ที่ผ่านมาประชาชนต่างพากันถืออคติ โกรธแค้นแทนนักการเมือง จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคมส่งผลกระทบตามมาหลายประการ ดังที่ปรากฎเด่นชัดคือแตกสามัคคี ไร้ความสงบ ไม่มีความประนีประนอมเหมือนในอดีตที่ผ่านมานานแล้ว ดังนั้นเมื่อกลับมาคนึงคิดถึงแนวทางการให้กำเนิดวิถีแห่งความสงบร่มเย็นของชาติในวันนี้ จึงไม่สามารถที่จะมีวิธีใดที่ดีไปกว่า การให้การยอมรับฟังแนวทางของแต่ละฝ่าย ซึ่งต้องพยายามสร้างความพร้อมใจกันนำแนวคิดนั้นๆมาผนวก ปรับปรุง โดยที่ไม่ให้สถาบันสำคัญใดๆของชาติต้องยกเลิกหรือเสียหาย ทั้งรักษาให้คงอยู่บนความเหมาะสมที่ทุกๆฝ่ายเต็มใจยอมรับโดยดีร่วมกัน กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงที่ยังธำรงค์รักษาซึ่งสิ่งสำคัญไว้อย่างเหมาะสม และรับเอาการเปลี่ยนแปลงที่พอเหมาะ จำเป็นที่สุดอย่างแท้จริงเข้าผสมผสานเพื่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาติที่ใครๆก็ยอม และ เพื่อยังประโยชน์สุขสู่มหาชนคนส่วนรวม เป็นการลดความขัดแย้งด้วยในขณะเดียวกัน โดยเฉพาะการเริ่มต้นด้วยฝ่ายบริหารประเทศซึ่งเป็นศูนย์กลางในบริหารจัดการบ้านเมืองดึงเอาสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ทุกๆแขนง สร้างสื่อประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ขัดเกลาจิตใจและแถลงไขถึงแนวทาง ข้อดี ข้อเสีย ของประโยชน์และปัญหา เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทำความเข้าใจแก่ประชาชน ในวิธีการปฎิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคม และเนื่องจากเป็นช่องทางที่ประชาชนทั่วประเทศส่วนมากยังเข้าถึงง่ายที่สุดอีกด้วย รวมไปถึงการระดมความคิดในการจัดกิจกรรมเพื่อลดความขัดแย้งของคนชาติ โดยให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างกว้างขวาง ทุกชนชั้น มีสิทธิในการแสดงความคิด ที่รัฐต้องพร้อมยอมรับ และอธิบายคำถามจากประชาชนได้ การพัฒนาหลักสูตรด้านวิชาอันเกี่ยวเนื่องกับระบอบการปกครอง การเพิ่มพูนความรู้ที่เกี่ยวกับวิถีแห่งการเมืองไทย ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นใด เพราะถ้าหากมีการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายเพิ่มมากยิ่งขึ้น ก็จะช่วยให้เยาวชนไทย เข้าใจในกฎกติกาการเมืองภายในสภาและนอกสภามากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถเป็นตัวช่วยที่ดีต่อการลดภาวะความขัดแย้งที่เกิดจากการขาดความเข้าใจกระบบการเมือง การบริหารประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามแต่ถึงแม้ในวันนี้เอง ก็ยังหาข้อสรุปกระบรวนการแนวทางหรือจะกระทำ ก็ยังยากอยู่ เพราะประชาชนยังไม่ยอมฟังกัน ต่างระหวาดระแวงกันอยู่ ใครคิดจะทำอะไรก็มีแต่จะหาเรื่องขัดแย้งกัน ความบาดหมางฝักรากลงลึก แม้นสถาบันอันเคารพสักการะก็ดึงรั้งจิตใจไว้ไม่อยู่ โดยเฉพาะเรื่องของมาตรากฎหมาย 112 ซึ่งเป็นผลพลอยถูกกระทบ มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งของประชาชนเรื่องการเมืองที่ทวีความรุนแรงจนบานปลายดึงเอาสถาบันหลักของชาติที่ไม่เกี่ยวข้องหลายสถาบันมาปลุกระดมสร้างข่าวลือผิดๆไร้หลักฐานความเป็นจริง เพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนเอง เท่านั้นที่เห็นแก่ตัว มัวโลภครอบงำ คิดทำลายผู้อื่นหนีความซวย อย่างไรก็ตามมีสาเหตุเหมือนดังที่พูดขึ้นต้นเอาไว้แล้วว่า ประชาชนโดยมากยังขาดความเข้าใจวิถีแห่งการเมืองไทย ยังขาดความเข้าใจในระบอบการบริหารการปกครองของไทยอย่างทั่วถึงในกลุ่มคนทั่วประเทศ และไม่เข้าใจหรือมองข้ามกฏกติกาและเกมส์ทางการเมืองที่ทั่วโลกภายในสภาต่างก็มีวัฏจักรเช่นนี้เหมือนกันหมด ซึ่งเป็นเรื่องภายในรัฐสภา เป็นหน้าที่ของนักการเมืองที่จะต้องรับผิดชอบกันเอง มิใช่หน้าที่ของประชาชนที่จะต้องออกมาเรียกร้อง ชุมนุมด้วยเหตุอันเกิดจากอารมณ์ความรู้สึกไม่พอใจแทนนักการเมือง จนก่อให้เกิดการชุมนุมแบ่งพวกของประชาชนที่เข้าข้างนักการเมือง เกิดการชุมนุมฝ่ายตรงข้าม ออกมาโต้แย้งของกัน ทะเลาะกันโดยหาสาระไม่มี ขาดความเป็นสากลอันหมายถึงวิถีแห่งการเจรจา??ثลักการที่ถูกต้องสงบสุข ไม่ประกอบด้วยแรงอาฆาต ริษยาเบียดเบียน เข้าข้างลำเอียง แท้ที่จริงแล้วควรเป็นกลางยอมรับฟังทุกๆฝ่ายแล้วปรับข้อตกลงทำความเข้าใจ แล้วคิดวิเคราะห์ พิจารณาหาแนวทางเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างลงตัว ให้เกียรติแก่กันดีที่สุด