วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ที่มาของการ สักยันต์ไทย สักยันต์คืออะไร? (อินทรีย์เมฆาเรียบเรียง)


 

                               การสักยันต์ นั้นหมายถึง การจารึกอักขระมนต์คาถา หรือพระธรรมคำสอนของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลงบนผิวหนังตามร่างกาย โดยการใช้ของมีคม ลักษณะประหนึ่งเข็มด้ามยาวๆ จุ่มน้ำหมึก ซึ่งทำจากน้ำวานมงคล 108 ที่ผ่านการบริกรรมคาถาลงอาคมไว้ก่อนแล้วในขณะที่เคี่ยว การสักยันต์ นี้ สันธิฐานโดยคร่าวได้ว่า เกิดจากความคิดที่ต้องการจะนำเอาเครื่องรางของขลัง วัถตุมงคล ที่ใช้สำหรับพกติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคลนั้น มาดัดแปลงเพื่อให้ง่ายต่อการพกติดตัวมากยิ่งขึ้น จึงทำให้บังเกิดวิธีการนำเอาคาถาอาคมที่อยู่บนเครื่องลางของขลังนั้น มาจารึกลงผิวหนังบนร่างกายแทน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความสะดวก คล่องแคล่วในการออกศึกสงครามได้ในสมัยโบราณกาล มีความสำคัญในการเสริมสร้างวัญและกำลังใจแก่นักรบ โดยผู้ให้การสักยันต์ในสมัยโบราณนั้น ส่วนมากเป็น พระภิกษุสงฆ์ ผู้เรืองอาคมเล่าเรียนมาทางนี้โดยเฉพาะ จนเกิดปาฏิหารย์สำแดงเดชให้เป็นที่ประจักษ์เชื่อถือในหมู่พุทธศาสนิกชน
 
  ด้านอิทธิพลของการสักยันต์ในไทยนี้ อาจได้อิทธิพลมาจากขอมโบราณอีกทีหนึ่ง
 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่ขอม กำลังเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธช่วงนั้น และเป็นช่วงที่ไทยและขอมกำลัง
ทำศึกสงครามต่อกัน ในบริเวณดินแดนทางล้านนาไทย ซึ่งในแต่เก่าก่อนนั้นขอมเองก็นับถือบูชาภูติผี เทวดา เป็นหลักด้วยอยู่แล้ว
จึงทำให้มีความชำนาญในเรื่องการใช้คาถาอาคมต่างๆมากมายหลายประเภท ส่วนหนึ่งเพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ที่เชื่อว่าผู้ที่ป่วยนั้น เป็นเพราะการถูกกระทำของภูตผี เข้าสิง เข้าแทรกเบียดแบน ในขณะที่เมื่อไทยและขอมยอมอ่อนน้อมต่อกัน อันเป็นช่วงที่ไทยเราเริ่มมีภาษาประจำชาติ จึงได้มีการดัดแปลงแลกเปลี่ยนวิชาอาคมแก่กันในหมู่ประชาชนผู้สนใจ ผสมผสานไปกับความเชื่อด้านศาสนา ได้อย่างลงตัว ได้รับการยอมรับในกลุ่มคนทุกชนชั้นตลอดเรื่อยมา อย่างไรก็ตามนี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้วิชาด้านนี้ ถูกแบ่งออกไปเป็นสองจำพวกใหญ่ๆคือ วิชาทางพุทธคุณ และ วิชาทางไสยดำ

  ทั้งนี้ เหตุผลของการสักยันต์ในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบันนี้ มีความเชื่อกันว่า เพื่อให้บังเกิดมีความ แคร้วคลาดปรอดภัยจากภยันต์อันตรายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความเชื่อว่า จะช่วยให้มีความคงกระพันชาตรี หนังเหนียวฟันแทงไม่เข้า มีพละกำลังมหาศาล เป็นต้น แต่ทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อในหมู่นักรบโบราณที่กระทำกันมากด้วยเหตุผลของการศึกสงคราม สำหรับปัจจุบัน ยุคสมัยได้เปลี่ยนไป ศึกสงครามเหมือนอย่างสมัยก่อนนั้นไม่มีแล้ว ผู้สักยันต์ในปัจจุบันจึงมักนำไปใช้ในทางที่ผิดก็มาก
   ด้วยความเชื่อที่ผิดๆ ที่เชื่อว่าจะทำให้เกิดความคงกระพันชาตรี นี้เอง
จึงเป็นสาเหตุที่ก่อให้พฤติกรรมที่ไม่ดี กระทำในสิ่งที่ผิดกฏหมาย หรือเป็นนักเลงอันธพาลทำลายสังคม โดยมองข้ามไปว่า การสักยันต์ นั้น ก็เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการสักยันต์เหล่านี้
ปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทำตัวเป็นคนดีของครอบครัว เป็นพลเมืองดีของชาติบ้านเมือง
  เหตุผลที่ยันต์ไม่สำแดงฤทธานุภาพ
(ช่วยเหลือเพื่อให้รอดปรอดภัย หรือฟันแทงไม่เข้า)
 (1) เป็นผู้ไม่อยู่ใน ธรรมะ
 (2) ไม่รักษา ศีล5 ให้ครบถ้วน อาทิ ห้ามทำลายชีวิต ห้ามเป็นขโมย ห้ามโกหก คดโกง ห้ามเจ้าชู้ แย่งรักผู้อื่น ห้ามดื่มเหล้า สุรา เสพยาเสพติด
 (3) ทำสิ่งผิดกฏหมายอยู่
 (4) กระทำตนเป็นนักเลง
 (5) ไม่สวดมนต์ ไหว้พระ เป็นประจำ
 (6) ไม่เจริญ สมถกรรมฐาน หรือการนั่งสมาธิ เป็นประจำ
 (7) ไม่มี ศิลธรรม จริยธรรม ที่ดี
 (8) เป็นคน ใจร้อน ใจเร็ว ไม่ค่อยทำบุญ
 (9) ไม่รักษาสัญญา สัจจะวาจา
 (10) ไม่สำนึกในบุญคุณ ครูบา บิดา มารดา และผู้มีพระคุณ

              ทั้งนี้โปรดอย่าลืมว่า วิชาอาคมเหล่านี้ ถือเป็นวิชาทรงคุณและโทษแก่ผู้รับไปรักษา ซึ่งเป็นคาถาวิชาอันเกิดจากบุคคลผู้ทรงศีล ทรงคุณธรรม อย่างเหล่าพระฤษีในอดีตกาล ที่ท่านได้มอบไว้เพื่อสร้างคนให้เป็นคนดี เพราะฉะนั้น การนำมาเพื่อใช้ในการทำลาย ประหัดประหารกัน ทำร้ายกันและกันนั้น ก็เปรียบประหนึ่งว่า คุณกำลังเอาวิชามงคลนี้ มาทำให้ตกต่ำดุจเดรัจฉาน เหมือนกับการนำมาดูถูกทำลายคำสั่งสอนของเหล่าพระฤษีและเกจิ อาจารย์ผู้มอบของดีไว้ให้แก่คุณ สุดท้ายก็อย่าหวังเลยว่า ของดีเหล่านี้จะช่วยคุณให้รอดพ้นจาก พยันตรายต่างๆนานา น้อยใหญ่ได้เลย """""""" ผลแห่งการกระทำ ย่อมก่อให้เกิดกรรม ดีและกรรมชั่ว หากทำชั่ว ก็ฉิบหายอยู่วันยังค่ำ ไม่ช้าก็เร็ว """""""" ไม่รู้ตัว