วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

"พระโพธิสัตว์ คือ อะไร" (อินทรีย์เมฆาเรียบเรียง)






"พระโพธิสัตว์ นั้น คือ ชาวสรรค์ ชั้นสูงสุด โดยมากสถิย์อยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต และสวรรค์ชั้นที่7
 ซึ่งเกิดจากดวงจิต ( สิ่งมีชีวิต1ชีวิต คือ จิตหนึ่งดวง )
ที่บำเพ็จความดีงามหลายประการ สะสมไว้หลายชาตินับไม่ถ้วน
จนกระทั้งบรรลุสัจธรรมแห่งชีวิตทั้งปวงได้หมดจดแต่ไม่ประสงค์ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
หรือเป็นศาสดาแห่งศาสนา
 ด้วยมีความตั้งมั่นที่จะอยู่ช่วยเหลือสรรพชีวิตทั้งมวล นั้นเอง
ส่วนเรื่องของพระโพธิสัตว์นี้ อยากให้มองไปง่ายๆว่า ความจริงแล้วมีอยู่ในทุกๆศาสนา ศาสนาหนึ่งๆนั้นอาจมีนับร้อยๆพระองค์ ทั้งบุรุษและสตรี ที่มนุษย์เรานั้นรู้จักกัน มีไม่กี่พระองค์ถ้าเทียบรวมทั่วโลก
 ก็อาจยังไม่ถึงครึ่งจำนวน ที่มนุษย์เรารู้ เพราะบรรดาเทพเจ้าต่างๆจากหลายประเทศก็ถือเป็นพระโพธิสัตว์ด้วยเช่นกัน อย่างพระเยซู นี้ ก็ทรงเป็นพระโพธิสัตว์รวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นในอีกจำนวนมากที่มนุษย์โลกไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย ซึ่งไม่เคยมีระบุไว้ในจารึกใดๆในโลก ถึงพระนาม เลยก็มีครับ พระโพธิสัตว์ จึงยังมีอยู่มากที่ไม่เคยปรากฏตัวตนให้มนุษย์ได้รับรู้ ยกตัวอย่างเช่น พระศรีอารียเมตไตร ซึ่งขณะนี้ก็ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ก็พึงจะมาเป็นที่รู้จักของชาวพุทธมาได้ไม่นานนี้เอง อีกประการ
 พระโพธิสัตว์ 1 พระองค์ เมื่อทรงแบ่งภาคเป็นอีกเพศ หรือเป็นอีกพระองค์ ก็ย่อมไม่เรียกเป็นพระองค์เดียวกันอีกเลย เพราะแบ่งออกไปเป็นอีกดวงจิตหนึ่งแล้ว ย่อมมีความนึกคิด และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน

 
 " พระแม่โพธิสัตว์กวนอิม ทรงตั้งพระราชปณิธานถวายแด่ พระพุทธองค์ ว่า ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญความดีงามเพื่อบรรเทาทุกข์ยากแก่สรรพชีวิตทั้งหลาย เพื่อเป็นธรรมบูชาแด่พระพุทธองค์ผู้เจริญ " การเสียสละเวลาแห่งตนเองเพื่อมหาสรรพชีวิตทั้งหลายในจักวาล ย่อมเป็นการเสียสละเพื่ออุทิศบุญให้แด่ส่วนร่วมทั้งหลาย อันให้กำเนิดความสงบสุขต่อโลกทั้งมวล เหนื่อยยากเย็นเท่าใด ก็จะบำเพ็ญเพียรอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นที่น่าสรรเสริญยิ่งไปทั่ว แม้นเกิดเป็นเพียงมนุษย์โลกผู้หนึ่ง แต่ถ้าหมั่นสร้างความดีโปรดชีวิต
น้อยใหญ่ทั้งหลายด้วยความเมตตาอยู่เสมอ ก็ถือว่า มนุษย์ผู้นั้น คือ พระโพธิสัตว์ ที่มีอยู่จริงบนโลกธาตุ


 
 " พระศรีมหาอุมาโพธิสัตว์ฮินดู จอมเทวี ทรงเคยพระราชทานดำรัสว่า " พระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรมให้แก่สรรพจิตทั้งหลาย ไว้ว่า ไม่มีใครที่จะสามารถอยู่เหนือกฏแห่งกรรมไปได้ แม้แต่ตัวแม่เองนี้ ก็เช่นกัน บาปไม่สามารถลบล้างลงไปได้ ทุกคนต้องได้รับในสิ่งที่ตนเองกระทำ มีเพียงบุญเท่านั้น ที่จะช่วยเรา " บุญติดตามเราไปทุกชาติฉันใด บาปก็ติดตามเราไปทุกชาติเช่นกันฉันนั้น

 บารมี 30 ทัศ บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ การกระทำที่ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณ บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ

คือ 1. ทานบารมี หมายถึง การสละออก การให้ต่างๆ โดยมีเจตนาช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสำคัญ
 2. ศีลบารมี หมายถึง การรักษาศีลให้เป็นปกติ หากเป็นฆราวาสหมายถึงการถือศีล 5 หากเป็นนักบวชคือการถือศีล 8 ขึ้นไป
3. เนกขัมมะบารมี หมายถึง การออกบวช หากฆราวาสถือศีล 8 ก็นับเป็นเนกขัมบารมีได้เช่นกัน เพราะเป็นการกระทำเพื่อเว้นจากกามสุข
4. ปัญญาบารมี หมายถึง การกระทำเพื่อเพิ่มพูนปัญญา ปัญญาแบ่งออกเป็นปัญญาทางโลกและทางธรรม เนื่องจากพระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาตคตกาล จึงต้องมีปัญญาความรู้มาก เพื่อจะได้สั่งสอนสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้ การเรียนของพระโพธิสัตว์จึงต้องเรียนมากกว่าผู้อื่น
 5. วิริยะบารมี หมายถึง การกระทำที่ใช้ความเพียรเป็นที่ตั้ง การมีวิริยะอาจไม่ได้หมายถึงการเพียรจนกระทั่งตัวตายในครั้งเดียว แต่หมายถึงมีความพยายามทำอยู่เรื่อยๆ ทำไปทีละน้อยตามกำลังจนกว่าจะสำเร็จ สัมมัปปธานหรือความเพียรที่ถูกต้อง มี 4 อย่างคือ o สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น o ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว o ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น o อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง
6. ขันติบารมี หมายถึง การอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ
 7. สัจจะบารมี หมายถึง การรักษาคำพูด ไม่กลับกลอก แม้ว่าจะต้องสละบางสิ่งเพื่อรักษาคำพูดไว้ 8. อธิษฐานบารมี หมายถึง การตั้งมั่นในความปรารถนา ตั้งจิตมั่นต่อคำอธิษฐาน
 9. เมตตาบารมี หมายถึง การมีความปรารถดี มีความรักต่อสัตว์ทั้งหลายในโลกอย่างเท่าเทียม ประดุจมารดารักบุตร เมตตาแตกต่างจากราคะตรงที่ ราคะอาจรักเฉพาะตัวหรือพวกพ้อง แต่เมตตาเป็นรักที่ไม่แบ่งแยก
10. อุเบกขาบารมี หมายถึง การวางเฉย มีใจเป็นกลาง การปล่อยวางในสิ่งที่ผิดพลาด ในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ วางเฉยในความทุกข์ของตน และสัตว์ที่ช่วยไม่ได้ เนื่องจากมีปัญญาเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรมของตน ไม่มีใครได้รับความยากลำบากโดยไม่มีเหตุปัจจัย ล้วนแล้วแต่เป็นกรรมที่เคยทำมาทั้งสิ้น

ซึ่งในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่อยเป็น 3 ขั้น ได้แก่ บารมีขั้นต้น คือ เนื่องด้วยวัตถุ และทรัพย์นอกกาย เช่น การสละทรัพย์ช่วยผู้อื่น จัดเป็น ทานบารมี, รักษาศีลแม้ว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง จัดเป็น ศีลบารมี, หรือ ยอมถือบวชโดยไม่อาลัยในทรัพย์สิน จัดเป็น เนกขัมบารมี เป็นต้น

บารมีขั้นกลางหรืออุปบารมี
คือ เนื่องด้วยเลือดเนื้อ อวัยวะ เช่น การสละเลือดเนื้ออวัยวะแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานอุปบารมี, การใช้ปัญญารักษาอวัยวะเลือดเนื้อของผู้อื่น จัดเป็น ปัญญาอุปบารมี ,การมีความเพียรจนไม่อาลัยในเลือดเนื้อหรืออวัยวะ จัดเป็น วิริยะอุปบารมี, มีเมตตาต่อผู้ที่จะมาทำร้ายเลือดเนื้ออวัยวะของตน จัดเป็น เมตตาอุปบารมี, หรือ มีความอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่จะมาทำลายอวัยวะของตน
 จัดเป็น ขันติอุปบารมี เป็นต้น บารมีขั้นสูงสุดหรือปรมัตถบารมี คือ เนื้องด้วยชีวิต เช่น การสละชีวิตเป็นทานแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานปรมัตถบารมี , ยอมสละแม้ชีวิตเพื่อจะรักษาคำพูด
จัดเป็น สัจจปรมัตถบารมี, ตั้งจิตไม่หวั่นไหวต่อคำอธิษฐานแม้จะต้องเสียชีวิต จัดเป็น อธิษฐานปรมัตถบารมี, หรือ วางเฉยต่อผู้ที่จะมาทำร้ายชีวิตของตน
จัดเป็น อุเบกขาปรมัตถบารมี เป็นต้น ดังนั้น จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ

 อานิสงส์ บารมี 30 ทัศ
ของพระนิตยโพธิสัตว์ พระนิตยโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก
จะมีอานิสงค์ 18 อย่างอยู่ตลอด จนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด ไม่เป็นคนบ้า ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤๅษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี) นางทาสีคือ ทาสที่เป็นผู้หญิง ที่เกิดมาก็ตกเป็นทาสทันที (ทาสในเรือนเบี้ย) ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ ไม่เป็นสตรีเพศ ไม่ทำอนันตริยกรรม ไม่เป็นโรคเรื้อน เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก (พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม ( มีแต่รูปอย่างเดียว) ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก ไม่เกิดในจักรวาลอื่น อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา
 คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวยสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ (ตายจากการเป็นเทพ) มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้

จริยธรรม 10 ประการ จริยธรรม 10 ประการของพระโพธิสัตว์ ประกอบด้วย

[1] พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ พระโพธิสัตว์ ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่าจะไม่มีภัยอันตราย พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ พระโพธิสัตว์ ถือว่าทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว พระโพธิสัตว์ คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผลประโยชน์จากเพื่อน พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง พระโพธิสัตว์ ทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาว่าจะได้รับ พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียนนินทาแล้ว ไม่ปรารถนาที่จะตอบโต้ [แก้]คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์ คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์มีอยู่ 3 ข้อใหญ่ [1]

มหาปรัชญาหรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่า
จะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส มหากรุณา หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละตนเองเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ มหาอุปาย หมายความว่าพระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำ อบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจธรรม คุณสมบัติทั้งสามข้อนี้ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ข้อแรกเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม ส่วนข้อหลัง 2 ข้อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น